นักวิชาการ ชี้ต้องตีความคำถามพ่วงประชามติอย่างเคร่งครัด

IMG_3103มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 20 ส.ค. – นักวิชาการ ชี้ต้องตีความคำถามพ่วงประชามติอย่างเคร่งครัด ป้องกันปัญหาขัดแย้ง ไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความชอบธรรมทางการเมือง ขณะเดียวกันมองว่า ส.ว.ที่มีจากการแต่งตั้งอาจมีอำนาจหน้าที่เกินบริบทที่จำเป็น


นายยุทธพร อิสรชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวไทยถึงการที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอเจตนารมณ์ของคำถามพ่วงประชามติเพื่อให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ปรับแก้ในบทเฉพาะกาลร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้สภาชิกวุฒิสภา(สว.)สามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้หากไม่รัฐสภาไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีจากบัญชีพรรคการเมืองได้ว่า ตามระบอบประชาธิไตยแบบรัฐสภา เรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรีต้องมีความเชื่อมโยงกับประชาชนผ่าน ส.ส. แต่เมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีส่วนคำถามพ่วงที่ให้ ส.ว.สามารถร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้จึงเป็นประเด็นที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงมาตั้งแต่ต้นว่า ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งจะมีบทบาทหรือมีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีมากกว่า ส.ส. หรือไม่ เพราะระบบการเลือกตั้งแบบใหม่โอกาสที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่จะได้เสียงข้างมากในสภาจะยากขึ้น ดังนั้นพรรคที่ใหญ่ที่สุดหลังการเลือกตั้งจะเป็น พรรคส.ว.หรือไม่ เพราะมีอำนาจในการร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี มีกระบวนการตรวจสอบ ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ขณะที่ตอนนี้ สนช.พยายามตีความว่าการให้ ส.ว.มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีควรจะเริ่มตั้งแต่กระบวนการเสนอรายชื่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามความเป็นจริงเรื่องนี้ต้องตีความอย่างเคร่งครัด เพราะในคำถามพ่วงที่ประชาชนได้อ่านมีเพียงข้อความ 3 บรรทัดเท่านั้น หากไม่ตีความตามที่เขียนไว้อาจมองได้ว่านี่เป็นใบผ่านทาง หรือ การตีเช็คเปล่าหรือไม่ และอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อตัวรัฐธรรมนูญ ต่อความน่าเชื่อถือของ สนช. และ กรธ.ชุดนี้ อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขผิดกับเจตนารมณ์หรือไม่

“ส่วนตัวเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตีความอย่างเคร่งครัด เพราะหากตีความอย่างกว้าง โอกาสที่จะเกิดปัญหาทางการเมืองตามมาก็มีมากและอาจส่งผลไปถึงการเลือกตั้ง อย่างที่เคยมองไว้ตั้งแต่ต้นว่าความขัดแย้งเรื่องการลงประชามติคงไม่มาก แต่ความขัดแย้งอาจมีขึ้นได้หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ เพราะจะเกิดการเดินหน้าหลายส่วน เช่นการมี ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้ง มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคำถามพ่วง ซึ่งอาจทำให้เกิดปมความขัดแย้งจากคนที่มีความเห็นไม่ตรงกัน “นายยุทธพร กล่าว


เมื่อถามว่าการตีความที่ไม่ตรงไปตามตัวอักษร ที่ใช้ในคำถามพ่วงประชามติจะขัดกับหลักการหรือไม่ นายยุทธพร กล่าวว่า ที่จริงแล้ว สนช.ควรเขียนกรอบให้ชัดเจนว่าการเลือกนายกรัฐมนตรี ส.ว.มีหน้าที่ในการร่วมลงมติเลือกเท่านั้น ไม่ได้เป็นผู้เสนอชื่อ แต่ลักษณะของคำถามไม่ชัดเจน ทำให้ตีความเพราะ ส.ส.และส.ว.อาจต้องมาดูเรื่องอำนาจหน้าที่ว่ามีมากแค่ไหน เป็นโอกาสที่เปิดช่องให้ตีความที่หลากหลาย ซึ่งการทำประชามติคือการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ดังนั้นการสอบถามประชาชนจำเป็นต้องมีลักษณะที่ตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์ทางการเมืองเมื่อประชาชนที่เป็นเจ้าของประชาธิปไตย มีความเข้าใจและตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกตามกรอบที่เขียนมา ดังนั้นก็ไม่ควรตีความให้เกินกรอบที่เขียนมา ไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและความชอบธรรมทางการเมือง อำหน้าหน้าที่ของ ส.ว.อาจเกินบริบทที่จำเป็น ซึ่งคำถามที่คำคัญคือ เรามี ส.ว.เพื่ออะไร หากสามารถตอบโจทย์ได้ก็จะสามารถวางกรอบการทำงานของ ส.ว.ได้ชัดเจน สำหรับมุมมองของ สนช.ที่กังวลว่าจะเกิดสูญญากาศทางการเมืองหาก ส.ส.ไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรี นั้น การตีความว่าจะเกิดสูญญากาศอาจเป็นการตีความแค่มุมเดียว เพราะกระบวนการในรัฐธรรมนูญกำหนดกลไกไว้อย่างชัดเจน และมีลำดับชั้นอยู่แล้ว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร