รองนายกฯ ชวนเอกชนพัฒนานวัตกรรมพลิกเศรษฐกิจดิจิทัล

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  26 มี.ค.  -รองนายกฯ ชวนเอกชนร่วมพัฒนานวัตกรรม รองรับ “ไทยแลนด์ 4.0”  ย้ำไทยต้องเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม      


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน CEO Innovation Forum 2018 “Transforming Thailand Towards Science & Technology Frontier” จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลิกโฉมประเทศไทยสู่ก้าวใหม่ของการพัฒนา” ระบุว่า  เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อนำประเทศก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล จึงต้องให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงต้องเน้นปัจัยหลัก คือ 1. การเปลี่ยนจากผู้ตามเทคโนโลยีของประเทศพัฒนาแล้ว  ด้วยการหันมาศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง จากเดิมลอกเลียนแบบมาใช้พัฒนาอุตสาหกรรมและพาณิชย์โดยตลอด เพราะคนรุ่นใหม่ของไทยมีศักยภาพอย่างมาก เช่น การนำศักยภาพด้านเกษตรมาเปลี่ยนผ่านไปสู่ไบโอชีวภาพ 

2. การนำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาปรับใช้ ก้าวผ่านยุคพึ่งพาค่าแรงถูก หวังเงินบาทอ่อนค่า  ที่สำคัญทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมือกันอย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ ผลักดันให้ธุรกิจพึ่งพานวัตกรรม เทคโนโลยี เนื่องจากเศรษกิจยุคใหม่จะอาศัยเอกชนเป็นหลักในการก้าวข้ามไปสู่แพลทฟอร์มใหม่ในการแข่งขันค้าขาย เช่น  การเปลี่ยนรูปแบบวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตด้วย Advanced materials  การพัฒนาคนให้มีทักษะใหม่ตลอดเวลาด้วย Advanced robotics และ AI  การให้บริการของภาครัฐและภาคเอกชนด้วย Mobile internet Cloud technology และ Internet of value  เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉม 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต” โดยในวันที่ 1 พ.ค.นี้ จีน เตรียมเร่ิมนำเทคโนโลยีโซเชียล มาวัดให้คะแนนผลงานชาวจีน จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น กระทำความผิดซ้ำซาก ละเมิดกฎระเบียบบ่อยครั้ง จะถูกแบล็กลิสในการอนุญาต หรือให้การช่วยเหลือจากภาครัฐ ขณะที่คนทำดี ดูแลพ่อแม่ ไม่ทำผิดกฎระเบียบ ผ่อนชำระเงินกู้ต่อเนื่อง คนเหล่านี้จะได้รับการคัดเลือกอันดับแรก เพื่อให้คะแนนบวกหรือลบกับชาวจีน  ทั้งการช่วยเหลือและส่งเสริมด้านต่างๆ   


 “กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ต้องปฏิรูปโครงสร้างการทำขนาดใหญ่รองรับไทยแลนด์ 4.0 เพราะในเดือนเมษายน เป็นช่วงฤดูกายโยกย้าย จึงเป็นโอกาสให้คนรุ่นใหม่ไฟแรงช่วยการผลักดันเศรษฐกิจดิจิตัล อีกทั้งรัฐมนตรีกระทรวงเมติ ของญี่ปุ่น เตรียมเดินทางมายังไทย เพื่อใช้ไทยเป็นฐานตั้งศูนย์การผลิตผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ เพราะไทยเหมาะเป็นศูนย์กลางในการลงทุนภูมิภาคนี้ ขณะนี้หลายประเทศต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ” นายสมคิด กล่าวเพิ่มเติม 

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า  เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในอนาคต กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้เตรียมเร่งการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเพื่อไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมผ่าน 3 แพลตฟอร์มหลัก คือ 1) Bio-Digital Platform ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทึ่มีฐานจากรหัสพันธุกรรมและชีวโมเลกุล และดิจิทัลเดต้า ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ เตรียมโครงการสำคัญรองรับหลายโครงการ อาทิ Bio Bank, Gene Bank, Plant Factory และ Bioinformatics เป็นต้น 2) Cyber-Physical Platform เพื่อเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะมีทั้งระบบการผลิตที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ทางกายภาพ รวมถึงแพลตฟอร์มการทำงาน การซื้อขาย ตลอดจนการให้บริการที่อยู่ในโลกไซเบอร์ควบคู่กันไป โดยมีเทคโนโลยีในที่สำคัญ อาทิ High Performance Computing, Smart Business, Internet of Value and Blockchain และ Data Analytics เป็นต้น 3) Earth-Space Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะครอบคลุมทั้งด้าน Food for the Future, Biomedical, Renewable Energy, Climate Technology, Geo Engineering, การจัดการน้ำและทรัพยากร และภัยพิบัติต่าง ๆ ตลอดจนการจัดการที่เกี่ยวกับดาวเทียมและอวกาศ และอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ เป็นต้น

นายกิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เผยถึง ผลการสำรวจการวิจัยและพัฒนาและกิจกรรมนวัตกรรมในภาคอุตสาหกรรม รอบการสำรวจประจำปี 2560 พบว่า มูลค่าการลงทุนมีมากกว่า 100,000 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 0.78 ของ GDP มาจากภาคเอกชนไทย มูลค่า 80,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 3 ใน 4 ของค่าใช้จ่ายวิจัยและพัฒนาของทั้งประเทศ  นับว่าเพิ่มขึ้นจากรอบการสำรวจประจำปี 59 ถึงร้อยละ 39 นับว่าขยายตัวอย่างก้าวกระโดด  คาดว่าในปี 2561 จะมีมูลค่าการลงทุนถึงร้อยละ 1 ของ GDP หรือประมาณ 160,000 ล้านบาท 


โดยการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนามากสุด  3 อันดับแรก คือ อุตสาหกรรมอาหาร ลงทุนสูงถึง 15,051 ล้านบาท  ผ่านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์  การพัฒนาสูตรอาหารและคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อให้สอดคล้องตามความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคที่ปรับเปลี่ยนไป รองลงมาคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ ลงทุน 11,879 ล้านบาท  เพื่อพัฒนาชิ้นส่วนรถตัวใหม่  และอันดับ 3 คือ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ลงทุน 9,251 ล้านบาท  เช่น สูตรน้ำมันหล่อลื่นใหม่   นอกจากนี้เทคโนโลยียังเปลี่ยนแปลงไปยัง บริการด้านการเงิน บริการไปรษณีย์และโทรคมนาคม ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และร้านของชำ จะถูกนวัตกรรมทางการตลาดเปลี่ยนแปลงมากขึ้น.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

กต.ย้ำมีแผนพร้อมอพยพคนไทยในอิสราเอล-เลบานอน

กต.ประชุมประเมินสถานการณ์อิสราเอล-ฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ย้ำมีแผนอพยพพร้อม เผย 5 แรงงานไทยเตรียมเดินทางกลับ แนะประชาชนตัดสินใจก่อนน่านฟ้าปิด

เตรียมตั้ง 7 เตาไฟฟ้า พิธีพระราชทานเพลิงศพ นร.-ครู 23 คน

เตรียมพื้นที่ตั้ง 7 เตาไฟฟ้า กลางสนามโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นักเรียน-ครู 23 คน เหยื่อไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันที่ 8 ต.ค.นี้

เชียงใหม่ยังอ่วม เจอน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

แม้ระดับน้ำปิงที่ทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่เริ่มลดลง จากที่เคยขึ้นสูงสุดถึง 5.30 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยวัดระดับมา จนทำให้เชียงใหม่เผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ บ้านเรือนหลายพันหลังและย่านการค้ายังจมน้ำ บางจุดยังท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยังต้องเร่งอพยพผู้คนออกจากพื้นที่น้ำท่วม หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในรถที่จอดบนสะพาน

ภาคกลางเริ่มกระทบ น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วมบ้านประชาชน

น้ำเจ้าพระยาล้นข้ามถนนเข้าท่วมบ้านกว่า 30 หลังคาเรือน ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ส่วนชุมชุนริมท่าน้ำปากเกร็ด เริ่มกระทบ