ชี้ปัญหาเศรษฐกิจไทย ต้องแก้ความเหลื่อมล้ำ

มหาวิทยาลัยรังสิต 6 ธ.ค.-พรรคการเมือง ร่วมการสัมมนา เรื่อง “การปฏิรูปและนโยบายเศรษฐกิจ ภายใต้รัฐบาลเลือกตั้ง” มองปัญหาเศรษฐกิจไทยต้องแก้ความเหลื่อมล้ำ สถานะคนรวยกระจุก คนจนกระจาย หยุดแนวคิดอำนาจนิยม


คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดสัมมนาทางวิชาการประจำปี ครั้งที่ 12 เรื่อง “การปฏิรูปและนโยบายเศรษฐกิจ ภายใต้รัฐบาลเลือกตั้ง” โดยมีตัวแทนจากพรรคการเมืองเข้าร่วมการสัมมนา ได้แก่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายสิริพงษ์ อังคสกุลเกียรติ กลุ่มคนรุ่นใหม่พรรคภูมิใจไทย และนายสมพงษ์ สระกวี ที่ปรึกษาพรรคเสรีรวมไทย

โดยนายจาตุรนต์ กล่าวถึงสภาพปัญหาของเศรษฐกิจไทย ว่า การบริหารประเทศในช่วง 4-5 ปีมานี้ หากถามหาการปฏิรูป หลายคนอาจไม่พบว่ามีการปฏิรูปใด ๆ ขณะที่ด้านเศรษฐกิจนั้น นอกจากจะไม่เกิดการปฏิรูปแล้ว ยังเกิดการเสียโอกาส และศักยภาพของประเทศถอยหลัง มีปัญหาความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้น เกิดสภาพรวยกระจุก จนกระจาย ซึ่งอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยนั้นอยู่ในอันดับต่ำสุดของอาเซียน ยกเว้นประเทศบรูไน อีกทั้งประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่งของทรัพย์สินอันดับที่หนึ่งของโลก หลายมาตรการยังซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ เช่น มาตรการกระตุ้นช็อปช่วยชาติ เที่ยวช่วยชาติ ทั้งที่ผู้ได้รับประโยชน์จริงคือ ธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะผู้ที่ใช้จ่ายเงิน ไม่ใช่กลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยมาก ทั้งนี้ เรื่องท่องเที่ยวเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยนั้นเติบโต แต่กลับไม่สร้างความยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะนำงบประมาณไปใช้ในการซื้ออาวุธมากกว่า ขณะเดียวกัน โครงการขนาดใหญ่ยังมีปัญหาด้านการประมูล ที่ธุรกิจขนาดใหญ่ได้เข้ามาอย่างง่าย ๆ ดังนั้น หลังจากนี้ ต้องฟื้นความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทย


นายสมพงษ์ กล่าวว่า ปัญหาความยากจนและปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยติดอันดับต้น ๆ ของโลก และยังต้องเผชิญหน้ากับคำว่า คนรวยกระจุก คนจนกระจายต่อไป เด็กไทยหลายแสนคนต้องหลุดออกจากการศึกษา เพียงเพราะผู้ปกครองไม่มีเงินส่งลูกหลานเรียน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของรัฐบาลอำนาจนิยม

ด้านนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประเทศไทยยังเผชิญปัญหาความถดถอยทางการเมือง และการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ส่วนปัญหาทางเศรษฐกิจมีทั้งปัญหาการเติบโตต่ำทางเศรษฐกิจ การสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย และปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีความรุนแรงมากขึ้นจนติดอันดับของโลก ซึ่งทั้งหมดมาจากผู้บริหารประเทศที่ไม่สามารถปรับแนวคิดของตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงได้ อยู่กับแนวคิดอำนาจนิยม รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ภาครัฐ ให้ความสำคัญกับภาครัฐ และมองว่าความสงบเรียบร้อยทุกมิติมากกว่าเหนือสิ่งอื่นใด ขณะที่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บังคับประชาชนให้ใช้เฉพาะในร้านธงฟ้าของรัฐเท่านั้น ซึ่งเป็นร้านค้าที่รัฐบาลกำหนด ทำให้เงินไม่ออกมาหมุนเวียน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวไม่สอดคล้องกับความสร้างสรรค์ เพราะความสร้างสรรค์ต้องการเสรีภาพ ดังนั้น พรรคการเมืองควรมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาของประเทศเหล่านี้อย่างไร มีหลักการที่ชัดเจนว่าระบบเศรษฐกิจจะจัดการอย่างไร แนวทางการปฏิรูปจะเป็นอย่างไร หากการดำเนินการมีอุปสรรค ก็ต้องหาฉันทามติจากประชาชน โดยไม่จำเป็นต้องนำมาเป็นความขัดแย้งต่อไป

