กทม. 12 ม.ค.-ปาล์มล้นตลาด และในอนาคตรถอีวีก็จะมีมากขึ้น น้ำมันที่ผสมพืชพลังงานจะใช้น้อยลง ภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานวิชาการจึงมีข้อคิดว่าจะพัฒนาพืชพลังงานร่วมทุนทำงานวิจัยในการพัฒนาเพื่ออนาคต
พลาสติก ไม่ว่าจะมาจากสารตั้งต้นที่มาจาก ปิโตรเลียม หรือ พืช ที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเป็นบรรจุภัณฑ์ ส่วนประกอบในบ้าน รถยนต์ หรือนำมาใช้ประทินโฉม ทำความสะอาด แม้แต่การผลิตไบโอดีเซลเอทานอล ก่อนที่จะมาใช้ได้นั้น การผสมผสาน จำเป็นต้องใช้สารเร่งปฏิกริยาและคะตะลิสต์ทั้งสิ้น ปีปีหนึ่งไทยต้องนำเข้าสารเร่งปฏิกริยามูลค่าไม่ใช่น้อยกว่า ๒ หมื่นล้านบาท จึงเป็นที่มาที่ภาครัฐภาคเอกชน และหน่วยงานวิชาการร่วมทุนทำงานวิจัยนวัตกรรรมเทคโนโลยีฐานด้านตัวเร่งปฏิกิกริยาเคมี เพื่อความยั่งยืนนอกจากจะลดการนำเข้าแล้ว ยังเป็นการรองรับเทรนด์รถไฟฟ้าหรืออีวี ที่อาจส่งผลทำให้การใช้น้ำมัน และพืชพลังงานลดน้อยลง งานวิจัยนี้ก็จะต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่มไบโอดีเซลและเอทานอล
ด้านน้ำมันไบโอดีเซลนั้นปัจจุบัน ประเทศไทยมีส่วนผสมตามกฏหมายไม่เกินร้อยละ 7 หรือบี 7 แม้ในแผนงานของกระทรวงพลังงานเป้าหมายอยากจะเพิ่มเป็นบี 10 ในอนาคต เพื่อรองรับผลผลิตปาล์มของไทยที่เพิ่มมากขึ้น แต่ค่ายรถยนต์ยังไม่เห็นด้วย ภาครัฐเตรียมจะนำร่องทดสอบบี 10 ใช้ในรถไฟสายกรุงเทพ -มหาชัยในเร็วๆ นี้
ด้านบางจากสนับสนุนการเพิ่มบี 10 เสนอไอเดียว่าใช้ในช่วงหน้าร้อน แต่ในช่วงอากาศหนาวก็เปลี่ยนมาใช้บี 7 จะได้ไม่มีผลต่อคุณภาพน้ำมัน และมีข้อมูลน่าสนใจว่ามาเลเซีย อินโดนีเซีย 2 เกลอผู้ปลูกปาล์มรายใหญ่เช่นเดียวกับไทย จะเริ่มใช้บี 10 โดยในไทยหากใช้บี 10 ได้ ก็จะมีการใช้น้ำมันปาล์มดิบราว 1 แสน 7 หมื่นตันต่อเดือน เป็นผลดีคือช่วยเกษตรกร แต่หากผลปาล์มแพง เราเราท่านๆ รวมทั้งเกษตรกร ก็จ่ายค่าน้ำมันดีเซลแพงขึ้น.-สำนักข่าวไทย