สปป.ลาว 24 พ.ค. – รองนายกฯเศรษฐกิจฯ นำทัพนักธุรกิจรายใหญ่ บุกตลาด สปป.ลาว ขยายการค้า การลงทุนเพิ่ม
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หารือกับนายสมดี ดวงดี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและรัฐมนตรีกระทรวงการเงิน สปป.ลาว พร้อมคณะประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รมว.อุตสาหกรรม , รมว.พลังงาน,รมว.อุตสาหกรรม,รมช.คมนาคม บีโอไอ ททท สมาคมธนาคารไทย ประธานสภาหอกาค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสภาธุรกิจไทย-ลาว และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หวังให้บริการทางการเงินกับนักธุรกิจไทยเข้ามาทำธุรกิจใน สปป.ลาว เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและ สปป.ลาว และการอำนวยความสะดวกให้กันนักธุรกิจรายใหญ่ของไทยขยายการลงทุนเพิ่ม โดยเป็นการเยือน สปป.ลาว อย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 23–25 พฤษภาคม 2560 ณ นครหลวงเวียงจันทน์
สำหรับการพัฒนาท่องเที่ยว ได้มีแผนร่วมกันในการพัฒนาริมสองฝั่งโขง เพื่อเชื่อมการท่องเที่ยวทั้งการล่องเรือฝั่งโขง เช่น โปรโมทภาคอีสานและท่องเที่ยวต่อไปเวียงจันทร์ และการพัฒนาเส้นทางฝั่งไทย อ.เชียงคาน อ.โขงเจียม จ.อุบลฯ การสร้างกิจกรรม ปั่นจักรยาน แรลลี่ เปิดให้เข้าพักโฮมเสตย์ในชุมชน และเชื่อมต่อไปฝั่งลาว การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยว จ.น่าน อุตรดิตถ์ เชื่อมไปยัง หลวงพระบาง เวียงจันนทร์ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวลาวเดินทางเข้ามาไทย 1 ล้านคนขณะที่ไทยเดินทางมาลาว 2 ล้านคนต่อปี จึงต้องเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างกัน เพื่อให้ไทยเป็นช่องทางเปิดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังไทยและเดินทางต่อไปยัง สปป.ลาวเพิ่มขึ้น
เนื่องจากไทยให้ความสำคัญในการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ทั้งการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน CLMV จึงมุ่งเน้นร่วมมือกับ สปป.ลาว พัฒนาหลายด้าน เช่น การร่วมจัดตั้งตลาดประชารัฐไทย – สปป.ลาว บริเวณแนวชายแดน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงและส่งเสริมการค้าชายแดนของทั้งสองประเทศ การร่วมมือด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับภาคเกษตรกร รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพื่อเป็นเพื่อนร่วมทาง การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการค้าชายแดน หวังช่วยให้ทั้งสองฝ่ายบรรลุเป้าหมายการค้า การกับฝ่ายสปป.ลาว เพื่อยกระดับด่านท้องถิ่นของ สปป.ลาว ที่อยู่ตรงข้ามกับจุดผ่านแดนของไทยให้เป็นด่านสากลเพิ่มเติม ตั้งเป้าหมายบรรลุมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงกว่า 10,000 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ ในปี 2564
ทีมนักธุรกิจของไทยเดินทางร่วมคณะรองนายกรัฐมนตรีสมคิดในครั้งนี้ มีภาคเอกชนรายใหญ่ 30 ราย อาทิ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง สาธารณูปโภค โลจิสติกส์ โรงพยาบาล โรงแรม ธุรกิจการเงิน ด้านพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค ภาคก่อสร้าง และการการแพทย์ครบวงจร จึงได้พาผู้บริหาร บ.ไทยเบฟเวอรเรจ,บ.อิตาเลียนไทย , ช.การช่าง, รพ.ยันฮี, รพ.กล้วยน้ำไท , บ.บ้านปู , บ.อมตะ กลุ่มเซ็นทรัล, ปทต. , กฟผ. หวังขยายลงทุนเพิ่ม ไทยลาวมีเส้นเขตแดนรวมกัน 1,810 กิโลเมตร เนื่องจากช่องทางติดต่อนำเข้า ส่งออกสินค้าผ่านด่านชายแดนถาวร 15 แห่ง จุดผ่อนปรนการค้า 32 แห่ง รวม 47 แห่ง ไทย-ลาวมีความใกล้ชิดทางความสันพันธ์เครือญาติ มิตรสหาย มีความคล้ายคลีงทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม เมื่อรัฐบาลได้มีนโยบายไทยแลนด์ 4.0 พัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในช่วง 5-6 ปี ข้างหน้า
ปัจจุบันการค้ารวมไทย-สปป.ลาว เป็นคู่ค้าอันดับ 8 ของไทย ปี 2559 มีมูลค่าการค้า 206,648 ล้านบาท หรือ 5,871.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.86 ไทยส่งออกไปสปป.ลาว 140,071 เป็นฝ่ายเกินดุลการค้า 2,117.12 ล้านดอลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออกไป สปป.ลาว คิดเป็นมูลค่า 3,994.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และไทยนำเข้าจาก สปป.ลาว มูลค่า 1,877.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ กว่าร้อยละ 98 เป็นการค้าชายแดน มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท สปป.ลาว มีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 7.6 ตลอดช่วง 5 ปีผ่านมา มีจุดเด่นการเป็น Land Link เชื่อมไทยสู่ตลาดอาเซียนและจีน รองรับการขยายตลาดร่วมกันเพิ่มขึ้น.-สำนักข่าวไทย