ประกาศยกระดับการจัดการสาธารณภัยเป็นระดับ 3 ใน 4 จังหวัด

กรุงเทพฯ 20 ก.ย.- กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ประกาศยกระดับการจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ หรือ ระดับ 3 ในพื้นที่ 4 จังหวัด “อุบลราชธานี-ยโสธร- ศรีสะเกษ- ร้อยเอ็ด”


พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดพายุโพดุลและพายุคาจิกิ ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและเกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2562 ซึ่งปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยต่อเนื่องในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และร้อยเอ็ด และสถานการณ์ดังกล่าวยังคงมีความรุนแรงก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้ตรวจสอบแนวโน้มสถานการณ์ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ พบว่าอิทธิพลของลมมรสุมอาจส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับข้อมูลของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และกรมชลประทาน เห็นว่าสถานการณ์น้ำในแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล มีระดับลดลงแต่ยังคงล้นตลิ่ง สอดคล้องกับความเห็นเชิงพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานีว่าสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง และสถานการณ์ยังมีความรุนแรงต่อเนื่อง


 พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า จึงได้ประกาศยกระดับการจัดการสาธารณภัยเป็นระดับ 3 ซึ่งถือเป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่ ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ และร้อยเอ็ด โดยให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ในฐานะผู้อำนวยการกลาง ดำเนินการและปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล อำนวยการ ประสานการปฏิบัติ ประเมินสถานการณ์ ติดตามเฝ้าระหว่าง วิเคราะห์สถานการณ์ และรายงานต่อผู้บังคับบัญชา 

รวมทั้งให้จัดตั้งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) ขึ้น ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 13 อุบลราชธานี โดยมี นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้กำกับควบคุมพื้นที่ (Area Command) โดยมีส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมบูรณาการให้ความช่วยเหลือประชาชน และให้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ จัดตั้งส่วนสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน (สปฉ.) 

โดยให้ประสานการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย กับหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน จิตอาสา เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านต่าง ๆ โดยเร็ว และเมื่อสถานการณ์ในพื้นที่คลี่คลายจะเร่งสำรวจความเสียหายในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านชีวิต ที่อยู่อาศัย การประกอบอาชีพ สิ่งสาธารณประโยชน์ โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น เพื่อทำการฟื้นฟูให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยเร็ว 


พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า การยกระดับการจัดการสาธารณภัยเป็นระดับ 3 ในพื้นที่ 4 จังหวัดดังกล่าว เพื่อให้เกิดการประสานและบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงาน ทั้งในระดับนโยบายและระดับการปฏิบัติในพื้นที่ ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อตอบสนองและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ขอให้ทุกหน่วยงานน้อมนำพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง คิดปรับแนวทางแผนเผชิญเหตุทั้งในภาพรวมและเฉพาะเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดจนรวบรวมความเสียหาย ประมาณการ ต่อยอด เตรียมการสิ่งใหม่ๆ และสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ เพื่อลดผลกระทบบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน อย่างเต็มกำลังความสามารถ” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ฆ่าตัดนิ้วชิงทรัพย์

เร่งล่าฆาตกรโหดตัดนิ้วชิงทรัพย์หญิงวัย 67 ทิ้งศพกลางสวนปาล์ม

ตำรวจเร่งล่าฆาตกรโหดฆ่าตัดนิ้วหญิงวัย 67 ปี ชิงทรัพย์ ก่อนทิ้งศพกลางสวนปาล์ม อ.วังจันทร์ จ.ระยอง ชาวบ้านเผยพบรถเก๋งต้องสงสัยสีขาววิ่งเข้าไปในจุดพบศพ

จับนายก อบต.นาบัว

คอมมานโดบุกจับนายก อบต.นาบัว-พวก รวม 16 คน

คอมมานโดกองปราบฯ บุกจับฟ้าผ่า! นายก อบต.นาบัว อ.นครไทย ประธาน “ธนาคารหมู่บ้าน” พร้อมพวก รวม 16 คน ฐานร่วมกันฉ้อโกงและร่วมกันกู้ยืมเงิน มูลค่าความเสียหายนับร้อยล้านบาท

