รมว.พลังงานส่ง กฟผ.-ปตท.ศึกษาข้อมูลนายกฯ ส่งเสริมเสรีพลังงาน

กรุงเทพฯ 8 ม.ค. – รมว.พลังงานส่งข้อมูลพลังงานใน  ครม. 7 พ.ย.60 ไปให้ ปตท.-กฟผ.ศึกษาข้อมูล เพื่อส่งเสริมการแข่งขันด้านพลังงาน เน้นย้ำผลลัพธ์ค่าไฟฟ้าต้องไม่แพงขึ้น เบรคฝัน กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 2 พันเมกะวัตต์ สอดคล้องความเห็นคณะกรรมการปฏิรูปพลังงาน และอาจต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 56 จำเป็นต้องคงสัดส่วนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐมากกว่าร้อยละ 51 หรือไม่


นายศิริ จิรพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ได้ส่งข้อมูลเอกสารด้านพลังงานที่นายกรัฐมนตรีนำมาแจกใน ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 ให้ทาง บมจ.ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แสดงความคิดเห็น บทบาท ผลกระทบ ข้อพิจารณา และการดำเนินการในอนาคตจะทำอย่างไร โดยให้ส่งข้อมูลก่อนที่จะสรุปการจัดทำแผนพัฒนาไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี ) ฉบับใหม่วันที่ 31 มีนาคม 2561 โดยโจทย์สำคัญ คือ ค่าไฟฟ้าตามแผนใหม่จะต้องถูกลงกว่าแผนเดิมที่ค่าไฟฟ้าปลายแผนหรือปี 2579 จะอยู่ที่ 5.50 บาท/หน่วย ขณะที่ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ 3.60 บาท/หน่วย ขณะเดียวกัน สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.ก็ต้องศึกษาว่าเป็นเท่าใด เพราะตามรัฐธรรมนูญมาตรา 56 ไม่ได้กำหนดว่ารัฐ เช่น กฟผ.ต้องมีสัดส่วนผลิตไฟฟ้าร้อยละ 51 แต่อย่างใด เพียงแต่กำหนดเรื่องการถือหุ้นของภาครัฐไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 

“นอกจากกระทรวงพลังงานจะรับฟังความเห็นจาก กฟผ.และ ปตท.แล้ว ยังเปิดรับฟังความเห็นจากภาคประชาชน องค์กรต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงการทำงานในการเปิดเสรีพลังงาน โดยเป้าหมายสุดท้าย คือ ค่าไฟฟ้าตามแผนพีดีพีใหม่จะต้องลดลงกว่าแผนเดิม” นายศิริ กล่าว


นายศิริ กล่าวว่า สำหรับโครงข่ายพลังงานในอนาคตนั้น ยังจำเป็นต้องเป็นของรัฐ เพื่อความมั่นคง โดยท่อก๊าซธรรมชาติจะอยู่ภายใต้ ปตท.และระบบสายส่งไฟฟ้าจะอยู่ภายใต้ กฟผ. อย่างไรก็ตาม จะเปิดให้เอกชนหรือบุคคลที่ 3 เข้ามาใช้บริการภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่จะต้องส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน การผลิตไฟฟ้า การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี ) ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำ ส่งเสริมความสามารถการแข่งขันของประเทศ  ดังนั้น  จะไม่เกิดการผูกขาดโดยภาครัฐหรือเอกชน แต่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  โดยพีดีพีใหม่ให้ศึกษาว่าจะไม่กำหนดสัดส่วนหรือโควตาว่าภาครัฐหรือเอกชนต้องผลิตเท่าใด รวมทั้งจะศึกษาว่าไม่กำหนดสัดส่วนของพลังงานทดแทนได้หรือไม่ จากแผนพีดีพี 2015 ปัจจุบันมีสัดส่วนร้อยละ 20 เพราะในอนาคตจะเปิดเสรีโซลาร์รูฟท็อป โดยปัจจุบันมีพลังงานทดแทนแล้วร้อยละ 12 และมีผลต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าประมาณ 22  สตางค์/หน่วย หากพิจารณาประเด็นนี้ก็คงจะต้องชะลอการเปิดประมูลโครงการวีเอสพีพีเซมิเฟิร์ม 269 เมกะวัตต์ไปก่อนจนกว่าพีดีพีใหม่จะชัดเจน

