จิตแพทย์ห่วง คนไทยพึ่งสมองกล เสี่ยง “สมองเป็นสนิม”

รพ.จิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ 28 เม.ย..-จิตแพทย์ห่วงความไฮเทคยุค 5 จี  คนไทยพึ่งสมองกล  เสี่ยง “สมองเป็นสนิม” ไม่รู้ตัว   เพราะใช้งานน้อยลง     ขณะนี้พบผู้สูงวัยสมองเสื่อมกว่า 8 แสนคน ส่วนใหญ่รักษาไม่หายขาด    


นายแพทย์กิตต์กวี  โพธิ์โน  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จ.นครราชสีมาเปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2562นี้  รพ.จิตเวชนครราชสีมา ฯ ได้จัดโครงการพัฒนาระบบมาตรฐานการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน หมู่บ้าน ที่ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมและมีปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจร่วมด้วย ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9  ประกอบด้วย 4 จังหวัดได้แก่  นครราชสีมา ชัยภูมิ  บุรีรัมย์ และสุรินทร์  ซึ่งปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจนี้เป็นอาการที่เกิดตามมาหลังจากป่วยโรคสมองเสื่อมพบได้สูงถึงร้อยละ 90  ของผู้ป่วย ไม่ใช่โรคแสร้งทำของผู้ป่วย  และอาจสร้างความเครียดให้ญาติ ครอบครัวได้  จึงต้องให้การดูแลผู้ป่วยอย่างเข้าใจ  ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาผู้ป่วยกลุ่มนี้ถูกทารุณกรรม หรือถูกทอดทิ้งจากความไม่เข้าใจอาการจากการเจ็บป่วย    โดยจะนำร่องในพื้นที่ 2 อำเภอในจ.สุรินทร์ก่อน ได้แก่ อ.เมือง  และอ.สีขรภูมิ  เพื่อใช้เป็นต้นแบบก่อนขยายผลครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตสุขภาพที่ 9 ในปีหน้านี้   


นายแพทย์กิตต์กวีกล่าวว่า  ปัญหาโรคสมองเสื่อม ( dementia)  เป็นภัยเงียบทางกายที่มาพร้อมกับการเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย  จากผลสำรวจครั้งล่าสุด พบผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีภาวะสมองเสื่อมคือสูญเสียความสามารถในการจำ การคิด สติปัญญา อารมณ์ มีพฤติกรรมและบุคลิกภาพเปลี่ยนไป จนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน ทำงานหรือเข้าสังคมได้ พบได้ร้อยละ 8.1  พบในผู้ชายร้อยละ 6.8  ผู้หญิงร้อยละ 9.2 ยิ่งอายุมากยิ่งพบมาก เฉพาะในเขตสุขภาพที่ 9 คาดว่าจะมีผู้สูงอายุสมองเสื่อมประมาณ 89,000 คน จากผู้สูงอายุที่มี 1.1 ล้านกว่าคน  ส่วนภาพรวมทั่วประเทศคาดว่าจะมีกว่า 800,000  คนจากผู้สูงอายุในปี 2561 ที่มี 10.6 ล้านกว่าคน  โดยมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และไม่มียารักษาให้หายขาด มีเพียงยาชะลอไม่ให้เสื่อมเพิ่ม  อันดับ 1 กว่าร้อยละ 80 เกิดจากโรคอัลไซเมอร์  รองลงมาเกิดจากโรคหลอดเลือดในสมอง ทำให้เนื้อสมองตาย  ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตหลังป่วยประมาณ 8  ปี 

“ สมองเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย      ประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากกว่า 1,000  ล้านเซลล์      ทำงานตลอดเวลาทั้งการควบคุมความคิด ความจำ  การตัดสินใจ การเคลื่อนไหว  ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ กำกับการเต้นของหัวใจ การหายใจ การย่อยอาหาร การพักผ่อน  ปกติเซลล์สมองจะมีโอกาสเสื่อมลงเมื่อเราอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันมีงานวิจัยพบว่าเซลล์ประสาทจะถูกผลิตสร้างขึ้นมาใหม่เรื่อยๆตลอดเวลาไม่มีหยุด ตราบใดที่มีการฝึกการใช้สมองบ่อยๆ ในทางตรงกันข้ามหากสมองไม่ถูกใช้งาน  เซลล์ประสาทจะเสื่อมสลายและตายไปที่สุด  จึงมีความเป็นห่วงการใช้ชีวิตในยุคที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารเจริญก้าวหน้าและใช้ประโยชน์หลายสิ่งในชิ้นเดียว  โดยเฉพาะในยุค 5 จี  มีการใช้ระบบจีพีเอส  ช่วยนำทาง การใช้เครื่องคิดเลข การบันทึกเบอร์โทรศัพท์ในมือถือเป็นต้น    การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้บ่อยๆ อาจทำให้การใช้สมองเพื่อคิด จดจำ ตัดสินใจน้อยลงเรื่อยๆ และเกิดสภาวะที่เรียกว่า  สมองเป็นสนิมอย่างไม่รู้ตัวได้ ซึ่งจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วขึ้น   ประชาชนจึงต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง  และต้องไม่ลืมฝึกให้สมองแข็งแรงอยู่เสมอ”  นายแพทย์กิตต์กวีกล่าว    


