‘นพ.ธีระเกียรติ’ พอใจผลงาน ศธ.4 ปี

ศธ.17ม.ค.-รมว.ศึกษาฯ พอใจภาพรวมผลการดำเนินงานของกระทรวงฯ ในรอบ4 ปี ให้คะแนนเกินครึ่งจนถึงเกือบเต็มในบางโครงการ ระบุหากหลังเลือกตั้งใครมาบริหาร อยากให้สานต่อ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ด้านปลัดฯ เผยการดำเนินงาน สพฐ.-สกอ.-สอศ.-กศน.-สกศ.ดีขึ้นทั้ง 5 องค์กรหลัก ยึด 6 ยุทธศาสตร์ชาติเดินหน้าต่อ


นพ.ธีระเกียรติ  เจริญเศรษฐศิลป์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและผู้บริหาร 5 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เเถลงผลงานการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการในรอบ 4 ปี ว่า  ภาพรวมของการดำเนินงานของกระทรวงส่วนตัวพอใจ  ที่ผ่านมาย้ำมาเสมอว่าปัญหาหลายเรื่องมีมานาน และสะสมการเริ่มต้นมองด้วยแง่ลบและพยายามเปลี่ยนแบบถอนรากถอนโคน ไม่สามารถทำได้กับการปฏิรูปการศึกษา แต่ควรขยับทีละนิดเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีทั้ง 6 ด้าน ไม่ว่ารัฐบาลใดมาดูจะเห็นได้ว่ากำหนดไว้ครอบคลุม ยังลดความเหลื่อมล้ำ การปฏิรูประบบราชการ ซึ่งมองให้ดีจะเห็นได้ว่าหน่วยงานทำครบถ้วนและทุกคนก็ตั้งใจทำงาน 


รมว.ศึกษาฯ กล่าวต่อไปว่า ถ้าจะให้คะแนนผลการทำงานภาพรวมตนให้เกิน 5 คะแนน แต่บางโครงการให้ 8-9 คะแนน เช่น โครงการพัฒนาครูทั้งระบบ หรือคูปองครู , การส่งเสริมการศึกษาเพื่อการมีงานทำ หรือ อีทูอี เป็นต้น อีกเรื่องที่พอใจมากคือ ธรรมาภิบาล ซึ่งตนมองว่ายุคนี้สังคมช่วยเราได้เยอะ เป็นยุคที่การโกงได้รับการสะสาง และป้องปรามมากที่สุดยุคหนึ่ง ทุกอย่างตรงไปตรงมาตนก็พอใจ ซึ่งไม่ใช่ผลงานชิ้นโบว์แดงแต่อะไรก็ตามที่สะท้อนมาในสื่อมาก แสดงว่าอยู่ในจิตใจประชาชน กดดัน แต่เรื่องอื่นๆ คนอาจจะไม่รู้สึกโดนเท่าเรื่องโกง เพราะไม่อึดอัดใจมาก เพราะเดี๋ยวก็พัฒนาไป แต่เรื่องโกงคนรู้สึกว่าสั่งสมมานานถึงเวลาต้องแก้ไข 


อย่างไรก็ตาม มีหลายโครงการที่เกี่ยวกับครูที่รัฐบาลชุดนี้ได้ดำเนินการไว้ คือการดูแลความเป็นอยู่ของครู การซ่อมแซมบ้านพักครู การแก้ปัญหาหนี้สินครู การเปลี่ยนวิธีการเลื่อนวิทยฐานะ เปิดโอกาสให้ครูได้พัฒนาตนเองผ่านคูปองครู เป็นต้น ตรงนี้ยังไม่ค่อยเห็นว่ามีพรรคการเมืองใดกำหนดเป็นนโยบาย แต่คาดว่าจะทยอยประกาศออกมาหลังจากนี้ ซึ่งก็อยากให้ใครก็ตามที่เข้ามาสานต่อและทำให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

ด้านนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การดำเนินงานของ ศธ.ยึดตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน อาทิ ความมั่นคง ตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 7,424 ศูนย์ , แก้ ปัญหายาเสพติด สร้างภูมิคุ้มกันในนักเรียนนักศึกษา 3.5 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 87 ของกลุ่มเป้าหมาย เเละช่วยบำบัดเด็กได้เกือบทั้งหมด , โครงการโรงเรียาคุณธรรม ขยายผลทุกโรงเรียนครบเเล้วในปี 2561 , การบริหารจัดการเงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชนให้มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบเด็กซ้ำซ้อนได้เกือบ 4,000 คนเเละเรียกเงินคืนในรอบ 4 ปีได้ถึง 116 ล้านบาท 

