อภิสิทธิ์นั่งหัวหน้าปชป.

กรุงเทพฯ 11 พ.ย.- ที่ประชุมใหญ่วิสามัญพรรคประชาธิปัตย์เลือก “อภิสิทธิ์” นั่งหัวหน้าพรรคแบบไร้คู่แข่ง เนื่องจากผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อขอถอนตัว 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์  พรรคพรรคประชาธิปัตย์ จัดประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 2 เพื่อเลือกหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค และกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 11 คน ตามข้อบังคับพรรค และตามคำสั่งคสช. โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รักษาการหัวหน้าพรรค เป็นประธานการประชุม โดยการประชุม เริ่มขึ้นเวลา 09.40น. มีองค์ประชุม 304 คน ลาประชุม 21 คน

นายจุรินทร์ ชี้แจงต่อที่ประชุมถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นกรรมการบริหาร และหัวหน้าพรรค โดยการเลือกหัวหน้าพรรคตามข้อบังคับพรรคให้คำนึงถึงผลการหยั่งเสียงเบื้องต้น และผลการหยั่งเสียงปรากฎว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชนะการหยั่งเสียง และพรรคได้ตั้งกรรมการการเลือกตั้งหัวหน้าและกรรมการบริหารจำนวน 11 คน 


จากนั้นนายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตส.ส.เพชรบุรี เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรค และนายสงกรานต์ จิตสุทธิภากรณ์ อดีตส..ส.นครสวรรค์ เสนอนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม เป็นหัวหน้าพรรค  และประธานสาขาพรรคจากจังหวัดฉะเชิงเทรา เสนอชื่อนายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นหัวหน้าพรรค 

นพ.วรงค์ ประกาศถอนตัว และเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ และขอแสดงความยินดีกับนายอภิสิทธิ์ ที่เป็นคนแรกที่ได้รับการหยั่งเสียง และขอชื่นชมในเสียงสนับสนุน 6 หมื่นกว่าคะแนน และเชื่อว่าจะนำพรรคไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งนี้

“ขอบคุณทุกคะแนนเสียงที่ให้การสนับสนุนผม 5 หมื่นกว่าคะแนนที่ถือว่าไม่น้อยและขอให้พรรคมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ผมขอโทษทุกคนที่ในช่วงการหาเสียงอาจจะมีการล้ำเส้นกันบ้าง ผมขอฝากนายศุภชัย ศรีหล้า อดีตส.ส.อุบลราชธานี เป็นคณะทำงานในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพราะพื้นที่อีสานมีการแข่งขันกันมาก  เราถือว่าหัวหน้าพรรคได้รับฉันทามติจากประชาชน เราต้องเคารพมคิประชาชน ผมจึงขอถอนตัว” นพ.วรงค์ กล่าว 


ด้านนายอลงกรณ์ ประกาศถอนตัวเช่นกัน เพราะสมาชิกทั้งประเทศได้เลือกให้นายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรค และที่กลับมาพรรคเพื่อต้องการสร้างจุดเปลี่ยนของพรรคและจุดเปลี่ยนประเทศไทย อยากเห็นกฎเหล็ก 5 ข้อที่เคยเสนอ ยืนบนหลักการประชาธิปไตย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้จะเหลือผู้ได้รับการเสนอชื่อเพียงคนเดียว ก็ยังต้องให้สมาชิกลงคะแนนรับรอง โดยต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งการลงคะแนนครั้งนี้เป็นการลงคะแนนผ่านเครื่องลงคะแนนที่พรรคได้ใช้เครื่องลงคะแนนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำนวน 60 เครื่อง ซึ่งนายอภิสิทธิ์ได้รับการรับรองเป็นหัวหน้าพรรคด้วยคะแนนอดีตส.ส. 121 เสียงจาก126 เสียงคิดเป็นร้อยละ 67.2 และองค์ประชุมอื่น 131 จาก 133เสียง คิดเป็นร้อยละ 29.54  ทั้งนี้ ในส่วนของอดีตส.ส.ที่งดออกเสียงคือกรรมการเลือกตั้งของพรรค และเมื่อได้หัวหน้าพรรคแล้วก็จะมีการเสนอชื่อรองหัวหน้าพรรค 13 คน แบ่งเป็นรองหัวหน้าภาค 5 คน  รองหัวหน้าภารกิจ 8 คน 

สำหรับบรรยากาศการประชุม เป็นไปอย่างคึกคัก แม้จะพึ่งผ่านการหยั่งเสียงหัวพรรคไปเมื่อวาน แต่ทั้งสามคน ที่สมัครชิงหัวหน้าพรรค ทั้งนายอภิสิทธิ์ นายแพทย์วงรค์ เดชกิจวิกรม  และนายอลงกรณ์ พลบุตร ก็ทักทายกันอย่างเป็นกันเอง รวมทั้งกองเชียร์ของทั้ง 3 ฝ่ายด้วย.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง