กรมสรรพากรปัดมุ่งเก็บภาษีค้าออนไลน์

กรุงเทพฯ 7 ธ.ค. – กรมสรรพากรแจงกฎหมาย e-Payment ไม่ขัดแย้งนโยบายสังคมไร้เงินสด ปัดมุ่งเก็บภาษีค้าออนไลน์


นายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ…..(เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) ว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออำนวยความสะดวกผู้เสียภาษี โดยเป็นการแก้ไขกฎหมายให้รองรับการทำธุรกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ การให้ผู้จ่ายเงินได้สามารถเลือกวิธีการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านตัวกลาง (เช่น ธนาคาร) โดยผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากรในภายหลังอีก พร้อมทั้งสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี โดยไม่ได้มุ่งเน้นจัดเก็บภาษีจากผู้ขายสินค้าทางออนไลน์หรือธุรกิจหนึ่งธุรกิจใดเป็นการเฉพาะแต่อย่างใด

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้มีการเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 3 ครั้ง ระหว่างเดือนสิงหาคม 2560-กันยายน 2561 ซึ่งมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นจากหน่วยงานภาคเอกชน ภาครัฐ และประชาชนทั่วไปทางเว็บไซต์และทางหนังสือกว่า 400 ราย โดยระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว กรมสรรพากรได้ประชุมหารือร่วมกับสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับฟังความคิดเห็นมาปรับปรุงร่างให้สอดคล้องกับผู้ใช้กฎหมายอย่างแท้จริงและไม่ก่อให้เกิดภาระเกินสมควร


โฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านกระบวนการตามกฎหมายอย่างรอบคอบ โดยมีการพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิของบุคคล การรักษาความเป็นส่วนตัว และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างถี่ถ้วนแล้ว ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้นำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการจัดเก็บภาษีอากรมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยรายได้ให้รัฐนำไปใช้จัดบริการสาธารณะต่าง ๆ แก่ประชาชน การรายงานธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะตามร่าง พ.ร.บ.นี้จึงเป็นการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

นายปิ่นสาย กล่าวว่า การกำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งข้อมูลแก่กรมสรรพากรไม่ได้ขัดแย้งกับนโยบายสังคมไร้เงินสดของรัฐบาล เนื่องจากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็วและช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น และหากผู้ประกอบการมีประวัติทางการเงินที่ถูกต้องและโปร่งใส ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน และการขอสินเชื่อต่าง ๆ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการขึ้นไปอีก ทั้งนี้ กรมสรรพากรทราบว่าการรับโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารนั้นไม่ได้หมายความว่าเงินจำนวนทั้งหมดต้องนำไปเสียภาษี เนื่องจากหลายกรณีไม่ได้เป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี เช่น การคืนเงินกู้ยืม การรับเงินที่ฝากไปทำบุญแทน เป็นต้น โดยกรมสรรพากรจะนำข้อมูลที่ได้รับไปประมวลผลร่วมกันกับข้อมูลอื่น ๆ เพื่อประกอบการจัดกลุ่มผู้เสียภาษีในการดูแลและให้บริการที่เหมาะสมต่อไป

นายปิ่นสาย กล่าวเพิ่มเติมว่า การขอให้ธนาคารส่งข้อมูลการรับเงินเข้าบัญชีเกิน 400 ครั้ง และมีวงเงินรับเกิน 2 ล้านบาทต่อบัญชี หรือมีการโอนขารับเกิน 3,000 ครั้งต่อบัญชี เป็นเพียงการส่งชื่อสกุล เจ้าของบัญชี และจำนวนครั้งเท่านั้น ไม่ได้เป็นการส่งข้อมูลว่าใครโอนให้ใคร ทั้งนี้ ยืนยันว่าข้อมูลที่ได้ไม่ได้นำมาใช้ในการรีดภาษีผู้ค้าออนไลน์เหมือนที่ภาคประชาสังคมเข้าใจ แต่นำมาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เสียภาษี ดูข้อมูลกลุ่มเสี่ยง อีกทั้งข้อมูลที่ส่งมาก็เป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเท่านั้น ยังมีปัจจัยประกอบอีกหลายด้าน นอกจากนี้ เจตนาของกฎหมายหากประชาชนหรือผู้ประกอบการใดที่มีรายได้เกินเกณฑ์ก็จะต้องเสียภาษีอยู่แล้ว 


สำหรับเกณฑ์การจัดเก็บภาษีจะอยู่ที่ 1 ล้านละ 5,000 บาท หากเกิน 2 ล้านบาท ตามที่กฎหมายกำหนดก็จะเสียเพียง 10,000 บาทเท่านั้น ซึ่งระดับวงเงิน 2 ล้านบาท ยังถือว่าสูงกว่าฐานรายได้เฉลี่ยของคนเมือง ที่เสียภาษีบุคคลอยู่ที่ 600,000 บาทต่อปี การจัดเก็บภาษีดังกล่าวยังช่วยป้องกันข้อครหาที่หลายคนชี้ว่าประชาชนเพียง 10 ล้านคนเท่านั้นที่ต้องจ่ายภาษีรายได้ ทั้งที่มีประชากรส่วนใหญ่ถึง 69 ล้านคน

ส่วนการให้ผู้จ่ายเงินสามารถเลือกวิธีนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคารโดยไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี และนำส่งภาษีให้กับกรมสรรพากรภายหลัง ก็เป็นการสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี โดยไม่ได้มุ่งเน้นที่จะจัดเก็บภาษีจากผู้ขายสินค้าออนไลน์ หรือธุรกิจหนึ่งธุรกิจใดเป็นการเฉพาะ แต่เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เดี๋ยวนี้มีการลดการใช้เอกสารและนำข้อมูลสู่ระบบดิจิทัล ตามนโยบายของกรมที่มุ่งสู่การเป็นหน่วยงานอิเล็กทรอนิกเต็มรูปแบบ โดยกระบวนการทั้หมดก็ได้เผื่อเวลาให้ผู้ประกอบการปรับตัว เพราะมีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2563.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ค้นบ้านสามารถ

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ” คดีฟอกเงินดิไอคอน

ดีเอสไอเข้าค้นบ้าน “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” คดีฟอกเงินดิไอคอน หลังพบเงิน “บอสดิไอคอน” โอนเข้าบัญชีแม่ของนายสามารถ

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

“ทนายสายหยุด” จ่อถอนตัวคดีตั้ม หวั่นติดร่างแห

“ทนายสายหยุด” เตรียมถอนตัวเป็นทนายให้ “ตั้ม” เผยในมือมีแต่พยานเท็จ ปิดบังข้อเท็จจริง เสี่ยงเป็นผู้ร่วมกระทำผิด

ข่าวแนะนำ

วิเคราะห์การเมืองสนามใหญ่ หลังศึกเลือกตั้งนายก อบจ.

วิเคราะห์ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 4 สนามใหญ่ โดยเฉพาะอุดรธานี ที่สะท้อนถึงความนิยมในตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบกุญแจมือเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนดัง ส่งนอนห้องขัง

“บิ๊กเต่า” ลั่นเตรียมมอบ “กุญแจมือ” เป็นของขวัญปีใหม่ให้อินฟลูฯ นักร้อง คนดัง ส่งนอนห้องขังวีไอพี เผยปม “ฟิล์ม รัฐภูมิ” คาดมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้

หมอบุญ

THG แจงบริษัทไม่เกี่ยวข้องคดีต่างๆ ที่เกิดจาก “หมอบุญ”

THG แจงตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบัน “หมอบุญ” ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารใน THG คดีฉ้อโกงใดๆ ที่เกิดขึ้น บริษัทไม่เกี่ยวข้อง