“ขณะนี้ กฟผ.เสนอก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน  2,000 เมกะวัตต์ แต่ความเห็นของผม คือ ไม่ควรกำหนดโควตาใด ๆ  ใครเสนอราคาแข่งขันได้ดีที่สุดก็ควรจะได้สิทธิ์นั้นไป ส่วนสัดส่วนการกระจายเชื้อเพลิง ว่าต้องมีถ่านหินหรือก๊าซธรรมชาติเป็นสัดส่วนเท่าใดนั้น ก็ให้ดูว่าอะไรเหมาะสมที่สุด ซึ่งต้องพิจารณาว่าถึงปริมาณและราคาเชื้อเพลิง โดยเฉพาะแอลเอ็นจีที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้แพงเหมือนในอดีต” รมว.พลังงานกล่าว 

รมว.พลังงาน ยังกล่าวด้วยว่า ในเรื่องเร่งด่วนที่ตนประกาศไว้ทั้ง 3 เรื่องขณะนี้มีความคืบหน้า  คือ 1.ในส่วนของโรงไฟฟ้าภาคใต้จะสรุปว่าควรดำเนินการอย่างไรใน 2 สัปดาห์นี้ ซึ่งในส่วนของโรงไฟฟ้าถ่านหินก็อาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ในภาคใต้อาจจะไปอยู่ในภาคตะวันออกก็ได้  2.เรื่องการประมูลแหล่งปิโตรเลียมบงกช-เอราวัณจะชัดเจนเรื่องหลักการในเดือนมกราคมนี้ และเปิดทีโออาร์ประมูลเดือนกุมภาพันธ์นี้ และ 3.เรื่องการผลิตไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปเสรีจะมีความชัดเจนกลางปีนี้ 


ด้านนายพรชัย รุจิประภา ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน กล่าวว่า คก.ได้เสนอว่าในส่วนของแผนพีดีดีควรจัดทำใหม่บนสัดส่วนเชื้อเพลิงที่กระจายเหมาะสม ค่าไฟฟ้าต้องไม่แพง ต้องดูถึงการลงทุนระบบสายส่งและระบบส่งให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยภาคประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าเองได้ โดยเฉพาะโซลาร์รูฟท็อปมีระบบไฟฟ้าสำรอง เพราะฉะนั้นระบบส่งก็ต้องรับจากภาคประชาชนได้ เปลี่ยนจากในอดีตที่ส่งไปจำหน่ายเพียงอย่างเดียว ส่วนสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของภาครัฐนั้น จะเป็นหนึ่งในประเด็นที่คณะกรรมการปฏิรูปชุดใหญ่ที่ต้องมาหารือกันว่าควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความมาตรา 56 ว่า หมายความว่าอย่างไร และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศหรือไม่ 

ทั้งนี้ มาตรา 56 ระบุว่า โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจําเป็นต่อ การดํารงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ รัฐจะกระทําด้วยประการใดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนหรือทําให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละ 51 มิได้ การนําสาธารณูปโภคของรัฐไปให้เอกชนดําเนินการทางธุรกิจไม่ว่าด้วยประการใด ๆ รัฐต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างเป็นธรรม โดยคํานึงถึงการลงทุนของรัฐ ประโยชน์ที่รัฐและเอกชนจะได้รับ และค่าบริการที่จะเรียกเก็บจากประชาชนประกอบกัน.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ผู้ว่าฯ กทม. สั่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ครบ 7 วันเหตุแผ่นดินไหว อาคารถล่ม ล่าสุดผู้ว่าฯ กทม. สั่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหาย ใช้เครื่องจักรหนักรื้อถอนทุกโซน เบื้องต้นพบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมอีก 2 ร่าง ยังไม่สามารถนำออกมาได้

เจาะโซน C และ D สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์-บันไดหนีไฟ

กู้ภัย เผยเจาะโซน C และ D ได้สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์และบันไดหนีไฟ เชื่อมีผู้สูญหายติดอยู่โซนนี้จำนวนมาก หลังพบเสียงขอความช่วยเหลือจากโซน B ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา

ลุ้นช่วยผู้รอดชีวิต หลังพบสัญญาณชีพ

ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ขณะนี้ในพื้นที่เสียงเครื่องจักรหนักหยุดลง เป็นสัญญาณว่าทีมกู้ภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ค้นหาและสุนัข K9 กำลังเข้าไปเดินสำรวจหลายจุด ซึ่งปฏิบัติการตลอดทั้งวันนี้เน้นจุดโซน B หลังจากช่วงคืนที่ผ่านมา (2 เม.ย.) มีสัญญาณตอบกลับจากผู้ที่คาดว่าจะรอดชีวิต

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ ชง “ครม.” ผุดมาตรการตรวจสอบ “บ.รับจ้าง” ขึ้นบัญชีดำผู้รับเหมา หวังป้องกันเหตุซ้ำรอยตึก สตง. ถล่ม