New Zealanders march towards Wellington to protest Indigenous treaty bill

ชาวเมารีเต้นฮากาประท้วงร่าง กม.นิวซีแลนด์

เวลลิงตัน 15 พ.ย.- ผู้คนในหลายเมืองทั่วนิวซีแลนด์เข้าร่วมการเดินขบวนมุ่งหน้าไปยังกรุงเวลลิงตัน เพื่อประท้วงร่างกฎหมายลิดรอนสิทธิของชนพื้นเมือง โดยมีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารีในระหว่างการประท้วงด้วย รัฐสภานิวซีแลนด์ผ่านความเห็นชอบในเบื้องต้นเมื่อวานนี้ เรื่องการตีความใหม่สนธิสัญญาอายุ 184 ปี ที่มกุฎราชกุมารอังกฤษกับหัวหน้าชาวเมารีมากกว่า 500 คนลงนามในปี พ.ศ.2383 กำหนดเรื่องการปกครองนิวซีแลนด์ร่วมกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการออกกฎหมายและนโยบายของประเทศมาจนถึงปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ทั่วนิวซีแลนด์ โดยมีการจัดเดินขบวนเป็นเวลา 9 วันมุ่งไปยังกรุงเวลลิงตัน คาดว่าขบวนจะถึงเมืองหลวงในวันที่ 19 พฤศจิกายน ตำรวจแถลงวันนี้ว่า มีคนประมาณ 10,000 คน เข้าร่วมการเดินขบวนในเมืองโรโตรัว ห่างจากกรุงเวลลิงตันไปทางเหนือราว 450 กิโลเมตร ผู้ประท้วงแต่งกายในชุดชนพื้นเมือง มีการเต้นฮากาที่เป็นวัฒนธรรมของชาวเมารี โดยได้รับการต้อนรับจากคนจำนวนมากที่มาโบกธงเมารีและร่วมร้องเพลง.-814.-สำนักข่าวไทย

ข่าวแนะนำ

ลิงลพบุรีแหกกรง กว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพัก

ลิงลพบุรีกรงแตก เพ่นพ่านกว่า 200 ตัว จ่าฝูงนำทีมบุกโรงพักท่าหิน ตำรวจปิดประตูหน้าต่างวุ่น ล่าสุดกลับมากินอาหารในกรงแล้วกว่า 100 ตัว กรมอุทยานฯ เร่งลุยจับ คาดใช้เวลา 2-3 วัน

มนุษย์ ภัยคุกคามพะยูน ?

ช่วงนี้พบพะยูนในทะเลฝั่งอันดามันตายเพิ่มขึ้นแบบถี่ยิบ จนน่าเป็นห่วงว่าพะยูนอาจสูญพันธุ์ไปในอนาคต โดยเฉพาะล่าสุดเมื่อมีการพบพะยูนตายในทะเลภูเก็ต อยู่ในสภาพถูกตัดหัว คาดนักล่าหวังเอาเขี้ยว

typhoon Man-Yi barrels through the Philippines

ซูเปอร์ไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” เข้าฟิลิปปินส์

มะนิลา 17 พ.ย.- ซูเปอร์ไต้ฝุ่นหม่านหยี่ พัดเข้าเกาะลูซอนที่เป็นเกาะหลักและมีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุดของฟิลิปปินส์แล้วในวันนี้ เสี่ยงทำให้เกิดฝนตกหนักในกรุงมะนิลาที่เป็นเมืองหลวง หม่านหยี่ เป็นภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นชื่อของอ่างเก็บน้ำในฮ่องกง นับเป็นพายุลูกที่ 6 ที่พัดเข้าฟิลิปปินส์ในรอบ 1 เดือน มีความเร็วลม 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อ่อนกำลังลงเล็กน้อยหลังจากขึ้นฝั่งเมืองปางานีบัน จังหวัดคาตันดัวเนส ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เมื่อคืนวันเสาร์ ข้ามมาจนถึงจังหวัดคามารีเนส นอร์เต บนเกาะลูซอน ในเช้าวันนี้ ไต้ฝุ่นลูกนี้มีแนวโน้มจะทำให้เกิดฝนตกหนักทั่วเขตมหานครมะนิลา ซึ่งมีการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงแล้วกว่า 1 ล้านคน แต่ยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต แม้ว่ากระแสลมแรงได้สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งปลูกสร้างในจังหวัดคาตันดัวเนสก็ตาม.-820(814).-สำนักข่าวไทย

ดอยอินทนนท์คึกคักรับลมหนาว สัมผัสหมอกหนายามเช้า

นักท่องเที่ยวแห่ขึ้นดอยอินทนนท์รับลมหนาว สัมผัสหมอกหนายามเช้าวันหยุด หลายคนบอกไม่ผิดหวัง เพราะพระอาทิตย์สาดแสงเป็นประกายประทับใจ