ดีเดย์ 1 เมษายนนี้ ใช้หลักเกณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่

กรุงเทพฯ 27 มี.ค.-1 เมษายน ดีเดย์หลากเรื่องต้องรู้ ทั้งบังคับหลักเกณฑ์สินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ ซึ่งแบงก์ชาติวันนี้ออกมาย้ำว่าการดำเนินการไม่ได้ขัดขวางการมีบ้านของผู้มีรายได้น้อย และ 1 เมษายนก็เป็นวันแรก ที่สรรพากรเปิดลงทะเบียนเอสเอ็มอีแจ้งสิทธิ์เสียภาษีย้อนหลังไม่เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม 


          

วันที่ 1 เมษายนนี้ หลักเกณฑ์ปรับปรุงการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จะเริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว สิ่งสำคัญคือการกำหนดเงินดาวน์ขั้นต่ำหรืออัตราส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV)โดยเกณฑ์นี้จะกระทบต่อผู้กู้ที่ซื้อบ้านตั้งแต่ 2 หลังขึ้นไป ที่ผ่อนหลังแรกยังไม่หมด และกระทบสำหรับผู้ซื้อบ้านที่มีราคามากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป ดังนั้นผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรกต่ำกว่า 10 ล้านบาท และผู้ที่กู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 โดยผ่อนหลังแรกเสร็จแล้วก็จะไม่ได้รับผลกระทบ ผู้รีไฟแนนซ์สินเชื่อผ่อนบ้าน 1 หลังก็ไม่กระทบ แต่การรีไฟแนนซ์ที่อยู่อาศัยในทุกกรณีให้ใช้ราคาประเมินใหม่เพื่อสะท้อน มูลค่าปัจจุบัน และผู้กู้ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือผ่อนดาวน์ก่อน 15 ต.ค.61 ก็ไม่กระทบเช่นกัน


กรณีการวางดาวน์ขั้นต่ำสำหรับผู้ซื้อบ้าน คอนโดฯ ที่อยู่อาศัยต่ำกว่า 10 ล้านบาทนั้น กรณีสัญญากู้ที่เป็นที่อยู่อาศัยหลังแรก จะไม่เปลี่ยนแปลงจากของเดิมคือดาวน์ร้อยละ 0-10 แต่หากเป็นบ้านหลังที่ 2 ที่ผ่อนหลังแรกยังไม่หมด จะต้องวางดาวน์ ร้อยละ 10 หากผ่อนสัญญาแรกมาแล้ว 3 ปีขึ้นไป หากผ่อนสัญญาแรกไม่ถึง 3 ปีก็ต้องดาวน์ร้อยละ 20 และหากอยากซื้อหลังที่ 3 กรณีที่ผ่อนหลังที่ 1 และ2 ยังไม่หมด บ้านหลังที่ 3 ต้องวางดาวน์ร้อยละ30 ส่วนผู้ซื้อบ้านราคามากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป สัญญาบ้านหลังที่ 1 และ 2 ต้องวางดาวน์ร้อยละ 20 และสัญญาที่ 3 ขึ้นไปต้องวางดาวน์ร้อยละ 30 และในส่วนสินเชื่อท็อปอัพคือซื้อบ้านแล้วต้องการสินเชื่อ นอกจากซื้อบ้านแล้วก็ต้องการเงินไปตกแต่งเพิ่มเติม เช่น ต่อเติมครัว หรืออื่นๆ เงินส่วนนี้ก็จะนำไปรวมกับสินเชื่อหลักนับเป็นวงเงินกู้ที่ใช้หลักประกันเดียวกัน ยกเว้นสินเชื่อเพื่อจ่ายเบี้ยประกันชีวิตผู้กู้ ประกันวินาศภัยและสินเชื่อที่ให้กับธุรกิจเอสเอ็มอี

   


นายเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า มาตรการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ออกมาเพื่อกำกับความเสี่ยงเฉพาะจุดและพยายามจะให้กระทบประชาชนที่ต้องการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยจริงน้อยที่สุด ช่วยลดความเสี่ยงภาคอสังหริมทรัพย์และช่วยให้การดูแลระบบสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แบงก์ชาติไม่ได้มีความตั้งใจที่จะไปขัดความต้องการมีบ้านของประชาชน แต่เน้นป้องกันไม่ให้ก่อหนี้มากเกินไปจนเกิดความเสี่ยงในอนาคต และป้องกันการปล่อยสินเชื่อที่เอื้อประโยชน์นักลงทุนเก็งกำไร ที่สำคัญเป็นการดูแลไม่ให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภาคส่วนอื่นเป็นจำนวนมาก เกิดความเสี่ยงที่รุนแรงจนกลายเป็นความเสี่ยงเชิงระบบในอนาคต, ส่วนลูกค้าต่างชาติจะได้รับผลกระทบหรือไม่นั้น ทางแบงก์ชาติก็คาดว่าคงต้องมีการปรับตัวโดยปีที่แล้ว ต่างชาติซื้ออสังหาริมทรัพย์ไทยเพิ่มจากปี 2560 ร้อยละ 30 ลูกค้าหลักคือ ชาวจีน มีสัดส่วนคิดร้อยละ 43    

นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่ามาตรการที่ออกมาแม้เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ แต่ยังถือเป็นมาตรการที่อ่อนมากเมื่อเทียบกับทั่วโลก เพราะมาตรการแบงก์ชาติ เพียงต้องการลดการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ลดการเก็งกำไรเพื่อขายต่อ หรือให้เช่า อย่างไรก็ตามในช่วงนี้ เป็นช่วงที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอยู่ในภาวะล้นตลาด

 

การที่แบงก์ชาติเข้ามาควบคุมการปล่อยสินเชื่อ ก็อาจทำให้กระทบสถาบันการเงินและผู้ประกอบการรวมทั้งประชาชน ซึ่งเชื่อว่าปีนี้ทั้งปีน่าจะมียอดสินเชื่อปล่อยใหม่ประมาณ 500,000 ล้านบาทเท่าๆ กับปีที่ผ่านมาและมียอดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์คงค้างรวม 3.5 ล้านล้านบาท อีกด้านหนึ่งกรมสรรพากรออกมาแถลงว่า ตั้งแต่วานนี้ (วันที่ 26 มีนาคม 2562) พระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากร และความรับผิดทางอาญา พ.ศ. 2562 เพื่อสนับสนุนการจัดทำบัญชีเล่มเดียวมาตรการสุดท้ายมีผลใช้บังคับ ดังนั้นจึงขอให้เอสเอ็มอีที่มีรายได้ทางภาษีปีละ 500 ล้านบาท ประมาณ 460,000 ราย ลงทะเบียนแจ้งใช้สิทธิ์ในระบบ “ส่งเสริมผู้ประกอบการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ” ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2562-30 มิถุนายน 2562 ซึ่งการยกเว้นความรับผิดทางอาญาจะยกเว้นให้เพียงเฉพาะความผิดที่ไม่ยื่นแบบเสียภาษีเท่านั้น แต่โทษอาญาอื่น ๆ เช่น การปลอมแปลงใบกำกับภาษีจะไม่ได้รับการยกเว้นความผิด ส่วนเงื่อนไขที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติ คือ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีอากรทุกประเภทตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ e-Filing ครบถ้วน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562-30 มิถุนายน 2563  

           

และสุดท้ายขอย้ำเตือนผู้มีภาระเสียภาษีเพราะใกล้วันสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ประจำปีภาษี 2561, การยื่นแบบหากยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่งทั่วประเทศ ต้องยื่นภายในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2562 และกรณียื่นแบบฯ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่นแบบฯ ด้วย Application RD Smart Tax สามารถใช้บริการได้ถึงวันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2562.- สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง