สำนักข่าวไทย 4 ธ.ค.- แพทย์ เผย 4 โรค ได้แก่ ลมชัก ,หัวใจ ,ผ่าสมองและเบาหวานชนืดฉีดอินซูลิน ต่อไป ห้ามขับขี่เด็ดขาด เตรียมหารือร่วมกรมขนส่งทางบก ขณะที่ โรคลมชัก แค่ 2 นาที เปลี่ยนชีวิต
นพ.อุดม ภู่วโรดม ผอ.สถาบันประสาทวิทยา กล่าวถึงโรคลมชัก ว่า โรคลมชัก ถือ ว่าเป็นความผิดปกติทางสมอง ซึ่งมีตั้งแต่แต่ สมองอาจมีก้อนเนื้อ หรือ สมองได้รับบาดเจ็บ หลอดเลือดสมองผิดปกติ ผู้ป่วยสามารถแสดงอาการชักได้ โดยไม่มีสัญญาณล่วงหน้า และไม่มีระยะเวลาเรื่องอายุในการสิ้นสุดพฤติกรรมการเกิดลมชัก สามารถเป็นได้ตั้งแต่เด็ก จนถึงผู้สูงอายุ อันตรายของโรคลมชัก สามารถเกิดได้ทั้งกับ ตนเอง และคนรอบข้าง โดยอาการชักจะเกิดขึ้นเพียงแค่ 2 – 5 นาที แต่ในช่วงเวลานี้ จะเกิดอันตรายมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม หากมีอาการชัก ตามลำพัง จะทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง เช่น หัวพาดพื้นล้ม ได้รับบาดเจ็บ ส่วนคนรอบข้างอาจได้รับผลกระทบ หากผู้ที่มีอาการ กำลังขับขี่ยานพาหนะอยู่ ได้รับอันตรายได้
นพ.อุดม กล่าวว่า ทั้งนี้โรคลมชัก ถือว่า เป็นโรคที่ต้องรับประทานยากันชักต่อเนื่อง และห้ามขับขี่ จนกว่าจะไม่แสดงอาการตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นไป สำหรับการช่วยพูดที่เกิดอาการชัก ไม่ควรทำการ งัด ง้าง ถาง กด ผู้ป่วยเด็ดขาด ควร จับให้นอนท่าตะแคง และช่วยเหลืออยู่ห่างๆ เพื่อไม่ได้ศีรษะได้รับความกระทบกระเทือนจากสิ่งของ ส่วนจะรู้หรือไม่ว่า คนขับขี่ที่ก่อเหตุที่พัทยา ป่วย โรคลมชักหรือไม่ สามารถหากหลักฐานได้ทางการแพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยโรคลมชักต้องมีประวัติการรักษา
นพ.ดิเรก ขำแป้น ผอ.สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ กรมการขนส่งทางบก และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เตรียมยกร่าง การจัดทำใบอนุญาตขับขี่ใหม่ ในผู้ใช้รถใช้ถนนใหม่ โดย 4 โรคหลัก อาจเข้าข่ายไม่ได้รับอนุญาตขับขี่ ประกอบด้วย โรคลมชัก ,การผ่าตัดสมอง,โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน ที่ต้องฉีดอินซูลิน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน เพราะได้รับอันตรายกับตัวเองจากโรค ทั้งการหมดสติ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือ อาจก่ออันตรายกับผู้อื่น เพราะในการขับขี่จำต้องใช้ประสาทสัมผัสหลายอย่าง ทั้งสติ กำลังแขนขา การตัดสินใจ หากร่างกายไม่พร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ ก็จะได้รับอันตรายได้
นพ.ดิเรก กล่าวว่าที่ผ่านมา มี 9 โรค ที่ต้องควรระวังในการขับ ได้แก่ 1. โรคทางสายตา คนที่มีปัญหาอาจทำให้การมองเห็นเป็นไปอย่างลำบาก 2.โรคสมอง บางคนอาจเป็นไม่มาก แต่มีการหลงลืมเส้นทาง ก็อาจได้รับอันตราย และอาจมีผลต่อการตัดสินใจ เนื่องจากไม่มีสมาธิ 3. หลอดเลือดสมอง มีปัญหาต่อกำลังแขนขาทำให้อ่อนแรง 4.พาร์กินสัน การสั่นตลอดเวลา มีผลการขับขี่ 5. ลมชัก หากเกิดอาการ จะควบคุมร่างกายไม่ได้ หรือสูญเสียการควบคุมรถยนต์ 6. โรคไขข้อเสื่อม มีผลทำให้นั่งรถนานไม่ได้ 7. โรคหัวใจ ทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หากเกิดความเครียดจากการขับรถ ก็ส่งผลเกิดอันตรายได้ เช่น หมดสติ 8. เบาหวาน ชนิด ที่ฉีดอินซูลิน เพราะง่ายต่อการหมดสติ หากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ 9. การรับประทานยาบางชนิด ที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม .-สำนักข่าวไทย