สำนักข่าวไทย 30 ธค.นิด้าโพลเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คุณภาพชีวิตของคนไทยในรอบปีที่ผ่านมา และการคาดการณ์ในปี 2562”พบว่า คุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ในปี 2561 เมื่อเทียบกับปี 2560 ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า เท่าเดิม
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 – 20 ธันวาคม 2561 โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,254 หน่วยตัวอย่าง
จากการสำรวจเมื่อถามถึงคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ในปี 2561 เมื่อเทียบกับปี 2560 ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า เท่าเดิม ได้แก่ อันดับ 1 ร้อยละ 53.43 ระบุว่า ด้านการพักผ่อนและการใช้ชีวิตในเวลาว่าง อันดับ 2 ร้อยละ 52.55 ระบุว่า ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อันดับ 3 ร้อยละ 52.23 ระบุว่า ด้านระดับความสุข อันดับ 4 ร้อยละ 52.15 ระบุว่า ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว อันดับ 5 ร้อยละ 50.24 ระบุว่า ด้านความสงบสุข ความปรองดอง ความสามัคคีของคนในสังคมและชุมชน อันดับ 6 ร้อยละ 48.96 ระบุว่า ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวม อันดับ 7 ร้อยละ 46.97 ระบุว่า ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เช่น สัญญาณโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การคมนาคม ฯลฯ อันดับ 8 ร้อยละ 46.41 ระบุว่า ด้านการบริการและการได้รับสวัสดิการของรัฐด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน เช่น ระบบการศึกษา ระบบประกันสุขภาพ การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐแก่ประชาชน อันดับ 9 ร้อยละ 45.45 ระบุว่า ด้านเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง และอันดับ 10 ร้อยละ 44.34 ระบุว่า ด้านการศึกษา/การทำงาน/ภาวะการมีงานทำ/ การประกอบอาชีพ และคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ ในปี 2561 เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า แย่ลง ได้แก่ อันดับ 1 ร้อยละ 59.81 ระบุว่า ด้านเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ และอันดับ 2 ร้อยละ 41.79 ระบุว่า ด้านปัญหาทางการเมือง
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการคาดการณ์ของประชาชนต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ในปี 2562 ที่ประชาชนส่วนใหญ่คาดการณ์ให้ดีขึ้น ได้แก่ อันดับ 1 ร้อยละ 61.96 ระบุว่า ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เช่น สัญญาณโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การคมนาคม ฯลฯ อันดับ 2 ร้อยละ 61.57 ระบุว่า ด้านระดับความสุข อันดับ 3 ร้อยละ 59.41 ระบุว่า ด้านการบริการและการได้รับสวัสดิการ ของรัฐด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน เช่น ระบบการศึกษา ระบบประกันสุขภาพ การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ แก่ประชาชน อันดับ 4 ร้อยละ 58.13 ระบุว่า ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว อันดับ 5 ร้อยละ 57.18 ระบุว่า ด้านเศรษฐกิจภาพรวม ของประเทศ และด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวม ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 6 ร้อยละ 56.46 ระบุว่า ด้านการพักผ่อนและการใช้ชีวิต ในเวลาว่าง อันดับ 7 ร้อยละ 54.15 ระบุว่า ด้านการศึกษา/การทำงาน/ภาวะการมีงานทำ/การประกอบอาชีพ อันดับ 8 ร้อยละ 53.11 ระบุว่า ด้านปัญหาทางการเมือง อันดับ 9 ร้อยละ 51.59 ระบุว่า ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อันดับ 10 ร้อยละ 51.28 ระบุว่า ด้านเสรีภาพ ในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง และอันดับ 11 ร้อยละ 48.57 ระบุว่า ด้านความสงบสุข ความปรองดอง ความสามัคคีของคนในสังคมและชาติ.-สำนักข่าวไทย