ด้านแพทย์หญิงอัญชลี ศิริเทพทวี  รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์และประธานคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานการบริการผู้สูงอายุของรพ.จิตเวชนครราชสีมาฯ กล่าวว่า   ประชาชนทุกวัยต้องเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทำตั้งแต่ตอนนี้  คือ 1.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิค คือมีการเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันตั้งแต่ 15 นาทีขึ้นไปต่อครั้งอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์  เช่นวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เดินเร็ว  จะให้ผลทำให้การไหลเวียนเลือดดี กระตุ้นการสร้างเซลล์สมอง และปรับสมดุลย์ของสารเคมีในสมอง  ช่วยสลายความเครียดไปในตัว ทำให้อารมณ์แจ่มใส 2. ฝึกลับคมสมอง  ฝึกกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด   เช่น  การคิดเลข บวก ลบ คูณ หาร ที่ไม่ใช่เลขจำนวนมากๆ เช่น คิดค่ากับข้าว  ซื้อของใช้ อาจคิดในใจ คิดในกระดาษ ควรพึ่งเครื่องสมองกลเท่าที่จำเป็น   ฝึกการจำเพลงไม่ต้องดูเนื้อ ท่องสูตรคูณ   วาดรูป  สวดมนต์   เล่นเกมต่างๆ  เช่น เกมจับคู่สิ่งของที่มีความสัมพันธ์กันเช่น จานกับช้อน   กระดาษกับดินสอปากกา / เกมจับผิดภาพที่เหมือนกัน จะทำให้ผู้ที่ดูใช้สมองในการพิจารณาหาความแตกต่างของภาพให้ได้   ซึ่งได้ทั้งความสนุกและความภูมิใจ   สามารถเล่นคนเดียวและเป็นกลุ่มได้   ส่วนวัยเด็กและวัยรุ่นเกมที่ใช้เล่นฝึกกระตุ้นสมองได้ดีเช่น เกมสะกดคำ  เกมตัวต่อภาพJigsaw เกมไขว้คำศัพท์ (Crossword) เป็นต้น   และยังมีเกมโซโดกุ ซึ่งจะเป็นตัวเลข  การเล่นเกมประเภทกระตุ้นสมองทุกวัน จะเป็นการออกกำลังกายสมอง  กระตุ้นเซลล์ประสาทในสมองทำงานได้ดี และมีการสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่    3. ฝึกทำกิจกรรมใหม่ๆที่ไม่เคยทำ เช่น ใช้มือข้างไม่ถนัดจับช้อนทานข้าว จับปากกา   หรือจับแปรงสีฟัน  เปลี่ยนเส้นทางการเดินทาง   4. กรณีที่เป็นผู้สูงอายุ   ควรเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม  ไม่ควรอยู่ที่บ้านคนเดียว     การได้สังสรรค์กับผู้อื่น  จะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองได้ดีขึ้น  .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

หนุ่มอุดรฯ ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ 45 ล้านบาท

สุดเฮง! หนุ่มอุดรฯ ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ รับเงินรางวัล 45 ล้านบาท ลูกสาวเผยพ่อเป็นคนชอบทำบุญ ก่อนหน้านี้เพิ่งโทรมาบอกให้ใส่บาตร เชื่อผลบุญหนุนโชคลาภ

สามีภรรยาจากอยุธยารับ “เจ้าจอร์จ” ไปดูแล

สามีภรรยาใจบุญจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ขอรับ “เจ้าจอร์จ” สุนัขพันธุ์อเมริกันบูลลี่ ไปอุปการะแล้ว หลังกัดแทะร่างพระเจ้าของที่มรณภาพในกุฏิด้วยโรคประจำตัว

ดีเอสไออนุมัติสืบสวนคดีแตงโม คาดตั้งชุดเริ่มสืบได้ 27 ม.ค.นี้

อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติให้สืบสวนคดีแตงโม ว่ามีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ และมีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่ คาดเริ่มได้ 27 ม.ค.นี้