ไทยนับหนึ่งจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง

15 เม.ย.-ไทยนับหนึ่งการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง กำกับดูแลการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถ ต้องเข้าอบรมหลักสูตรตามมาตรฐานใหม่ และสอบขอใบอนุญาตใหม่ทั้งหมด


เริ่มมีความชัดเจนแล้ว สำหรับการจัดตั้งหน่วยงานสำคัญ ที่จะมีกำกับดูแลการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศ นั้นก็คือ กรมการขนส่งทางราง ซึ่งในอนาคต จะมีบทบาทสำคัญในการกำกับมาตรฐานของโครงการ ความปลอดภัย และการเดินรถ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยมีหน่วยงานในลักษณะนี้ กำกับดูแล ทั้งกรมการขนส่งทางบก สำนักงานการบินพลเรือน และกรมเจ้าท่า 


ภายหลังเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม เมื่อวันที่ 14 เมษายนที่ผ่านมา จัดตั้งกรมการขนส่งทางราง มีผลตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2562 เป็นต้นไป โดยสาระสำคัญ โอนบรรดาหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เฉพาะสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง ข้าราชการ พนักงานราชการ และสำนักงาน โครงการพัฒนาระบบราง ไปเป็นปฏิบัติหน้าที่และดำเนินการอำนาจของกรมการขนส่งทางราง กำกับโดยกระทรวงคมนาคม รวมถึงให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ ภาระผูกพัน ข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลัง เฉพาะสำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง ไปเป็นของกรมการขนส่งทางรางด้วย ก่อนหน้านี้มีการระบุว่า กรมการขนส่งทางราง จะมีบุคลากร ประมาณราว 203 คน แบ่งเป็นข้าราชการ 176 คน และพนักงานราชการ 27 คน 


กฎหมายดังกล่าว ถือเป็นการกำหนดที่มาของโครงสร้างหน่วยงานในช่วงเริ่มต้น และในอนาคต จะยังมีกฎหมายที่ประกาศออกมาอีก 1 ฉบับ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ทั้งหมดของกรมการขนส่งทางราง ที่จะมีในอนาคต ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่าจะมีประกาศออกมามาเมื่อใด ทั้งนี้ในส่วนของกระทรวงคมนาคม คาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน เพื่อออกประกาศกฎกระทรวง รวมถึงกฎหมายลูกอื่นๆ รองรับ การจัดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ และงบประมาณเริ่มต้นของหน่วยงาน รวมถึงการแต่งตั้งผู้บริหารในตำแหน่งอธิบดี และรองอธิบดี กรมการขนส่งทางราง สำหรับบทบาทหน้าที่ ที่สำคัญของกรมการขนส่งทางราง คือการกำกับดูแลระบบรางทั้งหมด ตั้งแต่รถไฟธรรมดา รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง มีการกำหนดค่าโดยสารที่เป็นธรรม กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินรถ กำหนดบทลงโทษกรณีบริษัทเดินรถกระทำความผิดจนส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการ หรือการกำหนดมาตรการชดเชยแก่ผู้โดยสาร กรณีรถไฟล่าช้า ซึ่งในอดีตไม่เคยมีมาก่อน ทั้งบทลงโทษตามกฎหมาย และมาตรการชดเชย

ส่วนหน่วยงานที่ต้องมีการปรับตัว รองรับการเกิดขึ้น ของกรมการขนส่งทางรางในอนาคตค่อนข้างเยอะ คือการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยนางสิริมา หิรัญเจริญเวช รองผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย  ยอมรับ มีพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการเดินรถ เช่น พนักงานขับรถ หัวหน้าควบคุมการเดินรถ และนายสถานี ประมาณ 2,400 คน ต้องเข้าอบรมหลักสูตรการปฏิบัติตามมาตรฐานใหม่ และทำการสอบขอใบอนุญาตใหม่ทั้งหมด แบ่งออกเป็นพนักงานขับรถไฟ 1,200 คน จะต้องมาสอบใบขับขี่รถไฟใหม่ทั้งหมด และนายสถานี อีก 1,200 คน จะต้องมาสอบขอใบอนุญาตใหม่ทั้งหมดเช่นกัน เพื่อเตรียมมาตรฐานพนักงานให้สอดรับกับมาตรฐานตาม พ.ร.บ. กรมราง คาดว่าภายใน 3 เดือนหลังออกประกาศกำหนดคุณสมบัติ รฟท. จะฝึกอบรมและออกใบอนุญาตพนักงานขับรถและนายสถานีใหม่ลอตแรกได้ราว 10% หรือประมาณ 240 คน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

ลุยรื้อถอนต่อเนื่องเข้าวันที่ 24 จนท.ทำงานหนักตลอด 24 ชม.

เดินหน้ารื้อถอนอาคาร สตง. เข้าสู่วันที่ 24 แล้ว เจ้าหน้าที่ทำงานตลอด 24 ชม. เพื่อให้เสร็จตามแผน ขณะที่ภารกิจค้นหาผู้ติดค้างยังคงดำเนินต่อเนื่อง

ปล่องลิฟต์ตึกถล่ม

กทม.เดินหน้าเจาะปล่องลิฟต์ ค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.

ผู้ว่าฯ กทม. เผยปฏิการค้นหาร่างผู้สูญหายจากเหตุตึก สตง.ถล่ม วันนี้เน้นเจาะปล่องลิฟต์-บันไดหนีไฟ หลังวานนี้ (18 เม.ย.) พบผู้เสียชีวิตในจุดดังกล่าวเพิ่มอีก 6 ราย ยืนยัน กทม. ให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการเข้า เก็บพยานหลักฐาน เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบกับเหตุการณ์ดังกล่าว