เรียกร้องแก้ กม.ให้เกิดความเสมอภาค หลากหลายทางเพศ

มสธ.23 ส.ค.-วงเสวนา เสนอแก้ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ความเสมอภาคในการสมรส เหตุรับรองสิทธิเฉพาะหญิงชาย ไม่มีความหลากหลายทางเพศ ผลวิจัยพบคนกลุ่มนี้ไม่ได้รับศักดิ์ศรีฐานะคู่สมรสเข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการ-รับมรดก-ทำนิติกรรม-ตัดสินใจรักษาพยาบาล



าขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  (มสธ.) ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย จัดเวทีเสวนา  “สิทธิความเสมอภาคในการสมรสที่ถูกเลือกปฏิบัติ”


นายชวินโรจน์ ธีรพัชรพร ทนายความและผู้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)และสาขานิติศาสตร์ มสธ. เปิดเผยผลวิจัย “สิทธิความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศ”ว่าจากการเก็บข้อมูลคู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน22คู่ระหว่างปี 2558-2559 และสรุปผลการวิจัยในเดือน เมษายน ที่ผ่านมา พบว่า คู่รักเหล่านี้ต้องเผชิญสภาพปัญหาการขาดสิทธิด้านต่างๆได้แก่ สิทธิในการตัดสินใจรักษาพยาบาลและจัดการศพเช่น ไม่สามารถเซ็นรับรองการผ่าตัดคู่รักหรือเซ็นจัดการศพให้กับคู่รักที่เสียชีวิตอีกทั้งไม่มีสิทธิต่างๆ เช่น  สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกันและการอุ้มบุญสิทธิในการให้และรับมรดกแม้จะเป็นสิ่งที่หามาร่วมกัน สิทธิในการทำนิติกรรมร่วมกัน  สิทธิในสวัสดิการร่วมกับคู่สมรส  สิทธิในสินสมรสและการอุปการะเลี้ยงดูกัน สิทธิการได้รับศักดิ์ศรีในฐานะคู่สมรส และคู่รักเพศเดียวกันอาจถูกปฏิเสธเมื่อไปแสดงตนขอสิทธิในการสมรส เพราะกฎหมายกำหนดว่าต้องเป็นหญิงและชายเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5มาตรา 1448 การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ17ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้


“ตามกฎหมาย มาตราดังกล่าว มีเงื่อนไขให้สมรสได้เฉพาะชายหญิง ทำให้คู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศไม่สามารถสมรสตามกฎหมาย ส่งผลให้ขาดศักดิ์ศรี สิทธิและหน้าที่ทางกฎหมาย ทั้งตาม ปพพ.และตามกฎหมายอื่นๆ ที่อ้างอิงคำว่า“คู่สมรส สามีภริยา ทายาทโดยธรรม” ขณะที่ในต่างประเทศ มีกฎหมาย2รูปแบบที่รับรองสิทธิในการใช้ชีวิตคู่ คือ  “กฎหมายการจดทะเบียนคู่ชีวิต”ซึ่งให้ศักดิ์ศรี และสิทธิไม่เท่ากับกฎหมายสมรส และ“กฎหมายที่ให้ความเสมอภาคในการสมรส” ซึ่งในต่างประเทศมีกว่า23ประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ ฯลฯ ล่าสุด ในไต้หวัน ศาลรัฐธรรมนูญใต้หวันมีคำสั่งให้แก้ไขประมวลแพ่งไต้หวันภายในปี2562 เพื่อให้คนกลุ่มนี้เกิดเสมอภาคในการสมรส ซึ่งหากสำเร็จไต้หวันจะเป็นประเทศแรกในเอเชียที่จะได้ใช้กฎหมายนี้ ส่วนประเทศไทยอยู่ระหว่างการเสนอร่างพ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิตโดยกรมคุ้มครองสิทธิฯ แต่ร่างฯนี้ไม่ได้ให้ศักดิ์ศรีสิทธิความเสมอภาค เท่ากับคู่สมรสหญิงชายทั่วไปการออกกฎหมายเฉพาะแยกออกมาจาก ปพพ.เท่ากับเป็นการตีตรา การเลือกปฏิบัติ ซึ่งขัดต่อหลักความเสมอภาค หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการแก้ไขประมวลฯ แพ่งว่าด้วยการสมรส   และได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ…เพื่อให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียม” นายชวินโรจน์ กล่าว 