,ช่วยเหลือเด็กอายุ 3-18 ปีที่อยู่นอกระบบกว่า 513,819 คน ให้กลับเข้าเรียนได้เเล้ว 49,434 คน ส่วนที่เหลือพร้อมกลับเข้าสู่ระบบ , พัฒนาครูเเละบุคลากรทางการศึกษา จัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนา คัดเลือกหลักสูตรพัฒนาครู 1,207 หลักสูตร ครูได้รับการอบรมเเล้วทุกคน , จัดหาอัตรากำลังทดเเทนครูเกษียณได้กว่า 50,000 อัตราช่วยเเก้ปัญหาขาดเเคลนครู ส่วนการศึกษาใน  กศน. มีผู้เรียน กว่า 1 ล้านคน ซึ่งจะสนับสนุนการเรียนตลอดชีวิต เป็นต้น ซึ่งจากผลการดำเนินงานทั้งหมดจะนำไปสู่การพัฒนาในปีนี้เเละปีต่อๆไปให้สำเร็จขึ้นเรื่อยๆ

ขณะที่นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความคืบหน้าในการทำงานหลายเรื่อง ตั้งเเต่การจัด การเรียนการสอน โรงเรียนมีตัวชี้วัดในการเรียนการสอนนักเรียน เเต่อดีตบางโรงเรียนบางเเห่งยังมัวสอนเนื้อหาที่มุ่งเเต่การเรียนต่อ ปัจจุบันจึงเสริมเรื่องทักษะ มีชีวิต มีตัวตนเพื่อตอบโจทย์ประเทศ เด็กเรียนเพื่อการโจทย์ของบริบทสังคมไทย มีความรู้ด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์, โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร เน้น PLC พัฒนาศักยภาพที่เริ่มต้นจากตัวเราเอง จัดอบรมครูภาษาอังกฤษผ่านค่าย Boot camp , เรื่องครูไม่ครบชั้น ไม่ครบวิชาเอก นำระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV มาใช้ มี 15,369 แห่งได้เรียนผ่านโทรทัศน์ ,

จัดโครงการสานฝันโรงเรียนชายแดนใต้ ลดความเหลื่อมล้ำหลังพบประชาชนสามจังหวัดชายเเดนใต้จำนวนไม่น้อยมีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาทต่อปี ,โครงการเกิดขึ้นใหม่1ตำบล 1โรงเรียนคุณภาพ โดยนำโครงการการเรียนการสอนเด่นๆลงไปใช้ในเเต่ละโรงเรียน , โครงการ E-library รวบรวมหนังสือ เเละสื่อการเรียนต่างๆกว่า 50,000 ไฟล์ในอินเตอร์เน็ต  ซึ่งสามารถอ่านที่ไหนเวลาใดก็ได้ /การจัดตั้งโรงเรียนโคเซ็น ซึ่งเป็นโรงเรียนนวัตกรรมทางสังคมเเห่งเเรกของไทย

ด้านนายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เป็นหน่วยสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์4.0 มีศูนย์ฝึกทักษะอาชีวะทั่วประเทศ จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมอาชีพในจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีผู้เรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับการเรียนสายสามัญ ,ลดปัญหาการทะเลาะวิวาท เพราะเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์เเละปลูกฝังเรื่องคุณธรรม อย่างปี 2558 มีการทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันเกือบ 200 ครั้ง บาดเจ็บกว่า 100 คน เเละเสียชีวิต 13 คนเเต่ช่วงปี 61 เกิดเหตุวิวาทเเค่ 1 ครั้งเเละปัจจุบันก็ไม่มีเหตุเกิดขึ้นเลย  , ขับเคลื่อนเเละพัฒนากำลังคนในการจัดตั้ง EEC, ยกระดับมาตรฐานอาชีวะสู่สากล ,พัฒนาครูให้มีศักยภาพเเละทักษะภาษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ ขณะที่ภาพรวมคนเรียนอาชีวะเพิ่มขึ้นจากปี 2558 มีผู้เรียนร้อยละ 38 ปัจจุบันร้อยละ 40 เเละตั้งเป้าปี 62 มีผู้เรียนร้อยละ 45 , มีการยุบรวมอาชีวะเอกชนเข้ากับรัฐ เพื่อประสิทธิภาพการทำงาน เเละที่สำคัญช่วง 4 ปีที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากภาคผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี

