fbpx

เกษตรสร้างชาติ : สหกรณ์แปลงใหญ่ประมงบ้านสร้างพัฒนา

ที่นิคมบ้านสร้างพัฒนา จ.ปราจีนบุรี เกษตรกรจัดตั้งเป็นสหกรณ์การเกษตรมากว่า 40 ปีแล้ว โดยมีกรมส่งเสริมสหกรณ์เข้าไปสนับสนับการขับเคลื่อนด้านต่างๆ ขณะนี้เกษตรกรกำลังประกอบอาชีพเลี้ยงปลาและเลี้ยงกุ้ง รายได้มั่นคงดีมาก

รมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่ติดตามเกษตรแปลงใหญ่ จ.ชัยภูมิ

รมช.เกษตรฯ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานเกษตรแปลงใหญ่จังหวัดชัยภูมิ พร้อมเยี่ยมชมการพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ “หนองแวงโมเดล”

เกษตรสร้างชาติ : ส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ เรียนรู้เพิ่มผลผลิตส้มโอ

กรมส่งเสริมการเกษตรเดินหน้าโครงการเกษตรแปลงใหญ่ โดยเปิดศูนย์การเรียนรู้การปลูกส้มโอ ที่ อ.อัมพวา สมุทรสงคราม

เกษตรสร้างชาติ : เกษตรแปลงใหญ่ข้าวโพดฝักอ่อน

อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ปลูกไร่ข้าวโพดฝักอ่อนจำนวนมาก สำนักงานเกษตรจังหวัดจึงเข้ามารวบรวมเกษตรกร ทำเป็นเกษตรแปลงใหญ่ พัฒนารูปแบบการผลิตให้เป็นแบบปลอดสารพิษ

ก.เกษตรฯ เดินหน้าสร้างความเข้มแข็งเกษตรกร

กระทรวงเกษตรฯ ชี้ปี 2560 มุ่งขับเคลื่อนภาคการเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืน ตั้งเป้าส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ 7,000 แปลงภายใน 5 ปี

รมว.เกษตรฯ สั่งทำแผนขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่

บางเขน  1 พ.ย. –  รัฐมนตรีเกษตรฯ สั่งทุกหน่วยงานทำแผนขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่  ขณะที่กรมส่งเสริมการเกษตรออกนโยบายช่วยชาวนาเต็มที่  หวังปฏิรูปภาคการเกษตรจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้ทุกกรมจัดทำแผนพัฒนาเกษตรขับเคลื่อนเกษตรแปลงใหญ่และส่งกลับมาที่กระทรวงฯ ภายใน 16.00 น.วันพรุ่งนี้ (2 พ.ย.) ทั้งนี้ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 พลเอกฉัตรชัย จะลงพื้นที่อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ พบกับกลุ่มตัวแทนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ทั่วประเทศ เพื่อรับฟังปัญหาและแก้ปัญหาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตรวางแนวทางในส่วนของระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 6 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 พัฒนาและสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานโดยการจัดหาแหล่งน้ำส่งถึงระดับไร่นา พัฒนาแหล่งน้ำ ระบบส่งน้ำ เพื่อให้ทำการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนสินเชื่อชาวนาดอกเบี้ยร้อยละ 0.01  ปรับปรุงจัดการปัจจัยการผลิต เช่น พันธุ์ปุ๋ย สารชีวภัณฑ์ เครื่องจักรกลขนาดเล็ก เงินทุนหมุนเวียนเพื่อรวบรวมลผลิต จัดหาและพัฒนาจัดการน้ำในแปลง และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เช่น โรงเรือน ลานตาก จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ ซึ่งเกษตรกรเริ่มรับสินเชื่อไปดำเนินการแล้ว 17 แปลงใหญ่ เป็นเงิน 53,570 ล้านบาท ส่วนมิติที่ 2 พัฒนาการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ สนับสนุนเกษตรกรให้ใช้เมล็ดพันธุ์ดีในการเพาะปลูก มิติที่ 3 ส่งเสริมการบริหารจัดการองค์กรแต่ละแปลงให้มีความเข้มแข็ง มิติที่ 4 บริหารจัดการโครงการเพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยจะให้เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร 1 คน ดูแลเกษตรกร 2 แปลง มิติที่ 5 ยกระดับคุณภาพผลผลิตข้าวให้ได้มาตรฐาน GAP จำนวน 380 กลุ่ม เกษตรกร 15,000 รายใน 6 จังหวัด คือ ยโสธร บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครพนม สกลนคร อำนาจเจริญ และข้าวหอมกระดังงาจังหวัดนราธิวาส และมิติที่ 6 ส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อลดปริมาณข้าวส่วนเกินของประเทศ ทำให้ชาวนามีรายได้จากการผลิตพืชอื่น ๆ และทำการเกษตรที่ยั่งยืนต่อไป.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 5
...