กรมการค้าภายในชี้แจงยกเลิกภาษีนำเข้าข้าวสาลีไม่ได้

นนทบุรี 4 ก.ค. – อธิบดีกรมการค้าภายในชี้แจงข้อเรียกร้องยกเลิกมาตรการภาษีนำเข้าข้าวสาลี ไม่สามารถทำได้ เหตุผิดเงื่อนไข WTO


นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตามที่มีประเด็นข่าวเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการภาษีนำเข้าข้าวสาลีร้อยละ 0 ในการนำมาเป็นอาหารสัตว์ ส่วนการนำเข้ามาเป็นอาหารมนุษย์ก็เก็บภาษีที่ร้อยละ 27 เช่นเดิม และกรณีที่ยังมีคนต้องการนำเข้าเป็นอาหารสัตว์ก็ต้องจ่ายภาษีร้อยละ 35 เท่ากับประเทศฟิลิปปินส์ และให้ความเห็นว่าการยกเลิกมาตรการภาษีดังกล่าวไม่ผิดเงื่อนไของค์การการค้าโลก (WTO) สามารถทำได้ เพราะเงื่อนไขดังกล่าวมีข้อยกเว้นว่าหากการนำเข้าทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยนั้น กระทรวงพาณิชย์ขอชี้แจงว่าตั้งแต่ ปี 2538 ไทยผูกพันภาษีนำเข้าสินค้าข้าวสาลี (พิกัด 1001) ภายใต้ WTO ไว้ที่ร้อยละ 27 ต่อมาปี 2550 กระทรวงการคลังปฏิรูปภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0 เนื่องจากสินค้าข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร (ใช้ผลิตบะหมี่สำเร็จรูป และขนมปัง ขนมเค้ก เป็นหลัก) และไม่มีการเพาะปลูกในประเทศ จึงจำเป็นต้องนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศ โดยขณะนั้นยังไม่มีการแยกพิกัดข้าวสาลีที่เป็นอาหารคนและอาหารสัตว์ จึงเป็นการลดภาษีวัตถุดิบทั้งหมวด

ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน ปี 2560/2561 โดยให้ปรับปรุงมาตรการบริหารจัดการการนำเข้าวัตถุดิบทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และให้มีการศึกษาเพื่อพิจารณาผลดีผลเสียของการขึ้นภาษีนำเข้าให้รอบด้าน ภายใต้พันธกรณี WTO ไทยไม่สามารถระงับการนำเข้าข้าวสาลีได้ แต่สามารถขึ้นภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 27 ตามที่ผูกพันไว้ แต่สำหรับคู่ค้าที่มี FTA เช่น ออสเตรเลีย ไทยไม่สามารถปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าข้าวสาลีได้ยกเว้นแต่ว่าต้องมีการเจรจาขอแก้ไขข้อผูกพันและอาจต้องมีการเปิดตลาดสินค้าอื่นเพิ่มให้คู่เจรจาเป็นการแลกเปลี่ยน หรือคู่เจรจาขึ้นภาษีสินค้าที่นำเข้าจากไทยเป็นการตอบแทน


อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์มีมาตรการกำกับดูแลสินค้าข้าวสาลี โดยออกประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้นำเข้าข้าวสาลีแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการนำเข้า ราคา แผนการนำเข้า ปริมาณการใช้ ปริมาณการจำหน่าย ปริมาณคงเหลือ และสถานที่เก็บ รวมทั้งกำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศอัตราส่วน 1 : 3 ด้วย ตามที่เคยชี้แจงแล้ว สำหรับปัจจุบันราคาที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ (ที่ความชื้น14.5%) อยู่ที่ 8.15-8.65 บาท/กก. โดยกรมประสานให้โรงงานเปิดช่องรับซื้อตรงจากเกษตรกรที่มีเอกสารสิทธิ์มาตลอด ขณะนี้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2559/2560 ออกสู่ตลาดหมดแล้ว และจะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลผลิต 2560/2561 โดยผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดประมาณปลายเดือนกรกฎาคม .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ดับแล้ว 8 ราย รถชนบนมอเตอร์เวย์ อัดก๊อปปี้พังยับ

เกิดอุบัติเหตุใหญ่ช่วงกลางดึก บนมอเตอร์เวย์ สาย 7 มุ่งหน้าชลบุรี รถเทรลเลอร์ 2 คัน กับเอสยูวีอีก 1 คัน คนในรถเอสยูวี เสียชีวิต 8 ราย

ผู้เสียหายแจ้งความถูกร้านทองหลอกขายกรอบทองคำรูปสัตว์มงคล

ผู้เสียหายแจ้งความถูกร้านทองดังหลอกขายกรอบทองคำรูปสัตว์มงคล ราคารวม 1 ล้านบาท ผ่านมา 8 ปี เอะใจนำทองไปเผา สุดท้ายเป็นเพียงพลาสติก

ทวงหนี้โหด

มอบตัวแล้ว ผู้ต้องหาทวงหนี้โหดยิงดับต่อหน้าลูก

ยอมมอบตัวแล้ว ผู้ต้องหาทวงหนี้โหด บุกถึงห้องยิงดับต่อหน้าลูกชาย หนีจับแม่ค้าเป็นตัวประกัน ตำรวจพาแม่และญาติเกลี้ยกล่อมสำเร็จ ก่อนคุมตัวไปสอบสวนที่ สภ.เมืองนครปฐม

ข่าวแนะนำ

ไข่ไก่ขึ้นราคา

ไข่ไก่ปรับขึ้นอีกฟองละ 20 สตางค์​ มีผลวันจันทร์นี้

ไข่ไก่ปรับขึ้นอีกฟองละ 20 สตางค์​ มีผล 28 เม.ย.นี้ เหตุอากาศร้อนจัด ไก่ออกไข่​น้อยลง​ ประกอบกับก่อนหน้านี้​ไข่ราคา​ตก​ เกษตรกร​ปลดแม่ไก่ยืนกรง​ อุปทานที่ลดลงทำให้​ราคา​มีแนวโน้ม​จะปรับ​ขึ้น​อีก​ตามกลไกตลาด

รับร่างตำรวจเครื่องบินตก

ครอบครัว 6 ตร. เครื่องบินตก ทยอยรับร่างไปประกอบพิธีทางศาสนา

ครอบครัว 6 ตร. กองบินตำรวจ ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุเครื่องบินตก เดินทางมารับร่างไปประกอบพิธีทางศาสนา ขณะที่นิติเวชเตรียมสถานที่ห้องพักรับรองชั้น 3 ให้นั่งพักคอย ห้ามสื่อมวลชนรบกวน

เสด็จเยือนภูฏาน

ในหลวง-พระราชินี ทรงพระดำเนินตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ในการเสด็จฯ เยือนภูฏานอย่างเป็นทางการ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงพระดำเนินตรวจแถวกองทหารเกียรติยศ ในการเสด็จฯ เยือนภูฏานอย่างเป็นทางการ

ยกย่องมรดกไทย

ยูเนสโกยกย่อง 3 มรดกไทย เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกปี 2568

ยูเนสโกยกย่อง 3 มรดกไทย “สมุดไทยคำหลวง – พระเจ้าช้างเผือก – เอกสารอาเซียน” เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกปี 2568 ตอกย้ำบทบาทสำคัญของชาติไทยในประวัติศาสตร์โลก