กรุงเทพฯ 22 ก.ย. – เครือข่ายประชาชนและนักวิชาการ เสนอแนะแก้ไข พ.ร.บ.สลากฯ ต้องโปร่งใส มีกลไกคุ้มครองเด็ก ผู้ได้รับผลกระทบ หลังกระทรวงการคลังเตรียมเสนอ ครม.พิจารณาในเร็วๆนี้
รร.แมนดาริน ก.ย.-นายธนากร คมกฤส ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนปฏิรูปสลาก กล่าวในงานสัมมนา “พ.ร.บ.สลากฯใหม่ เปลี่ยนอย่างไรให้ยั่งยืน” ว่า เครือข่ายได้ลงพื้นที่จัดเวทีรับฟังความเห็นจากประชาชนต่อการแก้ไข พ.ร.บ.สลากกินแบ่งรัฐบาล จากกลุ่มผู้ค้ารายย่อย ผู้ซื้อสลาก ผู้ค้าตัวแทน คนพิการ ตัวแทนสื่อท้องถิ่น และตัวแทนภาคประชาชน ได้ข้อสรุปจากความคิดเห็นดังนี้ 1.ต้องจัดสรรรายได้จากการจำหน่ ายสลากฯ โดยการคำนึงถึงประโยชน์ทั้งรัฐบาล ผู้ค้ารายย่อย และกิจการสาธารณะ
2.หากเพิ่มผลิตภัณฑ์สลากใหม่ ต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาที่มีความเป็นกลาง และรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย และนำเสนอการปกป้องเด็ กและเยาวชน ไม่ให้เข้าถึงได้ง่าย ที่สำคัญต้องแก้ปัญหาผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้ค้ารายย่อยที่จำหน่ ายสลากอยู่เดิม 3.การบริหารกิจการสลากฯต้องมีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีส่วนร่วมทุกฝ่าย โดยเฉพาะการกำ กับตรวจสอบการบริหารกองทุน 4.ควรจัดสรรรายได้ส่ วนหนึ่ง เป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนการรณรงค์ให้เกิดการลดละเลิ กพนันในสังคม เยียวยาผู้รับผลกระทบ ส่งเสริมความเข้มแข็ งของภาคประชาสังคม รวมถึงการจัดสรรสวัสดิการให้แก่ ผู้ค้ารายย่อย และ5. ควบคุมราคาการจำหน่ายตามที่กฎหมายกำหนด ต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภค การจำกัดการเร่ขายที่นำมาสู่การซื้อสลากโดยไม่ตั้งใจ ปราบปรามการหลอกลวงประชาชน การห้ามไม่ให้มีการโฆษณาหรือส่งเสริมการขายที่กระตุ้นยั่วยุ ออกรางวัลที่โปร่งใส และการให้ความรู้ที่เพียงพอกับประชาชนเพื่อให้เท่าทันการพนัน ขณะนี้กระทรวงการคลังได้เตรียมนำเสนอ ครม.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในเร็วๆนี้ และเตรียมประสาน กรรมาธิการด้านสังคม สนช. เพื่อพิจารณาเพิ่มเติมอีกด้านหนี่ง อีกทั้งมองว่าปริมาณสลากในระบบ 120 ล้านฉบับน่าจะเพียงพอและไม่ควรจัดพิมพ์เพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสม และจะรวบรวมข้อมูลเสนอต่อสำนักงานสลากเพิ่มเติมด้วย
นายวิเชียร ตันติศิริมงคล ประธานหลักสูตรรัฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวว่า รัฐบาลได้พยายามแก้ไข พ.ร.บ.สลากฯ มานานแล้ว ที่ผ่านมาสลากฯเป็นสินค้าในการหารายได้เข้ารัฐเป็นหลักและถูกการเมืองใช้เป็นเครื่องมือเพื่อทุจริต ยอมรับรัฐบาลแก้ไขสลากฯให้ดีขึ้นในหลายเรื่องทั้งการรื้อโควต้า การจัดสรรสลากกระจายไปสู่รายย่อย การห้ามขายเกิน 80 บาท ยอมรับว่ากระทรวงการคลังและสำนักงานสลากฯได้พยายามยกร่าง พ.ร.บ.สลากฯ เพื่อปลดล็อคเรื่องเงิน และการบริหารงานในสำนักงานสลากฯ แต่กังวลว่าจะมีการสอดไส้เพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น หวยออนไลน์ มองว่าอาจมอมเมาประชาชน กลายเป็นปัญหาวนเวียนซ้ำเดิมไม่หยุด และอาจกลายเป็นแหล่งขุมทรัพย์ของกลุ่มคนบางกลุ่มหรือนักการเมืองเหมือนเดิม
ดังนั้น การรับฟังความเห็นจากประชาชนเรื่องใหญ่ที่สุด และการแก้ไขกฎหมายอยากให้มีเรื่องการใช้เงินในรณรงค์ผลกระทบจากการขายสลาก และนำไปใช้ทางสังคมอย่างชัดเจน จึงเสนอให้ตั้งกองทุนสลากเพื่อพัฒนาสังคม ตามบรรจุไว้มาตรา 44 ของคำสั่ง คสช. ในร่างกฎหมายฉบับใหม่ แม้ว่ารัฐบาลแก้ปัญหาสลากเกินราคาได้แล้ว แต่มีปัญหาใหม่เพิ่มเติมมา เช่น การซื้อสลากฯเพิ่มขึ้น ยอมรับว่ายอดพิมพ์สลากเพิ่มขึ้นมาตลอด และผู้ซื้อตกลงยอมซื้อราคาแพงเพื่อซื้อหวยชุด จึงเป็นความอ่อนแอของสังคมไทย
นางนวลน้อย ตรีรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การแก้ไขกฎหมายได้สอบถามความเห็นจากประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โครงสร้างกิจการสลากมีธรรมาภิบาล จึงเห็นว่าการจัดตั้ง “คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการสลากฯ” โดยมีกรรมการประกอบด้วย ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ภาครัฐ สื่อมวลชน ไม่ซ้ำกับคณะกรรมการบริหาร แนวทางดังกล่าวเห็นความสำเร็จในต่างประเทศ โดยต้องไม่ดำเนินกิจการเพื่อมุ่งแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูแลสังคม คุ้มครองเด็ก ผู้บริโภค ต้องมีกลไกกำกับดูแลอย่างชัดเจน ปัจจุบัน ผู้ค้าสลากต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ จึงแนะให้มีการจดทะเบียนผู้ค้ารายย่อย เพราะปัจจุบันทะเบียนสะดวกมาก เพราะการจัดสรรสลากฯโดยตรงให้กับรายย่อยยังดำเนินการได้ และไม่ควรจัดสรรสลาก เพื่อหวังกระจาย แต่ควรจัดสรรเงินให้กับสมาคม มูลนิธิร้อยละ 2 เพื่อทำกิจการในองค์กร และโควค้าสลากนำบริหารจัดการเอง.-สำนักข่าวไทย