กรุงเทพฯ 2 พ.ย. – ซาอุดีอาระเบียและยูเออี พร้อมร่วมมือไทยสำหรับการลงทุนในอนาคต ยูเออีรอเวลาเปิดประมูลแหล่งบงกช-เอราวัณ และประสานเสียงเสนอโอเปกขยายเวลาลดกำลังผลิตน้ำมัน
ในระหว่างร่วมการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชีย หรือ AMER ครั้งที่ 7 ในประเทศไทย สมากชิกกลุ่มโอเปก ทั้งซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ ยูเออี มีการหารือร่วมทวิภาคีกับ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงานของไทย
นายซูฮาอิล อัล มาซโรอี รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ( H.E. Suhail Al Mazrouei Minister of Energy ) กล่าว่า สนใจที่จะลงทุนในไทยทั้งในด้านธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและขั้นปลายอัพ โดยสนใจเข้าร่วมประมูลแหล่งบงกชเอราวัณ และมองหาโอกาสร่วมทุนในโรงกลั่น โดยประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญมากมาก ยูเออีพร้อมพัฒนาความสัมพันธ์ด้านพลังงานไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ และมีการหารือระหว่างบริษัทน้ำมันแห่งชาติของยูเออี และบมจ. ปตท.ที่จะส่งน้ำมันมาถึงในไทยมากขึ้น
“ ปัจจุบัน บริษัทมูบาดาลา บริษัทของรัฐบาลยูเออี มีการลงทุนในไทย และพร้อมจะขยายการลงทุนในเมืองไทย ส่วนการจัดประชุมAMER7 นั้นขอขอบคุณผู้จัดงานในครั้งนี้ ที่จัดการประชุมได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยประเด็นที่น่าสนใจหลากหลาย ที่จะเป็นประโยชน์ต่อแวดวงพลังงานโลกในอนาคต โดยทางยูเออีก็ตั้งใจอย่างยิ่งที่จะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความคิดเห็นร่วมกับรัฐบาล ผู้ผลิต และผู้ค้าน้ำมันจากชาติเอเชียอื่นๆ”รมว.ยูเออีกล่าว
รมว.ยูเออี ยัง มองว่าการขยายเวลาลดกำลังผลิตระหว่างกลุ่มโอเปกและนอกโอเปกที่ 1.8 ล้านบาร์เรล/วัน ที่สิ้นสุดเดือนมีนาคมปีหน้า
มีความเหมาะสมและจะเสนอให้ขยายเวลาในการประชุมร่วมระหว่างกลุ่มโอเปกและนอกโอเปก 30 พ.ย. เพราะที่ผ่านมาความร่วมมือสามารถลดสอกน้ำมันที่ล้นความต้องการจากปริมาณเฉลี่ยในระยะ 5 ปี ให้ต่ำกว่า 160 ล้านบาร์เรล จากเดิมที่เกินมาถึง 340 ล้านบาร์เรล
นายคาลิด อัล-ฟาลิห์ รัฐมนตรีพลังงานอุตสาหกรรมและ ทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศซาอุดีอาระเบีย และประธานกลุ่มโอเปก(H.E. Khalid Al Falih Minister of Energy, Industry and Mineral Resources)มองว่าการใช้น้ำมันของโลกในปี ค.ศ.2050 ขยายตัวเนื่อง โดยจะไปอยู่ที่ 120 ล้านบาร์เรล/วัน โดยซาอุฯ ยังเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ มีสำรองน้ำมันเพียงพอป้อนความต้องการของโลก ซึ่งกลุ่มโอเปกและนอกโอเปก ควรจะขยายเวลาลดกำลังผลิตต่อเนื่อง เนื่องจากที่ผ่านมายังทำได้ไม่ตามเป้าหมาย เพื่อเป็นการพยุงราคาที่ เหมาะสม และเพื่อให้เกิดการกลับมาลงทุนในธุรกิจพลังงาน
รมว.พลังงานซาอุฯมองว่า ในแถบเอเชีย ยังเติบโตสูงตามการขยายตัวของประชากรที่เติบโตขึ้นมองว่า การใช้พลังงานในอนาคต ควรจะขยายตัวแบบสมดุลย์ ทั้งน้ำมัน,ก๊าซธรรมชาติและ พลังงานทดแทน แม้ที่ผ่านมาแม้ความต้องการน้ำมันจะเพิ่มขึ้นแล็กน้อย หรือไม่แข็งแรง แต่ในอนาคตจะกลับมาเติบโตแบบปกติ
“ถ้าพลังงานทดแทนเกิดแล้วทำให้ผู้ผลิตน้ำมันลำบาก ก็ควรสร้างความสมดุล และวิสัยทัศน์ ของซาอุดิฯในปี ค.ศ. 2030 พยายามลงทุนด้านนวัตกรรม และพลังงานทดแทน รวมถึงนิวเคลียร์ให้มากขึ้น ซึ่งไทยมีศักยภาพด้านพลังงานทดแทน ดังนั้น จึงเชื่อมั่นว่าจะมีความร่วมมือกันได้มากขึ้น”รมว.พลังงานซาอุฯกล่าว
ในระหว่างการประชุมAMER7 รมว.พลังงานซาอุฯ กล่าวว่า ความต้องการใช้พลังงานของโลกในอนาคตยังโตต่อเนื่อง สร้างสมดุลย์ระหว่างความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ ปิโตรเลียมเอเชียปัจจุบันยังมาจากพลังงานฟอสซิล ร้อยละ 85 แต่ขณะนี้ประสบปัญหาสภาพการลงทุนที่ยากลำบากนโยบายภาครัฐไม่เอื้อ ในขณะที่สถาบันการเงินสนับสนุนการลงทุนลดน้อยลง ส่งผลต่ออุตสาหกรรมประเภทนี้ แผนการลงทุนเฉพาะในส่วนน้ำมันอย่างเดียวได้รับผลกระทบหนัก ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำมันของโลกก็ยังคงขยายตัวประมาณ 1.0-1.5 ล้านบาร์เรล/วันทุกปี หากเป็นเช่นนี้ต่อไป ก็น่าส่งผลใ้ห้น่ากังวล ถึงความมั่นคงพลังงานของประเทศในเอเชียที่มีความต้องการพลังงานมากขึ้นเพิ่มมากขึ้นกว่าประเทศอุตสาหกรรมเสียอีก โดยเมื่อกลางปี 2560 เห็นสัญญาณการขยายตัวของความต้องการใช้น้ำมันที่เติบโตอย่างเข้มแข็ง ความสมดุลย์ของการผลิตและความต้องการยังคงตึงตัว น้ำมันในสตอกก็ยังลดลดลงตอ่เนื่อง ในขณะเดียวกัน กลุ่มโอเปกและนอกโอเปกทำตามข้อตกลงอย่างดีเยี่ยม เพื่อให้เกิดเสถียรภาพของตลาด -สำนักข่าวไทย