ชัวร์ก่อนแชร์: ทีมชาติเยอรมันไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เพราะเป็นอันตราย จริงหรือ?

20 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Dogruluk Payi (ตุรกี)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ดร.ทิม เมเยอร์ แพทย์ทีมชาติเยอรมนีย้ำว่านักฟุตบอลในทีมบางคนได้รับวัคซีนโควิด 19 แล้ว 1 เข็ม แต่จะไม่มีใครฉีดวัคซีนระหว่างทัวร์นาเมนต์เพื่อเลี่ยงอาการข้างเคียง ดร.ทิม เมเยอร์หวังว่านักฟุตบอลจะไดฉีดวัคซีนโควิด 19 มากขึ้นในอนาคต ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านทาง Twitter ในประเทศตุรกี โดยอ้างว่าแพทย์ประจำทีมฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ไม่ยอมให้นักกีฬาเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ก่อนร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เนื่องจากคิดว่าวัคซีนโควิด 19 เป็นอันตรายต่อนักกีฬา ซึ่งเป็นข้อความที่มีการรีทวิตกว่า 200 ครั้งและมียอดไลท์ 350 ครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Dogruluk Payi พบว่า ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง ดร.ทิม เมเยอร์ แพทย์ประจำทีมชาติเยอรมนีกล่าวถึงการฉีดวัคซีนของนักกีฬาทีมชาติระหว่างการแถลงข่าว โดยยืนยันมีนักฟุตบอลบางคนที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มแรกไปแล้ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac มีประสิทธิผลแค่ 3% จริงหรือ?

20 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Estadão Verifica (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ประสิทธิผล 3% วัดจากการฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรก เมื่อฉีดครบ 2 เข็มประสิทธิผลจะเพิ่มเป็น 56.6% ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ผ่านทาง WhatsApp ในประเทศบราซิล โดยผู้โพสต์อ้างผลวิจัยว่า วัคซีนโควิด 19 มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคในผู้สูงอายุเพียงแค่ 3% และจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 โดสแล้ว ควรรับวัคซีนโดสที่ 3 เพิ่มเติ่ม โดยเฉพาะวัคซีนที่มาจากบริษัทอื่นๆ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ที่มาของข้ออ้างที่ระบุว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac มีประสิทธิผลเพียง 3% นำมาจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัย Universidad de Chile แต่ตัวเลขดังกล่าวเป็นการวัดประสิทธิผลจากการฉีดวัคซีนโดสแรกเท่านั้น ส่วนประสิทธิผลหลังจากฉีดวัคซีนครบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac ฉีดแล้วภูมิไม่ขึ้น จริงหรือ?

19 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Estadão Verifica (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: การตรวจหาแอนติบอดี้ไม่อาจวัดประสิทธิผลของวัคซีน เพราะปัจจุบันยังไม่รู้ว่าค่าแอนติบอดี้เท่าใดจึงจะป้องกันโควิด 19 ได้ ถึงแอนติบอดี้หลังฉีดวัคซีนจะมีไม่มาก แต่เซลล์ความจำจะกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้อีกครั้งเมื่อร่างกายติดเชื้อภายหลัง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 จากบริษัท Sinovac เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศบราซิล โดยชายผู้หนึ่งโชว์ผลการตรวจแอนตีบอดี้ในเลือด (Serology Test) หลังจากฉีดวัคซีน Sinovac เข็มที่ 2 ไปแล้ว 30 วัน ซึ่งผลปรากฏว่าพบค่าแอนติบอดี้แค่ 28% นำไปสู่การกล่าวอ้างว่าวัคซีน Sinovac ไม่ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Serology Test คือหนึ่งในวิธีตรวจหาเชื้อโควิด 19 โดยการนำตัวอย่างเลือดมาตรวจหาแอนติบอดี้ของผู้ที่มีความเสี่ยงรับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 แม้องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) จะยอมรับว่าการตรวจหาแอนติบอดี้ คือวิธีตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 มี กราฟีน ทำให้ร่างกายเป็นแม่เหล็ก จริงหรือ?

16 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: กราฟีนคือผลึกคาร์บอนชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กเหลวหรือตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวดที่มีอำนาจแม่เหล็ก วัคซีนโควิด 19 ทุกชนิดก็ไม่มีส่วนประกอบทางเคมีที่มีอำนาจแม่เหล็กแต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดย หลุยส์ มาร์เซโล มาร์ติเนซ นักพันธุศาสตร์ชาวอาร์เจนติน่า ที่อ้างว่าวัคซีนโควิด 19 มี “กราฟีน” เป็นส่วนประกอบ จึงเป็นสาเหตุให้ผู้รับวัคซีนโควิด 19 กลายเป็นมนุษย์แม่เหล็ก FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: คลิปวิดีโอของ หลุยส์ มาร์เซโล มาร์ติเนซ อ้างว่า กราฟีน มีสภาพเป็นแม่เหล็กเหลว (ferrofluid) และ เป็นตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด (superconductor) ซึ่งจะมีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กเมื่อถูกเร่งให้อุณหภูมิสูงขึ้นหรือสัมผัสกับความชื้น ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้อง กราฟีน (Graphene) คือรูปแบบหนึ่งของผลึกคาร์บอน มีความแข็งแรงและมีน้ำหนักเบา เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ทั้งการผลิตหน้าจอแสดงผล, วงจรไฟฟ้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไมโครชิปในวัคซีนโควิด 19 ทำให้ต้นแขนเป็นแม่เหล็ก จริงหรือ?

15 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: FDA ระบุอย่างชัดเจนว่าไม่มีไมโครชิปหรือแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 และไม่มีส่วนประกอบใดในวัคซีนที่มีพลังงานแม่เหล็ก ข้อมูลที่ถูกแชร์: เกิดกระแสโชว์คลิปวิดีโอนำวัตถุที่เป็นโลหะมาดูดติดที่ต้นแขน โดยผู้ทำคลิปหลายคนอ้างว่าสาเหตุที่ต้นแขนซึ่งผ่านการฉีดวัคซีนสามารถดูดโลหะเอาไว้ได้ เป็นเพราะวัคซีนมีไมโครชิปเป็นส่วนประกอบซึ่งทำให้เกิดพลังงานแม่เหล็กที่ต้นแขน ก่อนที่คลิปวิดีโอเหล่านั้นจะถูก Facebook ตั้งสถานะเป็นข่าวปลอมทั้งหมด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ระบุอย่างชัดเจนว่าวัคซีนโควิด 19 ที่ใช้ในสหรัฐฯ ไม่มีไมโครชิปหรือแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบแต่อย่างใด โทมัส โฮป นักวิจัยวัคซีน มหาวิทยาลัย Northwestern University สหรัฐอเมริกา อธิบายว่าส่วนประกอบหลักๆ ในวัคซีนได้แก่ โปรตีน, ลิปิด, เกลือ, น้ำ, สารเคมีควบคุมความเป็นกรดและด่าง (pH) ซึ่งไม่มีส่วนประกอบที่ก่อกำเนิดพลังงานแม่เหล็กได้ อัล เอ็ดเวิร์ด รองศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัย University of Reading […]

ชัวร์ก่อนแชร์: พนักงาน CDC, FDA และ NIAID ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

14 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการบิดเบือนคำให้การของตัวแทนหน่วยงาน CDC, FDA และ NIAID ที่ยืนยันว่าพนักงาน 60% ในองค์กรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าพนักงานที่เหลือปฎิเสธการฉีดวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการบิดเบือนข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกาว่า ครึ่งหนึ่งของพนักงานในหน่วยงานสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกาปฎิเสธการฉีดวัคซีนโควิด 19 ทั้งพนักงานของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC), องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) และสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ต้นต่อของการบิดเบือนดังกล่าว มาจากการให้ปากคำต่อคณะไต่สวนของวุฒิสภาสหรัฐฯ ในประเด็นการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมา หนึ่งในประเด็นไต่สวนได้แก่การชี้แจงจำนวนพนักงานของ CDC, FDA และ NIAID ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว ดร.แอนโทนี เฟาซี […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Pfizer ผลิตยาต้านโควิด 19 คล้าย Hydroxychloroquine จริงหรือ?

14 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Agencia Lupa (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ยาต้านไวรัสโควิด 19 ที่ Pfizer กำลังทดลอง มีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัสโควิด 19 คุณสมบัติไม่เหมือนกับ Hydroxychloroquine ที่เป็นยารักษาโรคมาลาเรียและยากดภูมิคุ้มกัน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง WhatsApp ในประเทศบราซิล โดยอ้างว่า Pfizer หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตวัคซีนโควิด 19 เตรียมจำหน่ายยาต้านไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัสแบบเดียวกับ Hydroxychloroquine แม้ Hydroxychloroquine จะไม่เป็นที่ยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในฐานะยารักษาโรคโควิด 19 แต่มันกำลังจะเป็นที่ยอมรับเมื่อถูกจำหน่ายโดยบริษัทยายักษ์ใหญ่ และ Pfizer ก็จะทำเงินมหาศาลจากการขายยา Hydroxychloroquine รูปแบบใหม่ในราคาที่แพงกว่าเดิม FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบโดย Agencia Lupa พบว่าบริษัท Pfizer […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เด็กวัย 2 ขวบเสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีน Pfizer จริงหรือ?

13 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newtral (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการจงใจแจ้งข้อมูลเท็จมายังระบบรายงานเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์จากวัคซีน (VAERS) สหรัฐฯ ยังไม่อนุญาตให้ฉีดวัคซีน Pfizer กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี Pfizer กำลังทดลองวัคซีนกับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปอยู่ในขณะนี้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรป โดยอ้างว่าพบเด็กหญิงวัย 2 ขวบในรัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกาเสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer เข็มที่ 2 ไปเพียงแค่ 6 วัน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: จากการตรวจสอบโดย Newtral พบว่าข้อกล่าวอ้างนำมาจากระบบรายงานเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์จากวัคซีน (VAERS) ระบบรับแจ้งอาการข้างเคียงจากวัคซีนของสหรัฐอเมริกา ที่เปิดโอกาสให้ผู้รับวัคซีนสามารถร้องเรียนอาการข้างเคียงได้โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าสาเหตุมาจากวัคซีนหรือไม่ อย่างไรก็ดี รายงานดังกล่าวมีจุดขัดแย้งกับข้อเท็จจริงหลายประการ เนื่องจากสหรัฐฯ อนุญาตให้ฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer แก่ผู้ที่มีอายุ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ยุงแพร่เชื้อโควิด 19 จริงหรือ?

13 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stop Fake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ยืนยันว่าการถูกยุงกัดไม่ทำให้ติดเชื้อโควิด 19 ผลวิจัยพิสูจน์ว่าไวรัส SARS-CoV-2 ไม่สามารถแบ่งตัวในยุง และไม่สามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังมนุษย์ได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จถูกนำมาเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่ายุงสามารถนำเชื้อโควิด 19 จากเลือดของผู้ป่วยไปแพร่เชื้อยังคนทั่วไปได้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ในเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่าการถูกยุงกัดไม่สามารถทำให้ติดเชื้อโควิด 19 ได้ WHO ชี้แจงว่า โควิด 19 คือไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ที่ติดต่อกันได้จากการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ปัจจุบันไม่พบความเป็นไปได้ที่ไวรัสโควิด 19 จะสามารถติดต่อกันได้จากการถูกยุงกัด ในงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Nature เมื่อกรกฎาคมปี 2020 ซึ่งเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของการแพร่เชื้อโควิด 19 จากยุงสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งผลวิจัยสรุปว่า ไวรัส SARS-CoV-2 ไม่สามารถแบ่งตัวในยุง และไม่สามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังมนุษย์ได้ ต่อให้ยุงตัวนั้นไปดูดเลือดของผู้ป่วยโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นกตายยกฝูงหลังติดเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า จริงหรือ?

12 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำภาพเก่ามาสร้างข่าวปลอม งานวิจัยพบว่าสัตว์ตระกูลสัตว์ปีกและโคกระบือไม่มีแนวโน้มติดเชื้อโควิด 19 ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงด้วยข้อความและรูปภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน ที่อ้างว่าไวรัสโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้าสามารถระบาดจากคนสู่นก จนมีนกตายยกฝูงในอินเดีย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck Center ทำการตรวจสอบที่มาของภาพ พบว่าเป็นภาพที่เคยเผยแพร่ทางออนไลน์มาตั้งแต่ปี 2016 และยังเคยใช้เป็นภาพประกอบข่าวปลอมอื่นๆ มาแล้วเช่นกัน ฮงเซียวยู นักวิจัยจากศูนย์วิจัยนิเวศวิทยาสำหรับนก มหาวิทยาลัย Ping University of Science and Technology ได้ตรวจสอบภาพแล้วอธิบายว่า นกส่วนใหญ่ในภาพเป็นนกกิ้งโครงและนกจาบคา และคาดว่าสาเหตุการตายยกฝูงอาจเกิดจากการกินของมีพิษเข้าไป ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2021 จากเว็บไซต์ขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) มีการระบุรายชื่อสัตว์ที่พบรายงานว่าติดเชื้อโควิด 19 ประกอบไปด้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Pfizer ทำให้เป็นอัลไซเมอร์และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จริงหรือ?

9 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stop Fake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นข้อมูลที่บิดเบือนโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าสาร mRNA ที่ฉีดบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน จะส่งผลไปยังโปรตีนในสมองได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่จากบทความของโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่อ้างว่าคนที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer / BioNTech มีความเสี่ยงที่ระบบประสาทจะถูกทำลายในอนาคต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: บทความนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Microbiology & Infectious Diseases เจ้าของบทความได้แก่ จอห์น บาร์ท คลาสเซน นักภูมิคุ้มกันวิทยาและเป็นนักเคลื่อนไหวต่อต้านการฉีดวัคซีนชาวอเมริกัน ที่อ้างว่า ส่วนประกอบในวัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer ก่อให้เกิดการม้วนพับโปรตีนจนมีรูปร่างผิดปกติ (Protein Misfolding) นำไปสู่การทำลายระบบประสาทในระยะยาว และสามารถพัฒนาไปสู่การป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s) และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) แนวคิดของ จอห์น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้ไข้หวัดรุนแรงขึ้น จริงหรือ?

9 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นข้ออ้างที่เป็นเท็จ ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่า ไวรัสโควิด 19 หรือวัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้อาการป่วยจากไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่รุนแรงขึ้น เพราะสาเหตุมาจากไวรัสคนละชนิดกัน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อมูลเท็จทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา ว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้อาการป่วยจากไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่มีความรุนแรงจนถึงชีวิต ซึ่งภายหลังข้อความดังกล่าวถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม ผู้โพสต์อ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้ไข้หวัดมีความรุนแรงยิ่งขึ้น การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนจึงเริ่มในช่วงที่ฤดูการระบาดของไข้หวัดผ่านพ้นไปแล้ว แต่เมื่อฤดูหนาวครั้งต่อไปมาถึง จะเกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่าโควิด 21 ซึ่งคราวนี้จะมีคนเสียชีวิตจริงๆ โดยอาการจะคล้ายกับป่วยเป็นไข้หวัด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่วัคซีนโควิด 19 ไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนป่วยเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตอย่างที่กล่าวอ้าง ดร.เบรนท์ สต็อกเวลล์ ศาสตราจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีววิทยา มหาวิทยาลัย Columbia University อธิบายว่า เป็นการกล่าวอ้างที่ไร้เหตุผลรองรับ ไวรัสโควิด […]

1 19 20 21 22 23
...