กกต. ยันจำเป็นต้องยื่น ตีความร่าง พ.ร.ป. กกต.

สำนักงานกกต. -นายประวิช รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ กกต.ทั้ง 5 คนได้เซ็นลงนามในหนังสือที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า  ร่างพระราชบัญญัติระกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยสำนักกฎหมายและคดีเป็นตัวแทนของสำนักงานฯ ไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญ  ใน 2 ประเด็น  คือเรื่อง การตัดอำนาจ กกต.แต่ละคนในการระงับยับยั้งการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตในหน่วยหรือเขตเลือกตั้งที่ไปพบ และเรื่อง กกต.ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นได้เอง ต้องมอบให้ส่วนราชการ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงาน ที่เห็นว่าอาจมีปัญหาทางข้อกฎหมายในอนาคต จึงจำเป็นต้องยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พร้อมยืนยันว่า กกต.ไม่เคยมีมติว่าจะส่งเรื่องผ่านทางนายกรัฐมนตรี


ส่วนเรื่องเซตซีโร่ กกต. นายประวิช ยืนยันว่า กกต.ไม่ติดใจ  เพราะกระบวนการเสร็จสิ้นไปแล้ว อีกทั้ง กกต. ชุดนี้รับทราบดีว่าจะต้องอยู่รักษาการเพื่อเตรียมงานต่างๆก่อนส่งไม้ต่อให้ กกต.ชุดใหม่

“การยื่นศาลรัฐธรรมนูญเป็นการส่งเฉพาะเรื่องที่เห็นว่าเป็นปัญหาทางข้อกฎหมาย  ถ้าไม่ทำความเห็นไว้ตรงนี้  แล้วเกิดมีปัญหาในอนาคตจะกลายเป็นว่า กกต. ไม่ทักท้วง ส่วนศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาอย่างไร  จะรับคำร้องหรือไม่รับคำร้อง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ   วันนี้ กกต.ถือว่าทำหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอย่างไร  เราก็เคารพ  เพราะเราไม่ได้ต้องการยื้อโรดแมปการเลือกตั้ง  หรือทำเพื่อให้ กกต.ชุดปัจจุบันทำหน้าที่ต่อไป  ขอย้ำว่าเราไม่ติดใจว่าจะอยู่หรือไม่ เพราะเกมมันโอเวอร์แล้ว ”      นายประวิช  กล่าว


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเวลา 15.30 น. วันนี้ (21ก.ค.) เจ้าหน้าที่สำนักกฎหมาย ได้นำคำร้องไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ หลัง กกต.ทั้ง 5 คน ลงนามเรียบร้อย  ถือว่าเป็นการยื่นในช่วงที่ร่างกฎหมายดังกล่าวยังอยู่ในมือนายกรัฐมนตรี 

ทั้งนี้มีรายงานข่าวจาก กกต. สรุปข้อเท็จจริงการยื่นคำร้องว่า กกต. มีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2560 เห็นว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. …. ยังมีประเด็นที่ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และอาจเกิดเป็นประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติของคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมทั้งอาจเป็นปัญหาในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในอนาคต รวม 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นหน้าที่และอำนาจของกรรมการการเลือกตั้งแต่ละคน ตามมาตรา 26 แห่ง ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ….และประเด็นอำนาจการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ตามมาตรา 27 แห่งร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. …. จึงทำให้ต้องยื่นคำร้องเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญ กลไกที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการออกกฎหมายตามรัฐธรรมนูญให้เป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างปกติ ซึ่งจะส่งผลให้กฎหมายที่ประกาศใช้อาจเกิดข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงได้ แต่เพื่อให้การตรวจสอบการออกกฎหมายเป็นไปโดยไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดมีการถ่วงดุลกันตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น อาศัยบทบัญญัติตามมาตรา 5 มาตรา 210 มาตรา 273 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ข้อ 17 วรรคหนึ่ง (15) ซึ่งกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหรือร่างกฎหมายและเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญบังคับ ให้กระทำการนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทย    ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประกอบกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 15-18/2556 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 ที่เคยวางแนวทางการปฏิบัติไว้และคำปรารภของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ให้มีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองและเป็นแนวทางในการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่น โดยได้กำหนดกลไกการให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่น ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สุจริตเที่ยงธรรม และเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง กกต.จึงมีความจำเป็นที่จะต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร