อินเดียเปิดฉากเลือกตั้งวันนี้

นิวเดลี 19 เม.ย.- อินเดียเตรียมเปิดคูหาเลือกตั้งสมาชิกโลกสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร 543 ที่นั่ง ในวันนี้ โดยจะใช้เวลายาวนานที่สุดถึง 44 วัน ไปจนถึง 1 มิถุนายน เป็นการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งอินเดียประจำรัฐมิโซรัมที่เป็นรัฐห่างไกลของอินเดีย ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ในหน่วยเลือกตั้ง ก่อนเริ่มลำเลียงไปตามหน่วยเลือกตั้งภายในรัฐ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งในรัฐเมฆาลัย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศที่ต้องแบกหีบบัตรเลือกตั้งเดินลุยน้ำและขึ้นเขา เพื่อนำไปใช้ในหน่วยเลือกตั้งที่อยู่ห่างไกล ขณะที่ในอีกหลายรัฐ ไม่ว่าจะเป็นในรัฐมหาราษฏระ รัฐจัมมูและแคชเมียร์ และรัฐสิกขิม ทหารจำนวนหลายหมื่นนายเตรียมกระจายกำลังไปตามหน่วยเลือกตั้งและพื้นที่เสี่ยงเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย ในวันนี้ อินเดียเปิดฉากจัดการเลือกตั้งโลกสภาสมัยที่ 18 ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นเวลาถึง 6 สัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 1 มิถุนายน เพื่อเลือกสมาชิกโลกสภาชุดใหม่จำนวน 543 คน ถือเป็นการเลือกตั้งครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งกว่า 969 ล้านคนทั่วประเทศ มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรโลก ผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดระบุว่า พรรคภารติยะ ชนะตะ หรือบีเจพี (BJP) ของนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี ซึ่งเป็นพรรคชาตินิยมฮินดูและพันธมิตร […]

ฝ่ายค้านเกาหลีใต้คว้าชัยเลือกตั้งสมาชิกสภา

โซล 11 เม.ย.- การเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติของเกาหลีใต้เมื่อวานนี้ ผลออกมาแล้วปรากฎว่า ฝ่ายค้านได้รับชัยชนะครองเสียงข้างมากได้ต่อไป สำนักข่าวยอนฮับของเกาหลีใต้รายงานว่า พันธมิตรพรรคฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปไตยหรือดีพี (DP) ได้ที่นั่งรวมกัน 187 ที่นั่งจากทั้งหมด 300 ที่นั่ง ขณะที่พรรคพลังประชาชนหรือพีพีพี (PPP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลและพรรคพันธมิตรได้ที่นั่งรวมกัน 108 ที่นั่ง สะท้อนถึงความนิยมตกต่ำของนายยุน ซอก-ยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และพรรคพีพีพีที่เผชิญปัญหารุมเร้ามากมาย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจปากท้องประชาชน การพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้สมาชิกระดับสูงของพรรคพีพีพีหลายคนประกาศลาออก นาย ยูน ยังคงเหลือเวลาในวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีก 3 ปี แต่เมื่อไม่สามารถชิงเสียงข้างมากในสภามาได้เช่นนี้ จะทำให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่บริหารประเทศโดยไม่มีเสียงข้างมากในสภา ซี่งจะยิ่งทำให้เขาผลักดันผลงานต่าง ๆ ได้ยากยิ่งขี้นไปอีก เขาต้องเผชิญแรงกดดันมากขึ้นในการแก้ปัญหาราคาสินค้าอาหารที่เพิ่มสูง ปัญหาสังคมสูงอายุ และกรณีแพทย์หยุดงานประท้วงต่อต้านนโยบายรัฐบาล นอกจากนั้นยังมีเรื่องอื้อฉาวกรณีภรรยาของเขารับของกำนัลเป็นเครื่องใช้หรูหรา รวมไปถึงข้อครหาทุจริตของคนในพรรคด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้งของเกาหลีใต้เผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ออกไปใช้สิทธิมากถึงร้อยละ 67 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 44.28 ล้านคน ถือว่ามากที่สุดในรอบ 32 ปี.-812(814).-สำนักข่าวไทย

