แจงโควิดสายพันธุ์ XAY.2 ไม่รุนแรงกว่าเดิม แค่แพร่เชื้อเร็ว

กรมวิทย์ฯ แจงโควิดสายพันธุ์ XAY.2 พบทั่วโลก 344 คน พบในไทยแค่ 1 คน เป็นการผสมระหว่างเดลตาและโอไมครอน แต่ไม่รุนแรงหนักกว่าเดิม แค่แพร่เชื้อเร็ว ส่วนสายพันธุ์ที่พบในจีน BA.5.2 และ BF.7 ไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่

พบสายพันธุ์ XAY.2 ลูกผสมเดลตา-โอไมครอนในไทย

กรมวิทย์ฯ ตรวจพบสายพันธุ์ XAY.2 ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างเดลตา AY.45 กับโอไมครอน BA.4/5 ในไทย 1 ราย ส่วน XBB.1.5 ที่ระบาดในสหรัฐ ยังไม่พบในไทย

ฮ่องกงจะนำเข้าแฮมสเตอร์อีกครั้งหลังกำจัดไปช่วงโควิดระบาดหนัก

ฮ่องกง 5 ม.ค.- ฮ่องกงจะเริ่มนำเข้าหนูแฮมสเตอร์อีกครั้งในปลายเดือนนี้ หลังจากฆ่าแฮมสเตอร์ประมาณ 2,000 ตัวเมื่อเกือบหนึ่งปีก่อนในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดหนัก สำนักงานเกษตร ประมงและอนุรักษ์ของฮ่องกงเผยวันนี้ว่า ทางการจะอนุญาตให้นำเข้าแฮมสเตอร์มาจำหน่ายได้ตั้งแต่เดือนนี้ แต่ต้องมีผลตรวจหาเชื้อโควิดเป็นลบ ฮ่องกงสั่งระงับการนำเข้าแฮมสเตอร์ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคม 2565 หลังจากพนักงานร้านจำหน่ายสัตว์เลี้ยงแห่งหนึ่งและแฮมสเตอร์สิบกว่าตัวมีผลตรวจหาเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาเป็นบวก นอกจากนี้ยังได้สั่งให้ผู้เลี้ยงนำแฮมสเตอร์มามอบให้ทางการกำจัด จุดกระแสตำหนิจากชาวฮ่องกงและนักพิทักษ์สิทธิสัตว์ ทางการอ้างว่า ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์พบว่าแฮมสเตอร์พันธุ์ซีเรียสามารถติดโควิดและแพร่ต่อให้คนได้ การกำจัดแฮมสเตอร์ครั้งใหญ่มีขึ้นในช่วงที่เชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนเริ่มระบาดในฮ่องกง ก่อนคร่าชีวิตคนไปทั้งหมด 9,000 คน ถือเป็นอัตราเสียชีวิตสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร สาเหตุหลักเป็นเพราะผู้สูงอายุไม่ยอมฉีดวัคซีน.-สำนักข่าวไทย

ผลวิจัยชี้โอไมครอนทำให้เสี่ยงเป็นลองโควิดน้อยกว่าเดลตา

ลอนดอน 17 มิ.ย. – ผลวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน ของอังกฤษ ระบุว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนทำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดเกิดภาวะลองโควิด (Long Covid) ได้น้อยกว่าเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน ของอังกฤษเผยแพร่ผลวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในในวารสารการแพทย์เดอะแลนเซ็ต (The Lancet) เมื่อวันพฤหัสบดีว่า ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนในอังกฤษมีโอกาสเกิดภาวะลองโควิดลดลงร้อยละ 20-50 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา แต่ตัวเลขดังกล่าวขึ้นอยู่กับอายุและระยะเวลาที่ฉีดวัคซีนโควิดครั้งล่าสุดของผู้ที่เคยติดเชื้อ ผลวิจัยชิ้นนี้พบว่า มีผู้ป่วยภาวะลองโควิดเพียงร้อยละ 4.5 จากผู้ที่เคยติดโควิดทั้งหมด 56,003 คนในเดือนธันวาคม 2564 ถึงมีนาคม 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่อังกฤษเผชิญกับการระบาดรุนแรงของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ขณะที่พบผู้ป่วยภาวะลองโควิดมากถึงร้อยละ 10.8 จากผู้ที่เคยติดโควิดทั้งหมด 41,361 คนในเดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่อังกฤษเผชิญกับการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา คณะนักวิจัยยังระบุว่า ผลวิจัยของมหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ ลอนดอน เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนไม่ได้ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะลองโควิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ตัวเลขผู้ป่วยภาวะลองโควิดลดลงแต่อย่างใด เนื่องจากสายพันธุ์ดังกล่าวสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้พบผู้ป่วยภาวะลองโควิดเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน.-สำนักข่าวไทย

บังกลาเทศปิดโรงเรียนอีกครั้งเพราะโอไมครอนระบาด

ธากา 3 ก.พ.- บังกลาเทศปิดโรงเรียนอีกครั้ง เนื่องจากมีผู้ติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์โอไมครอน เดิมบังกลาเทศประกาศปิดโรงเรียนเป็นเวลา 2 สัปดาห์จนถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ แต่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเมื่อวานนี้ว่าจะขยายการปิดโรงเรียนต่อไปอีก ครูที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงธากาไม่พอใจที่นักเรียน 500 คนต้องกลับมาเรียนออนไลน์ เพราะเด็กจะไม่ได้รับความรู้เหมือนการเรียนในชั้นเรียน และครูผู้สอนต้องใช้อุปกรณ์การสอนเพิ่มเติมเพื่อให้เด็กเข้าใจมากขึ้น นอกจากนี้การที่เด็กไม่ได้มาเจอเพื่อนที่โรงเรียน ทำให้เสียโอกาสเรื่องการพัฒนาทักษะในการเข้าสังคม หลายฝ่ายรู้สึกแปลกใจที่ทางการบังกลาเทศสั่งปิดโรงเรียน แต่ให้จัดงานทางธุรกิจ เช่น งานจัดแสดงสินค้านาน 1 เดือนที่เริ่มขึ้นเมื่อเดือนก่อน มีคนจำนวนมากแห่แหนเข้าไปดูสินค้าทุกวัน โดยไม่ใส่ใจต่อระเบียบด้านสาธารณสุข และในเดือนนี้ยังจะมีเทศกาลหนังสือนาน 1 เดือนในกรุงธากาที่คาดว่าจะมีคนไปร่วมงานหนาแน่นยิ่งขึ้นไปอีก บังกลาเทศมียอดติดเชื้อสะสมมากกว่า 1 ล้าน 8 แสนคน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 28,000 คน เดือนมกราคมที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 200,000 คน และเสียชีวิต 322 คน เพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดือนธันวาคมที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่ถึง 9,000 คน และเสียชีวิต 92 คน ขณะนี้เชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนยังไม่สร้างความโกลาหลมากเท่าสายพันธุ์เดลตาที่ระบาดก่อนหน้านี้ แต่สถานการณ์อาจย่ำแย่ลงหากยอดติดเชื้อเพิ่มขึ้นไม่หยุด […]

ไซปรัสพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาผสมโอไมครอน

นักวิชาการประจำมหาวิทยาลัยไซปรัสและหัวหน้าห้องปฏิบัติการทดลองไบโอเทคโนโลยีและไวรัสวิทยาระดับโมเลกุล ค้นพบเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์ผสมระหว่างเดลตากับโอไมครอนในไซปรัส

ปลัด สธ. เชื่อ “โอไมครอน” ไม่แรงเท่า “เดลตา”

ปลัด สธ. เชื่อโอไมครอนไม่แรงเท่าเดลตา อัตราตายและเสียชีวิตน้อยกว่า ครึ่งหนึ่ง เสนอสูตรฉีดวัคซีน แอสตราฯ เป็นเข็มกระตุ้น หรือเข็ม 3 ในกลุ่มคนที่รับวัคซีน แอสตราฯ 2 เข็ม เตรียมเสนอคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันพิจารณา

ผู้ติดโควิดรายใหม่ในสหรัฐเป็นโอไมครอนกว่า 70%

วอชิงตัน 21 ธ.ค.- เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหรัฐแจ้งว่า เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์โอไมครอนแซงทุกสายพันธุ์ขึ้นมาเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐแล้ว เนื่องจากผู้ติดเชื้อรายใหม่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เป็นสายพันธุ์โอไมครอนถึงร้อยละ 73 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐหรือซีดีซี (CDC) เผยว่า สัดส่วนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนเพิ่มขึ้นเกือบ 6 เท่าภายในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว โดยเพิ่มขึ้นมากกว่า 650,000 คน ทั้งที่เมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายนผู้ติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 99.5 ยังเป็นสายพันธุ์เดลตาที่กลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐตั้งแต่สิ้นเดือนมิถุนายน พญ.โรเชลล์ วาเลนสกี ผู้อำนวยการซีดีซีชี้ว่า สถานการณ์ในสหรัฐไม่ต่างจากหลายประเทศที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นสายพันธุ์โอไมครอนมากขึ้น อย่างไรก็ดี ซีดีซียังไม่ได้ประเมินว่า มีผู้ติดเชื้อเข้าโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตเพราะสายพันธุ์โอไมครอนมากน้อยเพียงใด นักวิทยาศาสตร์ในทวีปแอฟริกาเตือนเรื่องไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนเป็นแห่งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะประกาศเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนให้เป็น “สายพันธุ์ที่น่ากังวล” แต่ขณะนี้พบสายพันธุ์นี้ในประเทศต่าง ๆ แล้วราว 90 ประเทศ.-สำนักข่าวไทย

สธ.เตรียมแถลงติดเชื้อโอไมครอนทุกสัปดาห์

สธ.เตรียมแถลงสถานการณ์การติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ทุกสัปดาห์ เริ่มจันทร์นี้ ส่วนผู้เสียชีวิตขณะนี้ ยังเป็นคนที่ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา

ชี้โอไมครอนสามารถติดเชื้อซ้ำได้มากกว่าเดลตา

การศึกษาของมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ในกรุงลอนดอนของอังกฤษ เปิดเผยว่า ความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อซ้ำของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน สูงกว่าสายพันธุ์เดลตาถึง 5 เท่า และไม่มีสัญญาณใด ๆ แสดงให้เห็นว่าจะรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา

1 2 3 6
...