ขณะที่นายสิริพงศ์ กล่าวถึงปัญหาของเกษตรไทยที่ต่างจากเกษตรกรต่างประเทศว่า เกษตรกรไทยมีปัญหาเรื่องความจนซ้ำซ้อน ทั้งที่เกษตรกรต่างประเทศนั้นร่ำรวย การพยายามแก้ปัญหาของรัฐบาลในระยะหนึ่ง มักจะมีสิ่งต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะนโยบาย รัฐบาล รูปแบบที่เปลี่ยนไป โดยไม่สามารถควบคุมหรือคาดการณ์ได้ ในอนาคตอันใกล้ การจะกำหนดนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรมีข้อจำกัดมาก ซึ่งต้องเปลี่ยนไปจากเดิมเพื่อไม่ให้ผิดกฎขององค์การการค้าโลก (WTO) ส่วนการท่องเที่ยวที่อยากให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาจำนวนมากขึ้นนั้น ต้องพิจารณาว่าเมืองต่าง ๆ นั้น พร้อมจะรองรับนักท่องเที่ยวได้เพียงพอหรือไม่ ทั้งนี้ เห็นว่ารัฐบาลพยายามจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำมาโดยตลอด เช่น กฎหมายภาษีมรดก ภาษีที่ดิน แต่คนรวยก็ยังรวย ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ แต่ผู้ที่รับภาระคือคนชั้นกลางและคนชั้นล่าง


ส่วนนายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ควรให้ความสำคัญกับการกระจายรายได้ เพื่อคลายความรุนแรงของสถานะรวยกระจุก จนกระจาย ภาครัฐควรทำหน้าที่ส่งเสริม ไม่ใช่ทำหน้าที่อำนาจนิยม มีกฎระเบียบต่าง ๆ มาก จนกระทั่งคนที่ทำหน้าที่สุจริตหมดกำลังใจที่จะทำ

ด้านนายธนาธร กล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ทุกพรรคจะเสนอเรื่องที่ก้าวหน้า และค่อนข้างมองปัญหาและทางออกไปในทางเดียวกัน ปัญหาของไทยคือยิ่งโตยิ่งเหลื่อมล้ำ ถูกประเทศเพื่อนบ้านทิ้งห่าง กลุ่มทุนรายใหญ่ได้รับประโยชน์จากโครงการของรัฐ ทรัพยากรกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ซึ่งจะไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ หากไม่พูดถึงและจัดการโครงสร้างบางอย่างที่กดทับสังคมอยู่ โครงสร้างดังกล่าวทำให้คนกลุ่มชนชั้นนำมีอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองเหนือคนกลุ่มอื่น ทั้งนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1.ทศวรรษ 2500 เป็นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า 2.ทศวรรษ 2520 เป็นการผลิตเพื่อส่งออก และ 3.ทศวรรษ 2540 ใช้ Dual-track คืออาศัยการส่งออกควบคู่การส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ

“ขณะนี้ทุกคนกำลังมองหาคลื่นลูกที่ 4 ในการผลักดันให้ประเทศพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งทุกวันนี้ผมยังเห็นว่าไม่มีใครที่เสนอเรื่องนี้อย่างชัดเจน ถึงเวลาที่ต้องกลับมาพูดความจริงว่า ระหว่างกลุ่มพันธมิตรผูกขาด หรือกลุ่มอภิสิทธิ์ชน ที่ประกอบด้วย รัฐ ข้าราชการ ทหาร มีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือคนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น หากไม่ทำลายโครงสร้างเช่นนี้ การแก้ปัญหาจะไม่เกิดขึ้น ดังนั้น ต้องจัดการเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา” นายธนาธร กล่าว.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ภรรยาหมอบุญมอบตัว

“ภรรยา-ลูก” หมอบุญ อ้างถูกปลอมลายเซ็น ไม่เคยรู้การกระทำใดๆ

ทนายความภรรยา-ลูก หมอบุญ เผยถูกปลอมลายเซ็นเอกสาร ไม่เคยรับรู้การกระทำใดๆ ของหมอบุญ โดยภรรยาได้หย่าร้างกับหมอบุญ ก่อนปี 66

น้ำผุดเชียงดาว

น้ำใต้ดินผุดท่วมอ่วม “บ้านเรือน-พื้นที่เกษตร” อ.เชียงดาว

มวลน้ำมหาศาลผุดขึ้นจากใต้ดิน เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่เกษตร และบ้านเรือนประชาชน หลายหมู่บ้าน ใน อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ระดับน้ำบางจุด ท่วมบ้านเกือบถึงหลังคา พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 400 ไร่

เลือกตั้ง อบจ.

“แสวง” ลงพื้นที่สังเกตการณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี

“เลขาฯ แสวง” ลงพื้นที่ตรวจรับ-มอบอุปกรณ์เลือกตั้ง นายก อบจ.อุดรธานี พร้อมสังเกตการณ์เลือกตั้งพรุ่งนี้ (24 พ.ย.) วอนประชาชนออกมาใช้สิทธิ 8.00-17.00 น.