กทม. 23 ส.ค. – ในที่สุดร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ….ซึ่งผ่านความเห็นแล้วของ ครม. ขณะที่ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือซูเปอร์โฮลดิ้งไว้ด้วยเช่นกัน
หากมาดูภาพรวมของรัฐวิสาหกิจไทย 56 แห่ง ในช่วงที่ผ่านมา มีสินทรัพย์รวมถึง 11.9 ล้านล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ของรัฐ ช่วงปี 2547-2557 มีรายได้นำส่งรายได้เข้ารัฐ เฉลี่ย 100,000 ล้านบาทต่อปี มีงบประมาณรายจ่ายสูงถึง 4.8 ล้านล้านบาท และการจ้างงาน 4.25 แสนคน ครอบครองสินทรัพย์เชิงยุทธศาสตร์ ทั้งคลื่นความถี่ สนามบิน ทางพิเศษ ท่าเรือ ระบบรางต่างๆ
ทั้ง 56 แห่งนี้ มี 12 แห่งอยู่ในรูป “บริษัทจำกัด” และ “บริษัทมหาชน” คือ ปตท. กรุงไทย ทีโอที กสท.โทรคมนาคม ท่าอากาศยานไทย ไปรษณีย์ไทย บขส. อสมท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว อู่กรุงเทพธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ และการบินไทย
ทั้งนี้ 12 รัฐวิสาหกิจก่อนที่จะจัดตั้งเป็นบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือซูเปอร์โฮลดิ้ง พบว่ามีกำไรสะสม 994,095 ล้านบาท และขาดทุนสะสม 19,796 ล้านบาท อาทิ บมจ.การบินไทย มีกำไรสะสม 634,386 ล้านบาท รองลงมาคือ ธนาคารกรุงไทย กำไร 142,400 ล้านบาท
ขณะที่รัฐวิสาหกิจอื่นๆ ไล่เรียงลงมา อย่าง กสท กำไรที่ ราว 30,000 ล้านบาท บขส. และ อสมท ราว 3,000 ล้านบาท มี 2 บริษัทที่ขาดทุนสะสมคือ บ.ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ ขาดทุนสะสม 239 ล้านบาท และการบินไทยที่ขาดทุนสะสมอยู่เกือบ 20,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือซูเปอร์โฮลดิ้งไว้ด้วยเช่นกันก่อนสู่ชั้นพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นลำดับต่อไป ซึ่งคาดจะมีผลบังคับใช้ภายในปีนี้. – สำนักข่าวไทย