แอสตราเซเนกาเผยภูมิสำเร็จรูปลดติดโควิดในกลุ่มภูมิต่ำ

เคมบริดจ์ 16 พ.ค. – แอสตราเซเนกาเผยวันนี้ว่า ผลการทดลองในระยะปลายพบว่าการให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปชื่อ ซิปาวิบาร์ต (sipavibart) สามารถลดความเสี่ยงติดเชื้อโรคโควิด-19 ให้แก่ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายหลักของการทดลอง แอสตราเซเนกา ซึ่งเป็นบริษัทยาและเทคโนโลยีชีวภาพของอังกฤษและสวีเดนแถลงว่า การให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (Long-acting antibody (LAAB)) นี้สามารถลดความเสี่ยงมีอาการโควิดอย่างมีนัยสำคัญให้แก่ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยมะเร็งในระบบเลือด (มะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, มะเร็งไขกระดูก) ผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องฟอกไตทุกวัน ผู้ป่วยที่รับยากดภูมิคุ้มกัน แอสตราเซเนการะบุว่า ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของผู้ป่วยโควิดที่ต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล, หอผู้ป่วยวิกฤติ และผู้ป่วยที่เสียชีวิต ทั้งที่รับการฉีดวัคซีนแล้วหลายเข็ม แอสตราเซเนกาซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปนี้จากบริษัทอาร์คิว ไบโอ (RQ Bio) ในอังกฤษเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 แอสตราเซเนกาแจ้งผลการทดลองดังกล่าว หลังจากเรียกคืนวัคซีนต้านโควิด เมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน โดยให้เหตุผลว่า วัคซีนรุ่นล่าสุดมีปริมาณเกินความต้องการ บริษัทถูกตรวจสอบอย่างละเอียดในช่วงหลายเดือนมานี้เกี่ยวกับผลข้างเคียงหายากเรื่องผู้ฉีดวัคซีนเกิดภาวะลิ่มเลือดและเกล็ดเลือดต่ำ และกำลังถูกฟ้องร้องในกรุงลอนดอนจากผู้ได้รับผลกระทบมากกว่า 50 ราย.-814.-สำนักข่าวไทย  

สธ.เผยอาการไม่พึงประสงค์-เสียชีวิตจากวัคซีน

ผอ.กองระบาดวิทยา เผยข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์และการเสียชีวิตจากวัคซีน มีแค่ 1 คน พบภาวะลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำ หลังรับแอสตราฯ 6 วัน ซึ่งภาวะลิ่มเลือดสามารถแก้ไขได้ด้วยการรับยา IVIG แต่ต้องแจ้งแพทย์ และสังเกตอาการตัวเอง

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำคั้นใบมะละกอ ต้านไข้เลือดออก จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์แนะนำเรื่องการบดปั่นใบมะละกอดื่ม จะช่วยให้สู้กับโรคไข้เลือดออกได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ? ติดตามข้อเท็จจริงจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 อาการสัญญาณเตือนโรคมะเร็ง จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์วิธีสังเกต 3 อาการที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็ง เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปวิธีตบกระตุ้นน้ำเหลืองสำหรับคนเป็นหวัดง่ายใช้ได้ จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์คลิปวิธีตบกระตุ้นน้ำเหลืองสำหรับคนเป็นหวัด เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

...