สำรวจพบประชาชนนึกถึง ขรก.มาที่สุดเมื่อเป็นเรื่องทุจริต

กรุงเทพฯ 9 ธ.ค.- กรุงเทพโพลล์สำรวจพบ ประชาชนจะนึกถึงข้าราชการ เมื่อถามถึงเรื่องทุจริตคอรัปชั่น ระบุ  ปัญหาการติดสินบนเป็นการทุจริตที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ยังแก้ไขไม่ได้ ชี้ โทษไม่เด็ดขาดพอ และอยากให้เอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษอย่างจริงจัง   


กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ปัญหาคอร์รัปชั่นในมุมมองคนไทย” เนื่อง วันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล 9 ธันวาคม  เก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,205 คน พบว่า เมื่อพูดถึงการทุจริตคอร์รัปชั่น ประชาชนร้อยละ 30.7 นึกถึงข้าราชการ หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ มากที่สุด รองลงมาคือ นักการเมือง  ร้อยละ 23.3  และการจ่ายเงินใต้โต๊ะ ติดสินบน ร้อยละ 11.4  

เมื่อถามว่า ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นใดที่เกิดขึ้นซ้ำๆ และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 78.7  คือ ปัญหาการติดสินบน การจ่ายใต้โต๊ะ รองลงมา ร้อยละ 57.5 คือ ปัญหาการฮั้วประมูลในโครงการต่างๆ ของภาครัฐ และร้อยละ 51.1  คือ ปัญหาเกี่ยวกับระบบข้าราชการ


สำหรับสาเหตุที่ทำให้สังคมไทยยังคงมีการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.3 เห็นว่า โทษการเอาผิดผู้ทุจริตคอร์รัปชั่นไม่เด็ดขาด รุนแรง รองลงมา ร้อยละ 52.1 เห็นว่า ระบบราชการยังเหมือนเดิมเปิดโอกาสให้เอื้อทุจริตคอร์รัปชั่น และร้อยละ 49.3 เห็นว่า กฎหมายมีช่องโหว่ล้าสมัย

เมื่อถามว่า ในมุมมองของท่านอยากให้รัฐบาลแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างไร  พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.9 อยากให้เอาผิดและลงโทษผู้ทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง รองลงมา ร้อยละ 45.3 อยากให้ปลูกฝังค่านิยมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น  และร้อยละ 37.8 อยากให้ปลูกฝังค่านิยมด้านการประกอบอาชีพสุจริต

เมื่อถามว่า คิดว่าการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาลในปัจจุบันเป็นอย่างไร ประชาชน ร้อยละ 44.9 เห็นว่าแก้ปัญหาได้บ้าง แต่ก็กลับมาคอร์รัปชั่นแบบเดิมอีก ขณะที่ ร้อยละ 43.4 เห็นว่า ไม่มีมาตรการแก้ปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง มีคอร์รัปชั่นเหมือนเดิม ส่วนร้อยละ 11.7 เห็นว่า แก้ปัญหาจนการคอร์รัปชั่นลดลงอย่างเห็นได้ชัด


 เมื่อถามว่า บทเรียนจากคดีทุจริตจำนำข้าว จะเป็นตัวอย่างทำให้นักการเมืองไม่ทุจริตคอร์รัปชั่นได้มากน้อยเพียงใด  ร้อยละ 50.3 เห็นว่าทำได้ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ ร้อยละ 49.7 เห็นว่า ทำได้ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด        .- สำนักข่าวไทย        

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ใบประกอบวิชาชีพครู

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู”

เตือนคุณครูเปิดเทอมนี้ ต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” แนะรีบต่ออายุใบอนุญาต หลังคุรุสภาออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล

เริ่ม 1 พ.ค.นี้ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้าไทย ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล หรือ TDAC ล่วงหน้า อย่างน้อย 3 วันก่อนเดินทาง ตามกฎใหม่ ตม.

พีชเรียกอาต่าย

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” โอ้อวดเรียก “อาต่าย” ลั่นไม่ใช่ญาติ

ผบ.ตร.ไม่ปลื้ม “พีช” คู่กรณีรถกระบะ โอ้อวดเรียก “อาต่าย” รู้จักคนในรัฐบาล หวังผลคดี ลั่นไม่ใช่ญาติ สอนลูกเสมออย่าทำตัวเป็นขยะสังคม บอกประชาชนใช้วิจารณญาณเลือกตั้ง

“นายกเบี้ยว” ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้-ดูแลลุงคู่กรณี

“นายกเบี้ยว” รับจบแทนลูก ยอมรับลูกขับรถหวาดเสียว พร้อมชดใช้ ดูแลลุงคู่กรณี ระบุสอนลูกไม่ดี ไม่มีเวลาให้ลูก ปฏิเสธไม่สนิทกับ ผบ.ตร. อย่าเอาท่านมาแปดเปื้อน ส่วนที่ลูกชายยังไม่ไปเยี่ยมลุงคู่กรณี เนื่องจากกลัวโดนถูกโวยวาย

ข่าวแนะนำ

ปล่องลิฟต์ตึกถล่ม

กทม.เดินหน้าเจาะปล่องลิฟต์ ค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.

ผู้ว่าฯ กทม. เผยปฏิการค้นหาร่างผู้สูญหายจากเหตุตึก สตง.ถล่ม วันนี้เน้นเจาะปล่องลิฟต์-บันไดหนีไฟ หลังวานนี้ (18 เม.ย.) พบผู้เสียชีวิตในจุดดังกล่าวเพิ่มอีก 6 ราย ยืนยัน กทม. ให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานในการเข้า เก็บพยานหลักฐาน เพื่อหาตัวผู้รับผิดชอบกับเหตุการณ์ดังกล่าว