สำนักข่าวไทย 22 ส.ค. – เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) 19 แห่ง ออกแถลงการณ์ ห่วง พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ที่บังคับใช้พรุ่งนี้ 23 ส.ค. 2560 ทำให้ผู้ป่วยได้รับผลกระทบ จากการจัดซื้อยา และอวัยวะเทียมในแต่ละโรงพยาบาลที่มีคุณภาพไม่เท่ากัน โดยเฉพาะปัญหาในการส่งต่อผู้ป่วยข้ามรพ. วอนกรมบัญชีกลาง ออกแนวทางกลางจัดซื้อ
หลังจากก่อนหน้านั้น เครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) 19 แห่ง ได้ ทำหนังสือถึง รมว.คลัง และอธิบดีกรมบัญชีกลาง กรณีเรื่องการจัดซื้อยา อวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค และเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา โดยย้ำว่า ทางเครือข่าย ฯเห็นด้วยกับการหลักการและเจตนารมย์ของพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯที่ให้ความสำคัญกับเรื่องความคุ้มค่าของสินค้า บริการ และงานก่อสร้าง และต้องมีคุณภาพดีตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ไม่ใช่ราคาต่ำสุดเสมอไป
แต่จากการร่วมกันศึกษาและพิจารณา พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับนี้แล้ว มีความกังวลใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก สินค้าทางการแพทย์เหล่านี้ มีความซับซ้อนหรือมีความจำเพาะสูงต่างจากสินค้าทั่วๆไปอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ว่า โรคส่วนใหญ่สามารถรักษาด้วยยาสามัญที่มีคุณภาพแทนการใช้ยาต้นแบบที่มีชื่อสามัญเดียวกันได้อย่างได้ผลดี แต่ในบางกรณี ยังมีความจำเป็นต้นใช้ยาต้นแบบ แทนการใช้ยาสามัญที่มีชื่อเดียว โดยพ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ได้มีการเปิดช่องให้สถานพยาบาลดำเนินการจัดหายาทำเป็นเหล่านี้กับผู้ป่วย ซึ่งอาจส่งผลเสียที่ร้ายแรงกับผู้ป่วย ซึ่งอาจกลายเป็นการซ้ำเติมความเจ็บป่วยของผู้ป่วยให้ทวีความรุนแรงขึ้นได้ และหากสถานบาลฝืนดำเนินการจัดหาเพื่อให้มียาแก่ป่วย ก็จะเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย เนื่องจากไม่มีกฎหมายลูกที่จะเป็นแนวทางชัดเจน ในการจัดหายาและอวัยวะเทียม แก่ผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม แนวทางที่เครือข่ายฯ นำเสนอนั้น ได้ยึดมั่นในประโยชน์ที่จะมีต่อผู้ป่วยและประเทศชาติ เป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อเป็นทางออกที่จะช่วยให้สถานพยาบาลอื่นทั่วประเทศไม่เฉพาะสถานพยาบาลในเครือข่าย สามารถดำเนินการจัดหายา และอวัยวะเทียม ก่อนที่จะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยเนื่องจากยาเป็นสินค้า ทางการแพทย์ที่ไม่ใช่เรื่องของแต่ละสถานพยาบาล ผู้ป่วยในระบบสุขภาพต้องมีการส่งต่อระหว่างสถานพยาบาลต้นทางและปลายทาง หากปล่อนให้แต่ละสถานพยาบาลต่างคนต่างทำ โดยไม่มีแนวทางกลางของประเทศ ในการจัดหายาที่ใช้ดูแลรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ อาจจะมีผลต่อระบบการส่งต่อผู้ป่วยของประเทศ และการเข้าถึงยาจำเป็นของผู้ป่วย อาจยิ่งสร้างความสิ้นเปลืองของประเทศชาติ อันเนื่องมาจากแต่ละสถานพยาบาลมียาที่มีคุณภาพไม่เท่ากัน จึงขอเสนอผู้เกี่ยวข้องช่วยเร่งแก้ไขเป็นการด่วย ก่อนที่จะส่งผลเสียหายไปยังผู้ป่วย .-สำนักข่าวไทย