BIG STORY : ข้อมูลย้อนหลังการปนเปื้อนสินค้าอาหารนำเข้าจากไทยไปญี่ปุ่น VS ญี่ปุ่นมาไทย

สำนักข่าวไทย 6 มี.ค.-ย้อนกลับไปดูข้อมูลการกักกันสินค้าอาหารจากไทยที่ส่งออกไปยังญี่ปุ่น พบว่าสินค้าสัตว์น้ำจากไทยพบการปนเปื้อนและปฏิเสธการนำเข้ามูลค่ามากกว่า 40,000 ล้านบาท ขณะที่การนำเข้าสินค้าอาหารจากญี่ปุ่นเข้าไทย ภายหลังเกิดปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ เมื่อปี 2554 ไม่พบการปนเปื้อนใดๆ เลย


ข้อมูลของสถาบันอาหาร องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JETRO รายงานสรุปการกักกันและปฏิเสธการนําเข้าสินค้าอาหารไทยสู่ญี่ปุ่น ล่าสุดที่ทำไว้เมื่อปี 2555 พบว่า ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารไปยังญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 1 รวม 1.43 ล้านตัน มูลค่ารวม 94,531 ล้านบาท โดยกลุ่มสินค้า 5 อันดับแรก คือ กลุ่มสัตว์น้ำราว 176 ล้านตัน มูลค่าส่งออก 40,657 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 43.01 รองลงมาคือ กลุ่มเนื้อสัตว์ที่ 174 ล้านตัน มูลค่า 28,400 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.08 อันดับที่ 3 คือ กลุ่มน้ำตาลและน้ำผึ้ง ร้อยละ 12.70 กลุ่มพืชผัก ร้อยละ 5.23 และกลุ่มผลไม้ ร้อยละ 3.24


ญี่ปุ่นตรวจพบปัญหาด้านสุขอนามัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย Food Sanitation Law ทำให้ถูกกักกันและปฏิเสธการนําเข้า ณ ด่านนําเข้าของประเทศญี่ปุ่น ทั้งสิ้น 88 ครั้ง โดยกลุ่มสัตวน้ำตรวจพบปัญหาสุขอนามัย 21 ครั้ง กลุ่มพืชผักจำนวน 26 ครั้ง กลุ่มข้าวและธัญพืช 29 ครั้ง กลุ่มผลไม้ 6 ครั้ง ส่วนกลุ่มเนื้อสัตว์และน้ำตาล-น้ำผึ้ง ไม่พบปัญหาสุขอนามัยเลย


ทั้งนี้ ปัญหาสุขอนามัยที่พบในอาหารที่นำเข้าจากไทย มีสาเหตุหลักจากการตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนมากที่สุดถึง 65.91% รองลงมาตรวจพบยาฆ่าแมลงตกค้าง และเป็นที่น่าเศร้าว่าจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในสินค้าอาหารไทย ได้แก่ เชื้อรา และแบคทีเรียโคลิฟอร์ม โดยสินค้าประเภทสัตว์น้ำที่ถูกปฏิเสธนำเข้าทั้ง  21 ครั้ง เป็นการตรวจพบเชื้อโคลิฟอร์มปนเปื้อนมากที่สุดรวม 9 ครั้ง

โดยตรวจพบในอาหารทะเลแช่แข็งประเภทกุ้งต้มสุกแช่แข็ง หมึกตัดแต่งแช่แข็ง ปลาหมึกชุบแป้งแช่แข็ง ปูอัดแช่แข็ง รองลงมาเป็นการตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต (Live Bacteria Count) ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจํานวน 8 ครั้ง นอกจากนั้นยังมีการตรวจพบเชื้ออีโคไลในระดับที่เกินค่ามาตรฐานของประเทศญี่ปุ่นเป็นจํานวนรวม 4 ครั้ง

ส่วนกฎหมายไทย นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง ระบุว่าการนำเข้าปลาทุกชนิด เจ้าหน้าที่ด่านตรวจ จะมีการตรวจสอบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของประกาศกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงเก็บตัวอย่างไปตรวจ หากผ่านเกณฑ์มาตรฐานถึงนำเข้าไทยได้ โดยประกาศเรื่องมาตรฐานอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีดังกล่าว กำหนดค่ามาตรฐานสารกัมมันตรังสีปนเปื้อน 3 ชนิด ต้องไม่เกินกำหนด  คือ ไอโอดีน-131 ซีเซียม-134 และซีเซียม-137

รองอธิบดีกรมประมงยืนยันว่า กรณีการนำเข้าปลาตาเดียวและปลาลิ้นหมา ยืนยันว่ามีการนำเข้ามาตลอด ก่อนเกิดปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 โดยการนำเข้ามานี้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานอย่างละเอียดทุกครั้ง เป็นไปตามประกาศกระทรวง ไม่พบการปนเปื้อนแต่อย่างใด 

สำนักข่าวไทยพบว่า สารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วไหลจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น เมื่อปี 2554 นั้น มี 3 ตัวเช่นเดียวกับที่ประกาศของกระทรวง ซึ่ง อย.เน้นการตรวจสินค้าอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นไปที่สารซีเซียม-134 และซีเซียม-137 เพราะกว่าจะเสื่อมสลายตามธรรมชาติต้องใช้เวลาถึง 30 ปี หากเข้าสู่ร่างกายจะกระจายสะสมตามเนื้อเยื่อต่างๆ ทำให้เกิดมะเร็งนั้นๆ ได้ ส่วนไอโอดีน-131 แม้จะสลายได้ใน 8 วัน แต่จะสะสมที่ต่อมไทรอยด์ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้

ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ไม่เชื่อการแถลงข่าวของ อย.และกรมประมง เนื่องจากกรมประมงยอมรับเองว่า ไม่มีการตรวจซ้ำที่ด่าน เป็นการเชื่อข้อมูลใบรับรองจากผู้นำเข้าเท่านั้น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเรียกร้องให้มีการตรวจซ้ำ เพื่อยืนยันความปลอดภัยที่จะมีต่อผู้บริโภคในลอตที่เพิ่งนำเข้า และขอให้เปิดเผยชื่อร้านอาหารทั้ง 12 ร้าน ชะลอการจำหน่ายปลาจนกว่าจะมีการตรวจซ้ำ จากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากทางการไทย

ทั้งนี้ หากไม่มีการตรวจสอบ เครือข่ายผู้บริโภคจะฟ้องเพิกถอนประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องการถ่ายโอนภารกิจให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณตรวจสอบการนำเข้าสินค้า ฉบับวันที่ 15 พ.ค.2559 เพราะก่อนหน้านี้ อย.ตรวจสอบอาหารนำเข้ามาโดยตลอด แต่เมื่อมีการถ่ายโอน กรมประมงกลับอ้างว่าไม่มีหน้าที่กัก หรือตรวจสอบซ้ำ ให้ อย.ไปสุ่มตรวจหลังเข้าสู่ตลาดแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการทำลายมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ผ่านมาเกือบ 2 ปี อย.ไม่เคยมีการประเมินการถ่ายโอนภารกิจครั้งนี้ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งสะท้อนอย่างชัดเจนจากการนำเข้าปลาจากฟูกุชิมะครั้งนี้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า