กรุงเทพฯ 26
มิ.ย.-ยังคงมีความเห็นต่างเรื่องแนวคิดจัดการไฟฟ้าสามจังหวัดชายแดนใต้ ภาครัฐยืนยันควรจัดตั้งบริษัทขึ้นมาดูแล
แต่การไฟฟ้าภูมิภาคังคัดค้าน โดยรมว.พลังงานยืนยันสร้างความมั่นคง
เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจชุมชน โดยหากขาดทุน รัฐบาลพร้อมสนับสนุน
นายศิริ
จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ยืนยันว่า แนวคิดการจัดตั้งบริษัท RPS หรือ Regional Power Systemเพื่อเป็นผู้บริหารจัดการโครงข่ายไฟฟ้าและส่งเสริมการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดยะลา, ปัตตานี,นราธิวาส จะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
ทั้งสร้างรายได้ และสร้างความมั่นคงด้านพลังาน เพราะจะเข้ามาถือหุ้นในบริษัทในอนาคตหลังจากเบื้องต้น
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานร่วมถือหุ้น
ซึ่งหากเกิดปัญหาขาดทุนทางภาครัฐจะมีวงเงินไปอุดหนุน เพื่อไม่สร้างผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่
5 แสนรายแต่อย่างใด
ทั้งนี้กระทรวงพลังงานเตรียมรายงาน เป็นเรื่องใหม่ในการบริหารจัดการไฟฟ้าระบบพลังงานสะอาดที่สุดในโลก
ต่อที่ประชุมองค์การสหประชาชาติ(UN) ตามเป้าหมายที่
7การพัฒนาที่ยั่งยืน UN Sustainable Development Goal (SDG) 7 ที่มีวัตถุครอบคลุม การเข้าถึงพลังงาน, การเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน และการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยจะยกตัวอย่างกรณีการจัดการไฟฟ้าใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้(ยะลา นราธิวาส ปัตตานี)
ที่ไทยกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำเครือข่ายไฟฟ้าอิสระ
ซึ่งจะใช้เชื้อเพลิงชีวมวลในพื้นที่เป็นหลักผสมผสานกับไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำในเขื่อนบางลาง
จ.ยะลา และไฟฟ้าจากเขื่อนบางลาง
“โครงการอาร์พีเอส
เป็นการดำเนินที่จะรองรับเทคโนโลยีที่ต่อไปเป็นเรื่องการผลิตและใช้ไฟฟ้าเองในพื้นที่
ส่งเสริมพลังงานทดแทน และชาวบ้านยังเข้มแข็งมีรายได้เพิ่มจากการเข้ามาร่วมทุน ซึ่งไม่ใช่เรื่องการแปรรูป กฟภ.และกฟผ. แต่อย่างใด
และเมื่อเป็นบริษัทแล้ว หากดำเนินการขาดทุน ทางภาครัฐจะมีเม็ดเงินสนับสนุนแน่นอน”รมว.พลังงานกล่าว
นายสมชาย อักษรภักดิ์
ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ กฟภ.ภาคใต้ เขต 3 กล่าวว่า กรรมการสหภาพจะหารือวันพรุ่งนี้ เพื่อยกระดับมาตรการเคลื่อนไหวการคัดค้านแนวทางดังกล่าวเนื่องจากยังคงไม่มั่นใจว่าที่สุดแล้วรัฐบาลจะสามารถดูแลผู้ใช้ไฟในพื้นที่ทั้งหมด 5 แสนรายที่ปัจจุบันเป็นลูกค้ากฟภ.ไปสังกัดบริษัท RPS ได้หรือไม่ เพราะ
ที่หลักการของอาร์พีเอสก็ไม่ชัดเจน โดยเบื้องต้นวงเงินจัดตั้งร้อยละ49 จะมาจาก
กฟภ.และกฟผ.และอีกร้อยละ 51 มาจากกองทุนส่งเสริมเพื่อการอนุกรักษ์พลังงาน
และจะถอนตัวออก หลังจากนั้นวิสาหกิจชุมชนจะเข้ามาถือหุ้น–สำนักข่าวไทย