เวทีเสวนาฯ ห่วงสื่อเสนอข่าวละเมิดสิทธิเด็ก

รร.เอเชีย 17 ธ.ค.-หลายภาคส่วน ห่วงสื่อนำเสนอข่าวละเมิดสิทธิเด็กมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อเด็กบางรายถึงชีวิตและผิดกฎหมาย มีโทษทั้งจำทั้งปรับ แนะใช้ภาพจำลองแทนการสัมภาษณ์เด็กและครอบครัว


ในเวทีเสวนา “สื่อ” ข่าวเด็กอย่างไร? ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิ  ซึ่งจัดโดย คณะทำงานปกป้องเด็กและเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ร่วมกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)และภาคีเครือข่าย  ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ปัจจุบันสื่อมวลชนมีการนำเสนอข่าวเกี่ยวกับเด็ก ที่สุ่มเสี่ยงกับการละเมิดสิทธิเด็กมากขึ้น เนื่องจากจำนวนของสื่อมีหลากหลาย ทั้งสื่อกระแสหลัก เช่น ทีวี หนังสือพิมพ์ วิทยุ และยังมีสื่อโซเชียลมีเดียอีกนับไม่ถ้วน ทำให้เมื่อมีการนำเสนอข่าวเด็กที่ถูกละเมิดหรือถูกทารุณกรรม ข่าวนั้นจะถูกแชร์ออกไปอย่างไม่มีสิ้นสุด โดยเฉพาะการนำเสนอข่าวเด็กถูกละเมิด หรือถูกทารุณกรรมในหลายกรณี ที่แม้สื่อจะปกปิดหน้าตาของเด็ก แต่กลับมีภาพคนในครอบครัว เครือญาติ ที่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าเด็กคือใคร ยิ่งไปกว่านั้นบางกรณีมีการนำ เด็กผู้เสียหายกลับไปชี้จุดเกิดเหตุหรือเผชิญหน้ากับสถานการณ์เดิมหรือกับคู่กรณี เป็นการทำร้ายจิตใจเด็กอย่างรุนแรง  และอาจ บางรายอาจถึงขั้นซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย แต่นักวิชาการส่วนใหญ่มองว่าสื่อไม่ได้มีเจตนาในการจะละเมิดสิทธิเด็กแต่เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงและต้องการให้ความช่วยเหลือเหยื่อ แต่อาจขาดความรู้ความเข้าใจ ในกฎหมาย ที่ให้การปกป้องคุ้มครองเด็กหลายฉบับ ดังนั้นจึงขอร้องสื่อให้ระมัดระวังในการนำเสนอข่าวเด็กด้วยความรอบคอบ กลั่นกรองข้อมูล และสามารถใช้ภาพจำลองแทนการ ไปสัมภาษณ์เด็กหรือครอบครัว ซึ่งมีการทำแบบนี้ในหลายประเทศ 


ในเวทีนี้มีเยาวชนที่กระทำความผิดในคดีเกี่ยวกับชีวิตได้ระบายความรู้สึกของตัวเองที่เคยตกเป็นข่าวดังเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งถูกระบุชื่อนามสกุลจริงและที่อยู่บ้านพัก ทำให้ได้รับผลกระทบถูกคนในชุมชนมอง ถูกเรียกว่าบ้านนักเลง พ่อตกงาน แม่ขายของไม่ได้ และเป็นตราบาปที่ติดค้างอยู่ในใจมาตลอด แม้จะได้รับโทษในสถานพินิจแล้วก็ตาม


นายเตชาติ์ มีชัย ผู้ประสานงานเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน  กล่าวว่า ปัจจุบันการรายงานข่าวเด็ก ทางเว็บไซต์หรือโซเชียลต่างๆ ของสื่อมวลชนหลายสำนัก มีการละเมิดสิทธิเด็ก ลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่พบมากเป็นการเปิดเผยข้อมูลเด็ก หรือผู้ปกครองผ่านสื่อมวลชน ทำให้โอกาสกลับคืนสู่สังคมของเด็กลดน้อยลง เด็กที่มีคดีร้ายแรงอุกฉกรรจ์ต้องตกอยู่ในอันตราย การที่เส้นเสียงของเด็กในขณะถูกสัมภาษณ์ถูกเผยแพร่ออกไปผ่านช่องทางต่างๆ ซ้ำๆ ย่อมมีโอกาสที่เด็กจะถูกจดจำ เป็นการเปิดเผยตัวตนของเด็กในทางอ้อม บางครั้งอาจสร้างความขัดแย้งในประเด็นนั้นๆ ให้ใหญ่โตขึ้นได้ ดังนั้นสื่อมวลชนจึงควรใช้ความระมัดระวังในการนำเสนอข่าว เพื่อไม่ให้เป็นการขัดกับเจตนาของกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิเด็ก 

ซึ่งมีกฎหมายหลายฉบับที่ปกป้องคุ้มครองเด็กให้พ้นจากการถูกละเมิดสิทธิ โดยเมื่อปี 2532 ประเทศไทยมีการลงอนุสัญญาว่าด้วยเด็ก และได้ทำสัตยาบันออกกฎหมาย หรือพ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 27 พ.ร.บ. ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 9 หรือ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 130

ด้าน นพ.รณชัย คงสกนธ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มีผลวิจัยทางการแพทย์ที่ระบุชัดว่าเด็กที่ถูกนำเสนอข่าวผ่านสื่อได้รับผล กระทบทางจิตใจ ยิ่งอายุน้อยระหว่าง 2-12 ปีจะได้รับผลกระทบรุนแรง เพราะสมองกำลังเติบโต ส่วนใหญ่แสดงออกในลักษณะวิตกกังวลนอนไม่หลับ มีความหวาดกลัวรุนแรง โดยเฉพาะในกรณีที่สื่อให้เด็กที่ถูกกระทำต้องไปเผชิญหน้ากับผู้กระทำ เพื่อให้ได้ภาพข่าวตามข้อเท็จจริง  แต่การกระทำนี้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเด็กเพราะการเผชิญหน้ากับสิ่งที่หวาดกลัวซ้ำๆ ทำให้เด็กตกอยู่ในภาวะอันตรายทางจิตใจหรือเรียกว่าเป็นการข่มขืนครั้งที่สอง บางรายมีความรุนแรงถึงขั้นซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย ที่ผ่านมามีเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสื่อ เข้ารับการบำบัดทางด้านจิตใจ แต่ไม่มีสถิติ ที่ชัดเจน 

ด้านนายอนุกูล ปีดแก้ว รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า มาตรการกำกับดูแลเรื่องเนื้อหาความเหมาะสมและอายุขั้นต่ำของแหล่งข่าวที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์นั้น ยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก  แต่ยืนยันว่าจำนวนของเด็กที่ถูกสื่อนำเสนอข่าวที่ เป็นการละเมิดสิทธิเด็ก ไม่ได้มีจำนวนมากขึ้น แต่เนื่องจากจำนวนของสื่อมีมากทำให้ภาพข่าวกระจาย และอยู่ในสื่อต่างๆจนมองว่าเหมือนจะมากกว่าเดิม ซี่งกรมกิจการเด็กได้ร่วมกับหลายภาคส่วน รวมทั้งองค์กรเอกชน ได้พยายามชี้แจงและเผยแพร่กฎหมายและ กลไกปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่มีอยู่แล้วให้สื่อเกิดความรู้และความเข้าใจ เพื่อสามารถนำเสนอข่าวได้ ไม่ผิดกฎหมายที่มีโทษทั้งจำทั้งปรับ แนะว่าหากสื่อจะนำเสนอข่าวที่มีเด็กเป็นเหยื่อหรือเป็นผู้กระทำความผิดต้องมีสหวิชาชีพคอยดูแลและกลั่นกรองข้อมูลในการให้ข่าวกับสื่อ และสามารถใช้ภาพจำลองแทนการ  ไปสัมภาษณ์เด็กหรือครอบครัว ซึ่งมีการทำแบบนี้ในหลายประเทศ .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สามีเข้าเกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาดับ

สลด! สามีขับรถใส่เกียร์ค้างไว้ สตาร์ทรถพุ่งชนภรรยาเสียชีวิตในบ้านพักย่านวิภาวดี ตำรวจยังไม่ปักใจเชื่อคำให้การเบื้องต้น นำตัวสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้ง

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” เจ้าตัวปิดปากเงียบ

ตร.ไซเบอร์คุมตัว “เอ็ม เอกชาติ” ฝากขัง เจ้าตัวปิดปากเงียบ ไม่ตอบคำถามสื่อ ด้านตำรวจพบเส้นทางการเงินจากเว็บพนัน กว่า 30 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

นายกฯ ติดตามภารกิจช่วยเหลือคนติดซาก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่จุดเกิดเหตุอาคาร สตง.ถล่ม ติดตามภารกิจช่วยเหลือผู้ที่ติดค้างอยู่ใต้ซากอาคาร พร้อมให้กำลังใจทุกหน่วยงานทำงานอย่างเต็มที่

ตึกถล่มแผ่นดินไหว

72 ชั่วโมง ยังมีหวังพบผู้รอดชีวิตตึก สตง. ถล่ม

ใกล้ครบ 72 ชั่วโมงเหตุตึก สตง. ถล่ม แต่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยังไม่ละความพยายาม และยังมีความหวังในการค้นหาผู้ที่ติดอยู่ใต้ซาก

ตรวจอาคารแผ่นดินไหว

ตรวจอาคารใน กทม.แล้วกว่าหมื่นแห่ง พบสีแดง 2 แห่ง ยังห้ามเข้าใช้ จากเหตุแผ่นดินไหว

หน่วยงานร่วมแถลงสถานการณ์ภาคเศรษฐกิจและระบบทางการเงินจากเหตุแผ่นดินไหว เผยตรวจสอบอาคารแล้วกว่า 10,000 แห่ง เป็นสีเขียว พบ 2 แห่ง ยังมีสีแดงไม่ให้เข้าใช้อาคาร แจง 4 บริษัทประกันภัยตึก สตง.ถล่ม ทำประกันภัยต่อกับบริษัทประกันต่างประเทศ

อพยพออกจากตึก

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ แจ้งให้เข้าใช้งานในอาคารได้แล้ว

ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ สั่งคนออกจากตึกทันที หลังเกิดเสียงดัง-รอยร้าว-เศษปูนร่วง ล่าสุดแจ้งให้เข้าใช้งานในอาคารได้แล้ว