นางสาวสุเพ็ญศรี  พึ่งโคกสูง ผู้จัดการมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม กล่าวว่า เนื่องจากการสมรสตามกฎหมายไทยใช้สิทธิได้เฉพาะชายหญิง หรือรับรองสิทธิเฉพาะหญิงกับชาย ซึ่งขัดกับหลักการความเสมอภาคห้ามมิให้เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา27 ดังนั้นจะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเข้าถึงสิทธิอย่างเท่าเทียม สะท้อนจากกรณีของฝรั่งที่จ้างสาวไทยอุ้มบุญจนกลายเป็นข่าวนั้น พบว่า กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศหลายคนต้องการมีชีวิตและครอบครัวเหมือนคู่ชายหญิง พวกเขาต้องการที่จะสร้างครอบครัว มีลูก แต่ในกฎหมายของไทยไม่มีการรับรองใดๆเลย แม้บางคู่จะอยู่กินฉันสามี ภรรยา จนตายกันไปข้างหนึ่ง สมบัติที่มีกลับเป็นปัญหาว่าจะตกเป็นของญาติผู้เสียชีวิตหรือไม่ ทั้งๆที่คนทั้งสองคนช่วยกันทำมาหากิน สร้างสินทรัพย์กันขึ้นมา รวมไปถึงการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม 

“มูลนิธิฯและเครือข่ายที่ทำงานด้านนี้ขอเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องแก้ไขกฎหมายเพื่อให้กลุ่มหลากหลายทางเพศมีสิทธิเหมือนคนทั่วไป เข้าถึงสิทธิสมรสได้โดยไม่เลือกปฏิบัติ” นางสาวสุเพ็ญศรี กล่าว          

ขณะที่นางพัชรี อาระยะกุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กล่าวว่า ทางเรากำลังรวบรวมกฎหมายต่างๆทั้งหมดที่ยังเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เพื่อผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมเสมอภาค แต่ยอมรับว่าคงต้องใช้เวลาในการศึกษา ว่าอันไหนจะมีทิศทางสามารถแก้ไขได้ก่อน คาดว่าในอนาตคผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศจะมีสิทธิที่พึงจะได้รับอย่างเท่าเทียม เช่น สิทธิสวัสดิการ ทรัพย์สินที่หามาด้วยกัน สามารถแบ่งปันกันได้ และเห็นด้วยหากจะมี พ.ร.บ.การจดทะเบียนคู่ชีวิตเกิดขึ้น แต่ต้องครอบคลุมและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม อยากเชิญชวนให้คนกลุ่มนี้ หรือผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ สามารถยื่นคำร้องตามสิทธิ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 ได้ที่สายด่วน1300 หรือส่งเรื่องร้องทุกข์มาได้ที่กองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เพื่อนำไปสู่การช่วยเหลือและเยียวยา รวมทั้งนำคำร้องที่ยื่นมาเสนอต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ(วลพ.)วินิจฉัยคำร้องที่บุคคลถูกเลือกปฏิบัติ ฯ  .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ชนแล้วหนี! 2 หนุ่มกลัวถูกจับดึงสลักระเบิดดับ

2 หนุ่มชนแล้วหนี โบกรถมาขึ้นสามล้อเครื่อง ตำรวจตามกระชั้นชิด ตัดสินใจดึงสลักระเบิด แต่สะดุดล้มระเบิดตูมสนั่นดับ 1 ส่วนอีกคน ถูกจับโดยละม่อม

“ไบเดน” เปิดทำเนียบขาวต้อนรับ “ทรัมป์” ถกถ่ายโอนอำนาจ

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐเปิดห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาวหารือนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดี ซึ่งต่างให้คำมั่นการถ่ายโอนอำนาจจะเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด

“อี้ แทนคุณ” เผยคดีใหม่ “ฟิล์ม” ชวนลงทุนคล้าย forex เสียหายกว่า 60 ล้าน

“อี้ แทนคุณ” เผยคดีใหม่ “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ชักชวนลงทุนในดูไบ คล้าย forex ความเสียหายกว่า 60 ล้านบาท ขณะที่อีกฝ่ายอ้างนำเงินไปลงทุนจริงแต่ขาดทุน

ข่าวแนะนำ

“หนุ่ม กรรชัย” งดเคลียร์ “ฟิล์ม” ย้ำดำเนินคดีถึงที่สุด

“หนุ่ม กรรชัย” ประกาศตัดสัมพันธ์ “ฟิล์ม รัฐภูมิ” ย้ำดำเนินคดีถึงที่สุด งดเคลียร์ ซัดเป็นคนไร้ศักดิ์ศรี ชี้เรื่องนี้ไม่ต้องเตือน ให้ย้อนไปดูที่บ้านได้สั่งสอนหรือไม่

เริ่มแล้ว ประเพณียี่เป็งหรือลอยกระทงเชียงใหม่

ประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทง จ.เชียงใหม่ ปีนี้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเต็มไปด้วยแสงสีจากแสงไฟที่ประดับไปทั่วเมือง และความงดงามทางวัฒนธรรมมากมาย ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ท่ามกลางอากาศเย็นสบาย

“จิราพร” สั่งตรวจสอบปมคลิปเสียงอ้างชื่อ-จ่อแจ้งความเอาผิด

“จิราพร สินธุไพร” ยืนยันไม่รู้จักนักร้องเรียนหญิง ที่แอบอ้างว่าเป็นคณะทำงาน ประสานฝ่ายกฎหมายเร่งตรวจสอบคลิปเสียง เพื่อแจ้งความดำเนินคดี