รัฐมนตรีพลังงาน สนใจรูปแบบบรรษัทน้ำมันแห่งชาตินอร์เวย์

นอร์เวย์ 22 พ.ค. – รมว.พลังงานสนใจรูปแบบบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ(National Oil Company)ของนอร์เวย์ พร้อมนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาปรับใช้กับการลงทุนในแหล่งปิโตรเลียมของไทย   


พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงการเดินทางไปยังประเทศนอร์เวย์ เมื่อวันที่19พ.ค.2560 ที่ผ่านมาและได้มีการพบปะหารือกับ Ms.Elisabeth Berge นปลัดกระทรวงปิโตรเลียมและพลังงานของนอร์เวย์  โดยสนใจโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมว่า นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการผลประโยชน์ด้านปิโตรเลียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบสัมปทานปิโตรเลียม เช่นเดียวกับประเทศไทย และยังคงยืนยันที่จะใช้ระบบสัมปทานในการบริหารจัดการผลประโยชน์ให้กับรัฐต่อไป   ในขณะที่ประเทศไทยล่าสุดมีการแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียม เพื่อเพิ่มเติมระบบแบ่งปันผลผลิต หรือ(Production Sharing Contract –PSC) และระบบจ้างบริการ หรือService Contract –SC)ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปแล้ว

ทั้งนี้นอร์เวย์ใช้ระบบสัมปทานในการบริหารจัดการผลประโยชน์ด้านปิโตรเลียมให้กับรัฐ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่ประเทศไทยใช้ ตั้งแต่ปี2514 โดยที่มีหน่วยงานในการกำกับดูแลในการออกหลักเกณฑ์และให้ใบอนุญาตสัมปทาน ที่ชื่อ Norwegian Petroleum Directorate   เช่นเดียวกับไทย ที่มีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในขณะที่มีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ(NOC) ที่ทำหน้าที่เป็น Operator ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมคือ Statoil  เช่นเดียวกับที่ไทยมี ปตท.และปตท.สผ.  แต่Statoil ของนอร์เวย์ในช่วงเริ่มต้นนั้น สามารถเข้าไปร่วมถือหุ้นกับผู้รับสัมปทาน โดยใช้อาจตามกฏหมายการมีส่วนรวมของภาครัฐ ได้ในสัดส่วนที่สูงถึง50% ในแหล่งที่รัฐเห็นว่ามีศักยภาพด้านปิโตรเลียม อีกทั้ง Statoil ยังไม่ต้องจ่ายเงินในช่วงของการสำรวจ  ซึ่งถือเป็นช่วงที่ผู้ลงทุนมีความเสี่ยงมากที่สุด   โดยในแนวทางดังกล่าวนั้นทำให้ ภาครัฐของนอร์เวย์ มีรายได้จากปิโตรเลียมจำนวนมาก และจัดเก็บเอาไว้ในกองทุน ที่เรียกว่าState’s Direct Financial Interestsหรือ SDFI


หลังจากนั้น ในปี2544 รัฐบาลนอร์เวย์ก็มีการจัดตั้งNOC ที่รัฐถือหุ้น100% ชื่อว่า Petoro  เพื่อมาบริหารจัดการ SDFI  และนำเงินที่สะสมอยู่ใน SDFI มาใช้ลงทุนในแหล่งสัมปทานที่มีศักยภาพด้านปิโตรเลียมร่วมกับผู้รับสัมปทานตามที่กฏหมาย เปิดช่องไว้ให้ในระยะหลัง เงื่อนไขการให้สัมปทานของนอร์เวย์ มีการผ่อนปรนมากขึ้นเพื่อจูงใจผู้ลงทุน โดยนอร์เวย์ ยกเลิกการจัดเก็บค่าภาคหลวง  มาเป็นรูปของภาษีแทน 

โดยเมื่อเปรียบเทียบตั้งแต่ต้นทางจากการผลิตถึงการจำหน่ายมีรายได้และกำไรแล้ว ระบบสัมปทานของไทย รัฐจะเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ประมาณ70% เอกชนผู้รับสัมปทานได้30% ในขณะที่นอร์เวย์ รัฐได้ผลประโยชน์โดยเฉลี่ยประมาณ40%

ข้อแตกต่างอีกประการภายใต้ระบบสัมปทานระหว่างไทยกับนอร์เวย์ คือในการตัดเลือกเอกชนผู้รับสัมปทาน ของนอร์เวย์จะใช้วิธีเจรจาเพื่อหาเอกชนที่มีเทคโนโลยี มีประสบการณ์ มีแผนงานการสำรวจที่ดี และมั่นใจว่าจะเป็นบริษัทที่ทุ่มเทให้กับการสำรวจจนพลและนำปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ในขณะที่ไทย การคัดเลือกเอกชนโดยวิธีการประมูลว่าเอกชนรายใดจะ เสนอแผนงานการสำรวจที่เชื่อว่าจะมีโอกาสพบปิโตรเลียมได้มากที่สุด รวมทั้งเสนอแผนเงินคือผลประโยชน์ตอบแทนให้กับรัฐมากที่สุด ประกอบการพิจารณาและให้คะแนน  โดยเอกชนที่ได้คะแนนสูงสุดก็จะได้รับสัมปทานไป


ปัจจุบันภาครัฐของนอร์เวย์ มีรายได้จากผลประโยชน์ปิโตรเลียมจาก3 ทาง คือ1การจัดเก็บภาษีจากผู้รับสัมปทาน 2.จากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทStatoil  ที่หน่วยงานรัฐของนอร์เวย์ถือหุ้นใหญ่ และ3.การกำไรที่รัฐเข้าไปลงทุนร่วมกับผู้รับสัมปทานในแหล่งปิโตรเลียม คือPetoro ที่รัฐ ถือหุ้น100  ซึ่งผลประโยชน์จากปิโตรเลียมดังกล่าวทำให้นอร์เวย์กลายเป็นประเทศที่มั่งคั่งและมีการจัดสวัสดิการด้านต่างๆให้กับประชาชน ได้ดีที่สุดในอันดับต้นๆของโลก

“จากการหารือกับปลัดกระทรวงปิโตรเลียมและพลังงาน นอร์เวย์ยังยืนยันที่จะใช้ระบบสัมปทานในการบริหารจัดการผลประโยชน์จากแหล่งปิโตรเลียมของนอร์เวย์ต่อไป แต่มีเงื่อนไขที่จูงใจนักลงทุนมากขึ้น เพราะเขาให้ความสำคัญกับการสำรวจแล้วพบปิโตรเลียม ซึ่งรัฐก็จะได้ผลประโยชน์ตามเอกชนไปด้วย   อย่างไรก็ตามโมเดลของนอร์เวย์จะต้องนำมาศึกษาวิเคราะห์ดูว่า มีส่วนใด ที่น่าจะนำมาปรับใช้กับกรณีของประเทศไทยได้  โดยเฉพาะการจัดตั้งNOC ในรูปแบบเฉพาะที่เกี่ยวกับกับการลงทุนเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่การลงไปเป็นโอเปอเรเตอร์เอง อย่างPetoto  ที่ไทยยังไม่มีหน่วยงานในรูปแบบนี้ ก็เป็นโมเดลที่น่าสนใจ “ พลเอกอนันตพร กล่าว

อย่างไรก็ตาม พลเอกอนันตพร กล่าวว่า แนวคิดการตั้งหน่วยงานในรูปแบบเดียวกับกับPetoro ที่มีรัฐถือหุ้น100% เพื่อเข้าไปร่วมลงทุนในแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทย   นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้งบประมาณแผ่นดินในการลงทุน ซึ่งถ้าคิดจะตั้งก็ต้องชี้แจงให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบให้ได้  ที่ผ่านมากระทรวงพลังงานจัดส่งค่าภาคหลวงที่จัดเก็บได้ให้กับกระทรวงการคลังปีละประมาณ2แสนล้านบาท  โดยในแนวคิดอาจจะกันเงินส่วนนี้ มาใช้สำหรับการลงทุนในแหล่งปิโตรเลียมที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเห็นว่ามีศักยภาพสูง มีความเสี่ยงต่ำ ก็ได้

สำหรับการเปิดประมูลเพื่อหาเอกชนมาดำเนินการในแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่จะหมดอายุในปี2565และ2566 ทั้งเอราวัณ และบงกช นั้น  ส่วนใหญ่น่าจะใช้ระบบสัมปทาน แต่จะมีบางแหล่งที่คิดว่าจะใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต – สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

จุดเทียนรำลึก 20 ปี สึนามิ

ค่ำคืนนี้ ที่อนุสรณ์สถานสึนามิบ้านน้ำเค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สว่างไสวจากแสงเทียนนับพันเล่มที่ถูกจุดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่รักซึ่งจากไปในเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปี 2547 จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบ 20 ปีเต็ม

สอบแล้ว 5 ปาก คลี่ปม “แบงค์ เลสเตอร์” ยังปฏิเสธจ้างดื่มโชว์

ผบช.ภ.2 เผย สอบแล้ว 5 ปาก พยานสำคัญ คลี่ปม “แบงค์ เลสเตอร์” ยังปฏิเสธจ้างดื่มโชว์ พร้อมไล่ไทม์ไลน์ เปิดผลชันสูตรเบื้องต้นหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ส่งชิ้นเนื้อ สารคัดหลั่ง เลือด และเศษอาหารในกระเพาะตรวจแล็บ หาสาเหตุที่แท้จริง

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการ ปชช.เดินทางช่วงปีใหม่

นายกฯ ตรวจความพร้อมหมอชิต 2 ให้บริการประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยไม่แจ้งล่วงหน้า กำชับ บขส. อำนวยความสะดวกเตรียมพร้อมรถ สั่งเข้มตรวจแอลกอฮอล์-ยาเสพติดพนักงานขับรถ ป้องกันอุบัติเหตุ