การประชุม AMER จบลงอย่างสวยงาม

กรุงเทพฯ 2 พ.ย. –   ผู้นำจากชาติผู้ผลิตและผู้บริโภคพลังงานใน  และองค์การระหว่างประเทศชั้นนำ 11 องค์การ แลกเปลี่ยนความเห็นอย่างกว้างขวางในการประชุม AMER ครั้งที่ 7  


การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย ครั้งที่ 7 ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ โดยมีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นเจ้าภาพร่วม เป็นการรวมตัวกันของรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย และผู้บริหารองค์การระหว่างประเทศ เพื่อมาหารือภายใต้หัวข้อ “Global Energy Markets in Transition: From Vision to Action” ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2560

ทั้งนี้ ผู้แทนจากประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคพลังงานในเอเชีย รวม 24 ประเทศ และองค์การระหว่างประเทศชั้นนำ 11 องค์การ ได้ประสบความสำเร็จร่วมกันในการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย ครั้งที่ 7 โดยได้มีการอภิปรายที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับทิศทางของตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวามถึงผลกระทบของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะมีผลการอนาคตภาคพลังงานในเอเชีย


พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีของไทย ได้กล่าวในช่วงพิธีเปิดการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย ครั้งที่ 7 ในนามของเจ้าภาพว่า “เอเชียจะเป็นภูมิภาคที่บริโภคพลังงานมากที่สุด และในขณะเดียวกันก็มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในปริมาณมาก ซึ่งทำให้เอเชียมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อตลาดพลังงาน”

พล.อ. อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของไทย ได้ให้หยิบยกประเด็นสำคัญในฐานะของประเทศเจ้าภาพว่า “ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประเทศได้ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่มีคุณค่า ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถของประเทศไทย ในการนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ”

KhalidAl-Falih รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อุตสาหกรรม และทรัพยากรแร่ของซาอุดิอาระเบีย และประธานการประชุม OPEC ได้กล่าวถึงข้อห่วงใยเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงด้านพลังงานของเอเชีย ซึ่งมีความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่ากลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมแล้ว ซึ่งหากไม่มีการลงทุนเพิ่มเติมก็อาจมีผลต่อความมั่นคงทางพลังงานได้ นอกจากนี้ ยังได้กล่าวว่า “แนวทางในการพัฒนาภาคพลังงานในอนาคตต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและมีความเสี่ยงน้อย และจะต้องคำนึงถึงการลงทุนเพิ่มเติมในเรื่องของเทคโนโลยีพลังงานทางเลือก ที่มีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย  นอกจากนี้ ได้กล่าวว่า การดำเนินการตามข้อตกลงร่วมกันของประเทศผู้ผลิตน้ำมันทั้งในและนอกกลุ่ม OPEC ยังเป็นไปได้ด้วยดี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้เกิดเสถียรภาพในตลาดน้ำมัน


H.E. Sun Xiansheng เลขาธิการของ IEF ได้กล่าวว่า การขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติ ต้องอาศัยการมีความร่วมมือด้านนโยบายและเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง เพื่อทำให้ภาคอุตสาหกรรมพลังงานมีประสิทธิภาพ และเป็นตลาดพลังงานที่สำคัญของเอเชีย การหารือร่วมกันของรัฐมนตรีเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัจจุบันและเทคโนโลยีใหม่ในครั้งนี้ จะเป็นการขยายโอกาสการเข้าถึงพลังงาน ราคาที่เหมาะสม เติบโต และมีสมดุลพลังงานที่สะอาด มีประสิทธิภาพ และมั่นคงมากขึ้นทั่วโลก

H.E. Shri Dharmendra Pradhan, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติของประเทศอินเดียและประธานคณะกรรมการบริหารองค์การพลังงานสากล กล่าวว่า 18 ประเทศ ในกลุ่มประเทศสมาชิกของ G20 นั้น ยังเป็นสมาชิกองค์การพลังงานสากล ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์การพลังงานสากลต้องแสดงบทบาทที่โดดเด่นในการร่วมมือกับกลุ่มประเทศสมาชิกของ G20

H.E. Shamshad Akhtar, รองเลขาธิการและเลขาธิการบริหาร สหประชาชาติ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียแปซิฟิก เน้นว่า เอเชียแปซิฟิกสามารถลดความเข้มการใช้พลังงานไปได้มากกว่า ร้อยละ 40 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ซึ่งแซงหน้าภูมิภาคอื่นในโลก และกล่าวว่าการตัดสินใจในวันนี้ในเรื่องของการลงทุนด้านพลังงานในประเทศต่างๆ เช่นประเทศไทยนั้น จะสามารถบ่งบอกได้ว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานของโลกนั้นจะเร็วพอที่จะมีพลังงานใช้ได้อย่างยั่งยืนภายในปี พ.ศ. 2573 จะเป็นไปได้หรือไม่

H.E. Dr Mohammad Al Sada รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและอุตสาหกรรมของประเทศกาตาร์ และประธานการจัดประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานครั้งที่ 6 เมื่อปี 2015 กล่าวว่า ความท้าทายของธุรกิจ LNG ในวันนี้คือการหาจุดสมดุลระหว่างความต้องการของกลุ่มผู้ซื้อซึ่งก็คือตลาดที่มีการแข่งขันและความความยืดหยุ่น และความต้องการของกลุ่มผู้ผลิต ซึ่งก็คือ การกระแสเงินสดที่ดีจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

Suhail Mohamed Al Mazrouei รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและอุตสาหกรรม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประธานร่วมในการจัดประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย ครั้งที่ 7 และจะเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมครั้งต่อไปในปี 2019 ได้กล่าวว่า “การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชียเป็นเวทีสำหรับกลุ่มประเทศเอเชีย จะเป็นโอกาสในการหารือกันอย่างเปิดเผยในเวทีที่เป็นกลางซึ่งจัดโดย IEF เกี่ยวกับพัฒนาการด้านพลังงาน และการสร้างความร่วมมือระหว่างกันเพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความยั่งยืนมากขึ้น 

ด้วยแนวโน้มที่ดีขึ้นของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโลก การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย ครั้งที่ 7 ในช่วงการประชุมร่วม ได้ให้ความสำคัญกับพัฒนาการด้านตลาดน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ พลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยี และได้ข้อสรุปร่วมกัน ดังนี้

1. บรรดารัฐมนตรีให้ข้อสังเกตว่าเอเชียเป็นจุดสำคัญของทั้งโลกในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่มั่นคง มีราคาที่เหมาะสม และเท่าเทียมกัน การเจริญเติบโตของความต้องการและน้ำหนักทางด้านภูมิเศรษฐศาสตร์ของเอเชียในโดยรวม จะช่วยลดความผันผวนในตลาดโลก และกำหนดทิศทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลก

2. การสร้างความแข็งแรงด้านการลงทุนร่วมกันทั้งในเทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมในทวีปเอเชียจะเป็นตัวอย่างให้แก่ภูมิภาคอื่นในการดำเนินรอยตามในการสร้างความมั่นคงและการเข้าถึงพลังงาน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ตลาดพลังงานที่สุขภาพดีและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

3. บรรดารัฐมนตรีมีความยินดีต่อการประชุมหารือที่ได้รับการสนับสนุนโดย IEF เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานตามแต่ละเส้นทางการเปลี่ยนผ่านต่างๆ ผ่านตลาดพลังงานที่ดำเนินการได้เป็นอย่างดี เปิดเผย มีการแข่งขัน มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือ การค้า และการลงทุนทั่วภูมิภาคเพื่อ

การสร้างการเข้าถึงพลังงานให้กับผู้คนเพื่อให้มีมาตรฐานชีวิตที่สูงขึ้นและดีขึ้น

การสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดของเสียเกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานด้านพลังงาน

การเพิ่มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG)

การดำเนินการในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามข้อตกลงปารีส

4. บรรดารัฐมนตรีตระหนักว่าการลงทุนในภาคพลังงานในด้านพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีก้าวกระโดดจะยังคงดำเนินต่อไป ในขณะที่การลงทุนในแหล่งพลังงานที่มีอยู่แล้วและในการบูรณาการด้านโครงข่ายด้านพลังงาน ซึ่งเป็นสัดส่วนใหญ่ของการเติบโตของความต้องการและความสมดุลทางตลาดนั้นอยู่ในช่วงถดถอยลง

5. บรรดารัฐมนตรียังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างการเจรจาหารือในเวทีด้านพลังงานระดับสากลที่เปิดกว้างและเป็นกลาง โดยมีความร่วมมือที่ใกล้ชิดกับองค์การระหว่างประเทศ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับประกันการลงทุนในพลังงานฟอสซิล พลังงานหมุนเวียน และพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อให้เกิดการส่งเสริมกันในตลาดพลังงานที่บูรณาการและมีความยืดหยุ่น