อดีตผู้นำไต้หวันพบ “สี จิ้นผิง”ที่จีน

ปักกิ่ง 10 เม.ย.- นายหม่า อิงจิ่ว อดีตประธานาธิบดีไต้หวันพบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนที่กรุงปักกิ่งในวันนี้ เป็นการพบกันครั้งที่ 2 และมีขึ้นก่อนที่ประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวันจะสาบานตนรับตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม สื่อทางการจีนรายงานเรื่องประธานาธิบดีสีพบกับนายหม่าที่กรุงปักกิ่ง แต่ยังไม่ได้รายงานรายละเอียดเนื้อหาการพบกัน นายหม่าวัย 73 ปี ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไต้หวันปี 2551-2559 เขาไปเยือนจีนเมื่อปี 2566 นับเป็นอดีตประธานาธิบดีไต้หวันคนแรกที่ไปเยือนจีน หลังจากรัฐบาลสาธารณรัฐจีนพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองในปี 2492 แล้วหนีไปยังเกาะไต้หวัน และไม่เคยมีประธานาธิบดีไต้หวันในตำแหน่งไปเยือนจีนแม้แต่ครั้งเดียว อย่างไรก็ดี เขาเคยประชุมสุดยอดกับประธานาธิบดีสีนอกรอบการประชุมระหว่างประเทศที่สิงคโปร์เมื่อปลายปี 2558 นายหม่ายังคงเป็นสมาชิกอาวุโสของพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักของไต้หวันที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีให้แก่พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าหรือดีพีพี (DPP) เป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกันเมื่อเดือนมกราคม พรรคก๊กมินตั๋งสนับสนุนการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจีน แต่ยืนยันว่าไม่ได้ฝักใฝ่จีน การเยือนจีนครั้งนี้ของนายหม่ามีขึ้นก่อนที่นายไล่ ชิงเต๋อ จากพรรคดีพีพีจะสาบานตนรับตำแหน่งในวันที่ 20 พฤษภาคม สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงานว่า นายหม่านำคณะที่มีนักเรียนนักศึกษารวมอยู่ด้วยเดินทางถึงกรุงปักกิ่งเมื่อวันอาทิตย์ หลังจากตระเวนเยือนมณฑลกวางโจวและมณฑลฉ่านซี เกียวโดรายงานว่า สื่อไต้หวันรายงานในตอนแรกว่า นายหม่าอาจพบกับประธานาธิบดีในวันจันทร์ แต่ต่อมารายงานว่ากำหนดการพบกันอาจถูกเลื่อนมาเป็นวันนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐประชุมสุดยอดกับนายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะของญี่ปุ่นที่กรุงวอชิงตัน.-814.-สำนักข่าวไทย

เกาหลีใต้เลือกตั้งสมาชิกสภาที่จะชี้ชะตารัฐบาล

โซล 10 เม.ย.- ชาวเกาหลีใต้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติในวันนี้ ผลการเลือกตั้งจะชี้ชะตารัฐบาลยุน ซอก-ยอลว่าจะสามารถเดินหน้านโยบายโดยได้รับการสนับสนุนจากสภาในช่วงเวลา 3 ปีที่เหลือหรือไม่ คูหาเลือกตั้ง 14,259 แห่งทั่วประเทศเปิดตั้งแต่เวลา 06:00 น.ถึงเวลา 18:00 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น เร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมง มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า 30 ล้านคน ส่วนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีผู้มีใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้ามากถึงร้อยละ 31.28 มากที่สุดนับตั้งแต่เกาหลีใต้เปิดให้ลงคะแนนล่วงหน้ามาตั้งแต่ปี 2557  สะท้อนว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนสูงมาก เป็นการลงคะแนนเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติ 300 ที่นั่ง มีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่า พรรคประชาธิปไตยหรือดีพี (DP) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านหลักจะได้ที่นั่งมากกว่าพรรคพลังประชาชนหรือพีพีพี (PPP) ที่เป็นพรรครัฐบาล บางคนถึงกับคาดว่า พันธมิตรฝ่ายค้านจะกวาดที่นั่งรวมกันมากกว่า 200 ที่นั่ง พรรคพีพีพีขอคะแนนเสียงจากประชาชนด้วยการอ้างว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมารัฐบาลนายยุนที่จะครบวาระในปี 2570 ไม่สามารถผลักดันนโยบายปฏิรูปได้ตามที่หาเสียงไว้ เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือจากรัฐสภาที่พรรคฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก ขณะที่พรรคดีพีขอให้ประชาชนร่วมกันลงคะแนนเพื่อลงโทษรัฐบาลที่ไร้ประสิทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเลวร้ายลงอย่างร้ายแรง อีกทั้งยังจัดการประเด็นปัญหาต่าง ๆ ได้ไม่ดีตลอด 2 ปีที่ผ่านมา.-814.-สำนักข่าวไทย

“ไบเดน” วิจารณ์นายกฯ อิสราเอล “ทำพลาด”

วอชิงตัน 10 เม.ย.- ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐให้สัมภาษณ์แสดงความกังวลต่อการกระทำของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูของอิสราเอล โดยระบุว่า ทำผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการโจมตีขบวนรถและเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ในกาซา ประธานาธิบดีไบเดนให้สัมภาษณ์ยูนิบิชอน (Univision) ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์พูดภาษาสเปนรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐ และมีการออกอากาศเมื่อวันที่ 9 เมษายนตามเวลาสหรัฐว่า เขาคิดว่านายกรัฐมนตรีเนทันยาฮูทำผิดพลาด และไม่เห็นด้วยกับวิธีการของผู้นำอิสราเอล การใช้โดรนโจมตีขบวนรถบรรเทาทุกข์บนทางหลวงถือเป็นเรื่องที่อุกอาจ เขาจึงได้เรียกร้องให้อิสราเอลเสนอเรื่องหยุดยิงในช่วง 6-8 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อให้สามารถลำเลียงอาหารและยาเข้าไปในกาซา เขาได้หารือเรื่องกับทุกฝ่ายทั้งซาอุดีอาระเบีย จอร์แดน และอียิปต์ ซึ่งพร้อมจะนำอาหารเข้าไป เรื่องนี้จำเป็นต้องดำเนินการโดยทันที ประธานาธิบดีไบเดนยังได้กล่าวถึงเรื่องคนเข้าเมือง ซึ่งเป็นประเด็นหลักในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ว่า ขณะนี้มีคนพยายามข้ามพรมแดนเข้ามาในสหรัฐมากกว่าวันละ 5,000 คน แต่เนื่องจากกฎหมายที่จะให้อำนาจเขาสั่งปิดพรมแดนถูกพรรครีพับลิกันขัดขวางในรัฐสภา ทำให้เขาต้องหาทางดำเนินการเอง ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายดังกล่าว ไบเดนกล่าวด้วยว่า เขาหวังว่าจะสามารถทำตามคำพูดที่ให้ไว้ว่า เหตุผลที่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งคือ ต้องการช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนธรรมดาทั่วไปและลดโอกาสที่จะเกิดสงคราม.-814.-สำนักข่าวไทย   

สตรีหมายเลข 1 เกาหลีใต้หายหน้าตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค.

โซล 8 เม.ย.- คิม คอน-ฮี สตรีหมายเลข 1 ของเกาหลีใต้ไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณะตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม 2566 หลังจากพัวพันเรื่องอื้อฉาวหลายเรื่อง และคาดว่าจะยังเก็บตัวต่อไปในช่วงที่เกาหลีใต้จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาในวันที่ 10 เมษายน สตรีหมายเลข 1 ของเกาหลีใต้เก็บตัวนับตั้งแต่กลับจากการเยือนเนเธอร์แลนด์พร้อมกับประธานาธิบดียุน ซอก-ยอลเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 นักวิเคราะห์ทางการเมืองเชื่อว่า เป็นการตัดสินใจทางการเมืองเพื่อปกป้องพรรคพลังประชาชนหรือพีพีพี (PPP) ที่นายยุนสังกัดอยู่ ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากเรื่องอื้อฉาวของเธอ เพราะพรรคกำลังต่อสู้อย่างหนักเพื่อให้กลับมาครองเสียงข้างมากในสภาอีกครั้ง ขณะที่ประธานาธิดียุนในฐานะผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐบาลไม่สามารถหาเสียงให้แก่พรรคเนื่องจากกฎหมายกำหนดห้ามไว้ นางคิม วัย 51 ปี ยอมรับในปี 2564 ก่อนที่สามีจะชนะเลือกตั้งในปี 2565 ว่า เธอปลอมแปลงประวัติส่วนตัวในการสมัครงานที่มหาวิทยาลัยในปี 2550 และ 2556 และเมื่อเดือนธันวาคม 2566 รัฐสภาที่พรรคประชาธิปไตย ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านครองเสียงข้างมากได้ผ่านญัตติให้อัยการพิเศษสอบสวนข้อกล่าวหาเรื่องเธอพัวพันกับการปั่นหุ้นก่อนสามีรับตำแหน่ง แต่ประธานาธิบดียุนได้ใช้สิทธิยับยั้งมตินี้ในวันที่ 5 มกราคม 2567 และในเดือนเดียวกันนี้ มีการเผยแพร่คลิปแอบถ่ายเห็นสตรีหมายเลข 1 เกาหลีใต้รับกระเป๋าแบรนด์หรูเป็นของขวัญ สำนักสำรวจเรียลมิเตอร์เผยแพร่ผลการสอบถามความเห็นชาวเกาหลีใต้ 2,509 คนในวันนี้ว่า […]

เม็กซิโกระงับสัมพันธ์กับเอกวาดอร์เหตุบุกสถานทูต

เม็กซิโกซิตี 6 เม.ย.- เม็กซิโกระงับความสัมพันธ์ทวิภาคีกับเอกวาดอร์ หลังจากทางการเอกวาดอร์บุกจับกุมอดีตรองประธานาธิบดีเอกวาดอร์ที่หลบซ่อนตัวอยู่ในสถานทูตเม็กซิโกในกรุงกีโตของเอกวาดอร์ ประธานาธิบดีอันเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ของเม็กซิโกโพสต์ผ่านเอ็กซ์ (X) ว่า ตำรวจเอกวาดอร์ใช้กำลังบุกเข้าไปในสถานทูตเม็กซิโกในกรุงกีโต จับกุมนายฮอร์เฆ กลาส อดีตรองประธานาธิบดีเอกวาดอร์เมื่อเย็นวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น เขาจึงได้สั่งการให้อาลิเซีย บาร์เซนา รัฐมนตรีต่างประเทศเม็กซิโกระงับความสัมพันธ์ทางการทูตกับเอวาดอร์ เนื่องจากการบุกจับดังกล่าวเป็นการกระทำแบบเบ็ดเสร็จ และเป็นการละเมิดกฎหมายสากลและอธิปไตยของเม็กซิโก หลังจากนั้นไม่นานนางบาร์เซนาโพสต์ผ่านเอ็กซ์ว่า เม็กซิโกขอระงับความสัมพันธ์ทางการทูตกับเอกวาดอร์ อดีตรองประธานาธิบดีกลาสถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาทุจริต 2 คดี เขาหลบซ่อนตัวอยู่ในสถานทูตเม็กซิโกตั้งแต่ยื่นขอลี้ภัยทางการเมืองเมื่อเดือนธันวาคม 2566 เม็กซิโกอนุมัติคำขอเมื่อวันศุกร์ ก่อนที่ตำรวจเอกวาดอร์บุกเข้ามาจับกุมในวันเดียวกัน ทำเนียบประธานาธิบดีเอกวาดอร์แถลงว่า ได้จับกุมนายกลาสที่เป็นรองประธานาธิบดีสมัยรัฐบาลราฟาเอล กอร์เรอาระหว่างปี 2556-2560 และนำตัวไปยังศาลแขวงในกรุงกีโต โดยมีการวางกำลังทหารรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา แถลงการณ์ยังได้ตำหนิเม็กซิโกว่าอนุมัติให้นายกลาสลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย การบุกจับกุมอดีตรองประธานาธิบดีเอกวาดอร์เป็นความตึงเครียดล่าสุดระหว่างเม็กซิโกที่อยู่ทางใต้สุดของทวีปอเมริกาเหนือ กับเอกวาดอร์ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ หลังจากเอกวาดอร์ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีให้เอกอัครราชทูตเม็กซิโกในกรุงกีโตเป็นบุคคลไม่พึงปรารถนา อันเนื่องจากการที่ผู้นำเม็กซิโกแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การเลือกตั้งนองเลือดในเอกวาดอร์เมื่อปีก่อนที่มีการลอบสังหารผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี.-814.-สำนักข่าวไทย

กกต.เอาผิดย้อนหลังอดีต สส.ก้าวไกล ชงศาลฟันเพิกถอนสิทธิ

กกต.เอาผิดย้อนหลังเด็กก้าวไกล “นครชัย ขุนณรงค์ ” ปมรู้ไม่มีสิทธิสมัครแต่ยังลงสมัคร ชงศาล รธน. ฟันเพิกถอนสิทธิ ดำเนินคดีอาญา เรียกชดใช้ค่าจัดเลือกตั้ง

อินเดียขังแกนนำฝ่ายค้านก่อนถึงวันเลือกตั้งทั่วไป

นายอาร์วินด์ เกจรีวัล (Arvind Kejriwal) มุขมนตรีเดลีและแกนนำฝ่ายค้านของอินเดีย ถูกศาลสั่งจำคุกไปจนถึงวันที่ 15 เมษายน ก่อนที่อินเดียจะเปิดฉากการเลือกตั้งทั่วไป หรือเลือกตั้ง สส. ในวันที่ 19 เมษายน จนถึงวันที่ 1 มิถุนายน

ว่าที่ ปธน. อินโดนีเซียปฎิเสธคำร้องเรียนของผู้แพ้เลือกตั้ง

ทีมกฎหมายของนายปราโบโว ซูเบียนโต ว่าที่ประธานาธิบดีอินโดนีเซียกล่าววันนี้ว่า ความพยายามของผู้ที่แพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์นายซูเบียนโต จะเป็นการไม่ยอมรับสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน

ผู้สมัคร ปธน.อินโดนีเซียขอศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิว่าที่ ปธน.

จาการ์ตา 27 มี.ค.- นายอานีส บาเวดัน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่พ่ายแพ้การเลือกตั้งเมื่อเดือนก่อน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่เพราะมีการแทรกแซงจากรัฐ และขอให้ตัดสิทธินายพลปราโบโว ซูเบียนโตที่ชนะการเลือกตั้งดังกล่าว นายบาสเวดัน อดีตผู้ว่าการกรุงจาการ์ตาปี 2660-2565 วัย 54 ปี ให้การต่อศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ว่า การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ไม่เสรีและไม่เป็นธรรม เพราะมีการละเมิดกระบวนประชาธิปไตย เริ่มตั้งแต่การใช้อำนาจแทรกแซงความเป็นอิสระของการเลือกตั้ง การใช้หน่วยงานของรัฐทำให้ผู้สมัครชนะเลือกตั้งทั้งที่ไม่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ การกดดันหรือการตอบแทนเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อให้มีอิทธิพลต่อทิศทางของคะแนนเสียง ไปจนถึงการนำความช่วยเหลือทางสังคมของรัฐบาลไปใช้เพื่อเอื้อประโยชน์แก่ผู้สมัคร นายบาสเวดันกล่าวว่า การแทรกแซงนี้ยังลามไปถึงผู้มีอำนาจในศาลรัฐธรรมนูญที่ควรจะเป็นปราการด่านสุดท้ายของหลักการประชาธิปไตย ดังนั้นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งจัดการเลือกตั้งใหม่และตัดสิทธินายพลปราโบโวไม่ให้ลงเลือกตั้งใหม่ ด้านทนายความของนายพลปราบโบโวให้การว่า คำให้การของนายอานีสตั้งอยู่บนสมมติฐานและไม่มีหลักฐานมีน้ำหนักสนับสนุน ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่จัดขึ้นในวันเดียวกับการเลือกตั้งรองประธานาธิบดี การเลือกตั้งสมาชิกสภาระดับประเทศและระดับท้องถิ่น นายพลปราโบโววัย 72 ปี จากพรรคเกอรินดรา กวาดคะแนนไปร้อยละ 58.59 ทิ้งห่างนายบาสเวดัน ผู้สมัครอิสระที่ได้คะแนนร้อยละ 24.95 และนายกันจาร์ ปราโนโว จากพรรคพีดีไอ-พีที่ได้คะแนนร้อยละ 16.47.-814.-สำนักข่าวไทย  

ผู้นำเมียนมาเผยเลือกตั้งครั้งหน้าอาจไม่ทั่วประเทศ

เนปิดอว์ 25 มี.ค.- พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาเผยว่า มีแผนจะจัดการเลือกตั้งเมื่อประเทศมีสันติภาพและเสถียรภาพ แต่อาจไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ทั่วประเทศ สื่อทางการเมียนมาเผยแพร่เนื้อหาบางส่วนที่ พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่ายให้สัมภาษณ์สำนักข่าวทาสส์ของทางการรัสเซียว่า กองทัพเมียนมาที่รัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ยังคงมีแผนการจะนำประเทศกลับไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยกล่าวว่า หากประเทศมีสันติภาพและเสถียรภาพ กองทัพก็มีแผนจะจัดการเลือกตั้งในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องให้ได้มากที่สุด แม้ว่าอาจจะไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ทั่วประเทศตามกฎหมาย รัฐบาลทหารเมียนมาได้ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทุก 6 เดือนนับตั้งแต่รัฐประหาร โดยอ้างว่าจำเป็นต้องทำให้ประเทศมีเสถียรภาพและกวาดล้างฝ่ายต่อต้านที่รัฐบาลระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้าย ขณะที่สหประชาชาติเผยว่า เมียนมาได้ยิงปืนใหญ่และส่งเครื่องบินขับไล่ไปโจมตีกลุ่มติดอาวุธที่เป็นพันธมิตรกับรัฐบาลเงาและกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้ประชาชนมากกว่า 2 ล้าน 3 แสนคนต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่น ด้านชาติตะวันตกชี้ว่า การเลือกตั้งของเมียนมาจะเป็นเพียงการแสดงตบตา เพราะมีพรรคการเมืองถูกยุบไปแล้วมากกว่า 40 พรรคนับตั้งแต่รัฐประหาร และมีระเบียบข้อห้ามมากมายที่ทำให้ยากจะมีพรรคการเมืองขึ้นมาท้าทายพรรคตัวแทนของกองทัพได้.-814.-สำนักข่าวไทย

1 14 15 16 17 18 288
...