เชลล์ชี้ก๊าซแอลเอ็นจีจะใช้สูงสุดในปี 2573

กรุงเทพฯ  21 ส.ค. – ก.พลังงานปรับแผนพลังงานตามเทรนด์โลกลดภาวะโลกร้อนส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทน คาดต้องนำเข้าแอลเอ็นจีเพิ่มเป็น 20 ล้านตันต่อปี ด้านเชลล์ชี้แอลเอ็นจีจะมีบทบาทสูงสุดในปี 2573 และการใช้ฟอสซิลจะมีสัดส่วนเหลือเพียงร้อยละ 20 ใน 50 ปีข้างหน้า  


ในงานสัมมนา 2019 Shell Forum ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการส่งเสริมให้มีระบบพลังงานที่ลดการปล่อยคาร์บอนในประเทศไทย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ได้จัดทำแผนงานพลังงานเป็นไปตามทิศทางโลก ทั้งพลังงานทดแทน ระบบกักเก็บพลังงาน การส่งเสริมสตาร์ทอัพพัฒนาเทคโนโลยีพลังงาน โดยกำลังปรับแผนให้กองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานเข้ามาสนับสนุนร่วม พร้อมทั้งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ใช้งบฯ ด้านการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนามาสนับสนุนสตาร์ทอัพ เช่นเดียวกับ บมจ.ปตท.มีแผนสนับสนุนโดยหน่วยงานเอสเพรสโซ่


สำหรับการส่งเสริมพลังงานทดแทน ขณะนี้กระทรวงฯ อยู่ระหว่างปรับแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว หรือแผนพีดีพี 2018 (ปี 2561 -2580 ) ให้มีปริมาณรับซื้อเพิ่มขึ้นจากเดิมตั้งเป้าหมายมีพลังงานทดแทนรวม 17,000 เมกะวัตต์ และมีการใช้เอทานอล-ไบโอดีเซล 25.3 ล้านลิตร/วัน ส่งเสริมพืชพลังงานมาผลิตไฟฟ้าตามโครงการ 1 ชุมชน 1 พลังงานทดแทน 1 เมกะวัตต์ เช่น เศษไม้ยางพารา ทลายปาล์ม ซังข้าวโพด เศรษไม้ยางพารา โดยการส่งเสริมต้องให้ 3 การไฟฟ้า มีระบบสายส่งรองรับที่เพียงพอ มีการจัดโซนนิ่งที่ชัดเจน ขณะที่การซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาวก็เป็นส่วนหนึ่งในการลดการพึ่งพาฟอสซิล โดยขณะนี้ สปป.ลาวเสนอมาประมาณ 10 โครงการ มากกว่าปริมาณที่จะรับซื้อเพิ่มเติมที่ 3,500 เมกะวัตต์ จึงให้ไปจัดลำดับความพร้อมในการผลิตและส่งไฟฟ้า โดยการซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาวเงื่อนไขชัดเจน คือ ค่าไฟฟ้าจะต้องไม่แพงกว่า โรงไฟฟ้า สปป.ลาวที่ขายเข้ากริดของไทยปีนี้ หรือไม่เกิน 2.40 บาท/หน่วย

“เป้าหมายหลักของไทยในส่วนของการใช้พลังงานเป็นไปตามเทรนด์ของโลก คือ ลดภาวะโลกร้อน โดยการพัฒนานวัตกรรมพลังงานทดแทน และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก” ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว


ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เชื้อเพลิงฟอสซิลยังเป็นเชื้อเพลิงหลักในอนาคต  และคาดว่าไทยต้องนำเข้าทั้งหมดทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หลังปริมาณปิโตรเลียมในไทยลดต่ำลง ซึ่งตามแผนพีดีพี 2018 การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี ) จะเพิ่มขึ้นจาก 5 ล้านตัน/ปี เป็น 19-20 ล้านตัน/ปี  ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินยังจำเป็นต้องใช้ต่อไป และจะศึกษาว่าทำอย่างไรให้เป็นเทคโนโลยีสะอาดที่สุด 

นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ทุกคนมีบทบาทในการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านพลังงาน ซึ่งการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพลังงานทั้งระบบ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ทางเลือกของผู้บริโภค เทคโนโลยี ไปจนถึงนโยบายภาครัฐ ในการช่วยลดคาร์บอนในระดับองค์รวมเชิงเศรษฐกิจ โดยเชลล์ในไทยมีแผนจะส่งเสริมการปลูกป่าและผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งในสำนักงาน คลังน้ำมันและปั๊มต่าง ๆ โดยใช้บริษัทร่วมทุนของเชลล์จากสิงคโปร์มาลงทุนผลิตโซลาร์ในไทย

“เชลล์ ประเทศไทย ยังผลักดันให้มีการใช้กลไกกำหนดราคาคาร์บอน เพื่อกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคพลังงาน และผู้บริโภค พัฒนาประสิทธิภาพพลังงาน ลดก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมโครงการต่าง ๆ เช่น การดักจับและกักเก็บคาร์บอน รวมถึงวิธีธรรมชาติอย่างการปลูกป่า ทั้งนี้ เชลล์ ประเทศไทย ยินดีร่วมมือกับรัฐบาลในการจัดทำแผนและนโยบายการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่มีประสิทธิภาพ” นายอัษฎา กล่าว

ทั้งนี้ ในงานสัมมนาครั้งนี้มีการนำเสนอรายงาน Sky Scenarios ซึ่งเป็นรายงานจำลองสถานการณ์ Shell Scenarios ฉบับล่าสุด โดย ดร.มัลลิกา อิชวารัน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสและที่ปรึกษาด้านนโยบาย เชลล์ กรุ๊ป สแตรทิจี้ ได้นำเสนอความเป็นไปได้ทางเทคนิค พร้อมความท้าทายสำหรับสังคมในการบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) แบบจำลองสถานการณ์ของเชลล์ทำให้เห็นภาพในอนาคตที่พลังงานหมุนเวียนจะเข้ามาเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของระบบพลังงานโลก แบบจำลองสถานการณ์ดังกล่าวไม่ใช่การทำนายหรือแผนธุรกิจและไม่ใช่นโยบายของเชลล์แต่อย่างใด แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะจุดประกายส่งเสริมให้เกิดพันธมิตรและโครงการต่าง ๆ ทั่วโลกและระดับประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยคาดว่าภายในปี 2613 หรือ ค.ศ.2070 การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะลดลงจากร้อยละ 80 เหลือร้อยละ 20 ขณะที่พลังงานทดแทนจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้ไฟฟ้าจะมีสัดส่วนเพิ่มจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 50-60 ซึ่งในส่วนของการใช้แอลเอ็นจีจะมีบทบาทการใช้สูงสุดในปี 2573 หลังจากนั้นพลังงานทดแทนจะมีบทบาทมากขึ้น ขณะที่ถ่านหินมีการใช้สูงสุดปี 2557 หลังจากนั้นจะทยอยลดลง และเรื่องประสิทธิภาพพลังงาน  สมาร์ทซิตี้  ส่งเสริมการปลูกป่า การจัดการการใช้ที่ดิน การกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีความสำคัญ โดยประเมินว่า ราคาซื้อขายคาร์บอนปี 2613 จะขยับขึ้นไปถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน จากปัจจุบันอยู่ที่ 10 ดอลลาร์/ตัน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง