fbpx

เริ่มต้นก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย

นครราชสีมา 21 ธ.ค. – ไทย-จีน จับมือเริ่มต้นก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย  มั่นใจเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการปี 2566


พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน  ได้ร่วมพิธีเริ่มการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1  ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา)  ภายใต้แนวคิด “น้ำหนึ่งใจเดียว ทุกเรื่องราบรื่น

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เพื่อให้การดำเนินโครงการรถไฟไทย-จีน เป็นไปอย่างราบรื่น  รัฐบาลได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาและแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ รวมทั้งปฏิรูปกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง เพื่อบริหารจัดการงานวิจัยถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรสำหรับรองรับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางต่อไป  


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่ารัฐบาลปัจจุบันยืนยันผลักดันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน ให้เส้นทางไปถึงหนองคาย เพื่อเชื่อมโยง สปป.ลาว เพื่อให้ในอนาคตไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะไปถึงจุดดังกล่าวได้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐษนระบบคมนาคมขนส่งถือว่ามีความจำเป็น รวมทั้งให้นโยบายหน่วยงานกำกับดูแลว่านอกจากการพัฒนาเส้นทางรถไฟให้มีความทันสมัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนารถไฟของประเทศที่ก่อตั้งถึง 119 ปี การพัฒนาจะต้องดูให้รอบด้านทั้งการพัฒนาพื้นที่ 2 ข้างทางรถไฟ เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งเชิงพาณิชย์และความเป็นอยู่ของประชาชน 2 ข้างทาง โดยภาพรวมรถไฟความเร็วสูงที่เริ่มโครงการวันนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์ตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องยุทธศาสตร์โลกวันเบลท์วันโรด ในอนาคตเส้นทางรถไฟสายนี้จะเชื่อมโยงไม่ใช่ภูมิภาคอาเซียนจะเชื่อมโยง 20 ประเทศและเป็นแรงขับเคลื่อน ทำให้เกิดการเปลี่ยบนเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ไปในทิศทางที่ดี  

หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการพัฒนาภาคการเกษตรด้วยว่า จะมุ่งมั่นทุ่มเททั้งการพัฒนาและช่วยเหลือเกษตรกรให้ครบทุกด้านไม่ว่าการดูแลเมล็ดพันธุ์ในการเพาะปลูก การดูแลแหล่งน้ำ การให้ความรู้ หลังจากนี้จะมีการมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจความต้องการของเกษตรกรทั่วประเทศ และคาดว่าจะใช้เวลา 1-2 ปี เพื่อพัฒนาภาคการเกษตรไทยให้เข้มแข็ง 

ขณะที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าสำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทยจีนนี้ได้มีการแบ่งงานออกแบบ ออกเป็น 14  ตอนเพื่อแบ่งทีมวิศวกรในการออกแบบให้มากขึ้น เชื่อว่าจะทำให้งานออกแบบแล้วเสร็จรวดเร็วมากขึ้นซึ่งเมื่อจีนมีการส่งแบบให้ไทยก็จะเดินหน้าก่อสร้างได้อย่างต่อเนื่องในทุกตอน และมั่นใจว่าสำหรับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพโคราชงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 ก่อนที่จะมีการทดสอบระบบเดินรถและเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการจากประชาชนในปี 2566 


“กระทรวงคมนาคมกำลังพิจารณาว่าจะเร่งรัดให้งานก่อสร้างช่วงจากสถานีบางซื่อไปถึงอยุธยาแล้วเสร็จก่อน 2564 เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเดินทางในเส้นทางดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามจะต้องไปดูรายละเอียดของเนื้องานอีกครั้งว่าจะดำเนินการได้หรือไม่”นายอาคมกล่าว