6. เพื่อก่อให้เกิดการลงทุนในระยะยาวที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนผันของรูปแบบความต้องการใช้และการจัดหา บรรดารัฐมนตรีให้มีการเปิดตลาดเพื่อรองรับเทคโนโลยีและแนวนโยบายการเปลี่ยนผ่านใหม่ๆ ควบคู่ไปกับการหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาด นักลงทุนอุตสาหกรรม และสถาบันทางการเงิน เพื่อใช้โอกาสใหม่ๆได้อย่างเต็มที่ และลดความเสี่ยงจากการลงทุนที่มีอยู่เดิม

7. บรรดารัฐมนตรีส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันพัฒนากรอบความร่วมมือที่บูรณาการในระดับสากลเพื่อเร่งให้เกิดผลจากการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดทั่วทุกภาคส่วนของภาคพลังงาน และใช้กรอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ IEF พร้อมกับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดขององค์การต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และเวทีด้านธรรมาภิบาลในเอเชีย รวมถึงองค์การระหว่างประเทศ ในโครงการ G20 Energy Efficiency Leading Programme ภายใต้การรับรองจากการประชุม G20 ที่ประเทศจีนเป็นประธาน ในปี พ.ศ.2559 และข้อตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มการผลิตประสิทธิภาพการพลังงานในเอเชีย รวมทั้งระดับโลก – สำนักข่าวไทย 

 

 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

กระบะชนต้นไม้

สังเวย 7 ศพ กระบะหักหลบรถรับ-ส่งนักเรียน พุ่งชนต้นไม้

รถกระบะเสียหลักจะชนรถตู้รับ-ส่งนักเรียน คนขับตัดสินใจหักหลบ ทำให้รถพุ่งชนต้นไม้ เสียชีวิต 7 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 4 คน

สลด! รถทัวร์พาผู้โดยสารกลับจากเที่ยวเบตง ชนต้นไม้ ดับ 8 ราย

รถทัวร์พาผู้โดยสารกลับจากเที่ยว อ.เบตง จ.ยะลา เสียหลักไถลลงร่องกลางถนนชนต้นไม้บนถนนสาย 41 อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เบื้องต้นเสียชีวิต 8 ราย บาดเจ็บจำนวนมาก

ตักบาตรปีใหม่

ปชช.ร่วมตักบาตรวันปีใหม่ 2568 เพื่อความเป็นสิริมงคล

ประชาชนร่วมกิจกรรมตักบาตร​ รับปีใหม่ 2568 เนืองแน่น​ “สุดาวรรณ” เผยตัวเลขสวดมนต์ข้ามปี กว่า 12 ล้านคน พร้อมเชิญชวนสักการะพระเขี้ยวแก้ว ถึง 14 ก.พ.นี้

ข่าวแนะนำ

เมืองพัทยาเอาจริง เร่งจัดการผู้ลักลอบจุดพลุชายหาด

เมืองพัทยาสั่งแล้ว เร่งจัดการผู้ลักลอบจุดพลุบนชายหาด หลังเกิดเหตุพลุล้ม วิ่งไประเบิดใส่เด็กบาดเจ็บทั่วร่าง ในคืนเคานท์ดาวน์

SET ปิดตลาดซื้อขายวันแรกปี 68 ร่วงลง 20.36 จุด

ดัชนี SET วันแรกของการซื้อขายปี 2568 ปิดที่ 1,379.85 จุด ปรับตัวลดลง 20.36 จุด หรือ 1.45% มูลค่าการซื้อขาย 36,852.83 ล้านบาท ตลาดกังวลนโยบายการค้าระหว่างประเทศ-นโยบายภาษี

สั่งตรวจสอบถนนจุดเกิดเหตุรถทัวร์คว่ำ-กระบะชนต้นไม้

ผู้ว่าฯ สุราษฎร์ฯ สั่งตรวจสอบถนนจุดเกิดเหตุรถทัวร์พลิกคว่ำและกระบะหักหลบรถตู้รับส่งนักเรียนชนต้นไม้ หลังพบเป็นถนนตัดใหม่ การก่อสร้างยังไม่เสร็จสมบูรณ์

บขส.โคราชแน่น คนแห่เข้ากรุง หลังฉลองปีใหม่

บขส.โคราชแน่นต่อเนื่อง แห่ซื้อตั๋วรถโดยสารกลับกรุงเทพฯ คึกคัก ขณะที่ขนส่งจังหวัดฯ ตรวจสารเสพติดพนักงานขับรถเข้ม ป้องกันอุบัติเหตุ