ขณะที่นางอรสา ภาววิมล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดำเนินโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ล่าสุด ปฏิรูปการศึกษาทุกด้าน ทำงานร่วมกับภาคผู้ประกอบการ ทำงานควบคู่กับเรียน คาดตัวเลขปี 2563 มีผู้จบการศึกษาจากโครงการนี้ไม่น้อยกว่า 6,000 คน , พัฒนาทักษะ ของผู้ที่ทำงานเเต่ต้องการทักษะอื่นเพิ่มเติมได้ 17,000 คน , โครงการไซเบอร์ยูนิเวอร์ซิตี้ มีผู้เรียน 65,000 คน สะสมหน่วยกิตและเรียนวุฒิปริญญาได้ ,นำสถาบัน อุดมศึกษาต่างชาติเข้ามาในไทย , มีวิทยาลัยพี่เลี้ยง ดูแลโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 2,000 แห่ง , จัดสรรทุนให้เด็กได้รับทุนการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ มีผู้สำเร็จการศึกษาเเล้วหลายพันคน เเละเดินหน้าสนับสนุนงานวิจัย โดยสกอ.ร่วมมหาวิทยาลัย 158 แห่ง ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศชาติให้ได้

นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ในภาพรวมระบบการศึกษาของไทยมีผู้เรียนตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย รวมประมาณ 13 ล้านคนเศษ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในฐานะหน่วยงานที่ออกนโยบายและสร้างมาตรฐานการทำงานทั้งการปรับเปลี่ยนระบบการประเมินของโรงเรียน ลดการกรอกเอกสาร มีการผลักดันมีพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ..ที่จะมีส่วนสำคัญในการกำกับมาตรฐานการศึกษา ประกันคุณภาพให้กับผู้เรียนและผู้ปกครอง ขณะเดียวกัน คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.)ที่เข้ามาวางแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เพื่อช่วยสนับสนุนดูแลส่งเสริมให้ผู้ที่ด้อยโอกาสได้รับโอกาสในการศึกษา อย่างไรก็ตาม อาจจะตั้ง “ธนาคารหน่วยกิต” เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกวัยที่ต้องการพัฒนาตนเอง อยากเข้าสู่ระบบการศึกษาเรียนและสะสมหน่วยกิตได้ เพราะต่อไปนักเรียน นิสิต นักศึกษา ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานศึกษาตลอดเวลาแต่สามารถเรียนได้ทุกที่.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พ่อเลี้ยงล่วงละเมิด

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA ส่วนเด็กอาการดีขึ้น

“ต้นอ้อ” แฉพิรุธพ่อเลี้ยงปมคลิปเสียง-DNA เชื่อ แม่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แค่เชื่อผัวเพราะลูกเคยโกหก เผย ตอนแม่รู้ความจริงว่าใครทำลูกถึงกับร้องไห้โฮโผกอดลูก ส่วนเด็ก 10 ขวบอาการดีขึ้น แต่ต้องรักษาตัวอีกหลายสัปดาห์

งานแต่งธนกร

วิวาห์ชื่นมื่น “ธนกร-แคทลีน” คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น

งานวิวาห์ “ธนกร-แคทลีน” ชื่นมื่น คนดังการเมือง-นักธุรกิจ ร่วมยินดีครึกครื้น ด้าน “ทักษิณ” ไม่ได้มาร่วม แต่ส่งของขวัญแสดงความยินดี

ทรัมป์สั่งปลด

“ทรัมป์” สั่งปลดประธานคณะเสนาธิการร่วมตามแผนปรับปรุงกลาโหม

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ออกคำสั่งในวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นปลด พลอากาศเอก ซี. คิว. บราวน์ จูเนียร์ (Charles Quinton Brown Jr.) เป็นประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมของสหรัฐออกจากตำแหน่ง

ข่าวแนะนำ

รวบหนุ่มจีนพร้อมสาวไทย เอี่ยวฟอกเงินหลอกลงทุนคริปโต

ตำรวจไซเบอร์รวบหนุ่มจีนพร้อมสาวไทย กินหรูอยู่สบาย เอี่ยวฟอกเงินขบวนการหลอกลงทุนคริปโต พบเกี่ยวพันอีก 28 คดี มูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส กลับมาในรอบ 19 ปี

“ทักษิณ” ถึงนราธิวาส บอกคนนราธิวาสน่ารักเสมอ ต้อนรับอบอุ่นกับการกลับมาในรอบ 19 ปี ก่อนเดินทางต่อตามกำหนดเดิม แม้มีระเบิดที่สนามบิน

บึ้มรถกระบะ สนามบินนราธิวาส ก่อน “ทักษิณ” ลงพื้นที่

บึ้มรถกระบะจอดใกล้กับหอบังคับการบิน ท่าอากาศยานนราธิวาส ก่อน “ทักษิณ” ลงพื้นที่สนามบินบ้านทอน ในอีก 50 นาที ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