 การบริหารจัดการการเดินรถในอนาคตนั้นขณะนี้ได้มอบหมายให้นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมไปศึกษารูปแบบในการตั้งบริษัทลูก หรือ หน่วยธุรกิจ (บียู) ของการรถไฟแห่งประเทศไทยมาดำเนินการ ส่วนค่าโดยสารของรถไฟความเร็วสูงที่กำหนดแล้วในขณะนี้ยืนยันว่าเป็นราคาที่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับระบบขนส่งโดยราคาเริ่มต้นจากสถานีบางซื่อมาถึงสถานีดอนเมือง คนละ 105 บาท ,สถานีอยุธยา 195 บาท ,สระบุรี 278 บาท,ปากช่อง 393 บาท และโคราช 535 บาท

สำหรับแนวเส้นทางโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีทั้งสิ้น 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา ระยะทางรวม 252.3 กิโลเมตร  เป็นทางยกระดับ 181.9 กิโลเมตร ทางระดับพื้น 64.0 กิโลเมตร เป็นอุโมงค์ 6.4 กิโลเมตร ด้านการก่อสร้างโครงการรถไฟไทย-จีน จะใช้ระบบเทคโนโลยีของจีนโดยแบ่งงานเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายไทย รับภาระการลงทุนโครงการทั้งหมด และดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา และควบคุมการก่อสร้างงานโยธา ออกแบบและก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง ระบบอาณัติสัญญาณ และระบบควบคุมการเดินรถ โดยคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2564 ส่วนรูปแบบรถไฟที่ใช้ในโครงการจะเลือกใช้รุ่น FUXINGHAO ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นล่าสุดของจีน สามารถใช้ความเร็วสูงสุดในการเดินรถได้ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 1.30 ชั่วโมง – สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นายกตรวจน้ำท่วมเชียงราย

นายกฯ บินเชียงราย ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม

“นายกฯ แพทองธาร” ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม เตรียมมอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบภัยในพื้นที่ จ.เชียงราย พร้อมตรวจเยี่ยมการลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือของกองทัพ

ชิงทองระนอง68บาท

รวบแล้วโจรชิงทอง 68 บาท กลางห้างดังระนอง

รวบแล้ว 2 คนร้ายชายหญิง จี้ชิงทอง 68 บาท ในห้างดังกลางเมืองระนอง ฝ่ายชายรับสารภาพ ชีวิตตกต่ำ ไม่มีรายได้ จึงชวนหลานสาววัย 16 ปี มาร่วมก่อเหตุชิงทอง

น้องชายรัวยิงพี่สาวตายกลางงานศพแม่ อ้างฉุนไม่ให้ร่วมจัดงานศพ

น้องชายชักปืนรัวยิงพี่สาวเสียชีวิตกลางงานศพแม่ ภายหลังน้องชายเข้ามอบตัวกับตำรวจ อ้างเหตุผลฆ่าเพราะโมโห รู้สึกว่าพี่สาวใจดำมากที่กีดกันไม่ให้ตนช่วยจัดงานศพแม่

บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ

เจ้าหน้าที่ อย. ร่วมสืบนครบาล บุกทลายโรงงานผลิตยาเถื่อน ย่านทุ่งครุ มีเบาะแสต้นตอการทะลักของยาเขียวเหลือง ตะลึงพบซากจิ้งจกตายในหม้อต้ม ขณะที่เจ้าของโรงงานยันประกอบอาชีพโดยสุจริต

ข่าวแนะนำ

ชายแดนแม่สายยังเละจมโคลน จับตาพายุลูกใหม่

แม้จะผ่านน้ำท่วมใหญ่ในรอบร้อยปีมาหลายวันแล้ว แต่ตอนนี้ชายแดนแม่สายยังเต็มไปด้วยความเสียหายและดินโคลนจำนวนมาก ชาวบ้านหลายคนยังไม่สมารถกลับเข้าบ้านได้

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

นายกฯ ตรวจความพร้อมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค การซ้อมเป็นรูปขบวนเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 7 ณ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขณะที่ “เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ” ให้กำลังใจทำหน้าที่ได้เต็มที่-ประสบความสำเร็จ

พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนตกหนัก 76 จังหวัด 19-23 ก.ย.

พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว คาดขึ้นฝั่งเวียดนามคืนนี้ หัวพายุส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีฝนแล้ว ช่วงระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย.67 มีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักถึงหนักมาก 76 จังหวัด