fbpx

ผู้ว่าฯ พังงาสั่งหาสาเหตุเสียงดังหอเตือนภัยบ้านบางเนียง

พังงาเกิดเสียงดังจากหอเตือนภัยบ้านบางเนียง ผู้ว่าฯ ห่วงผู้คนสับสน แม้เหตุการณ์ปกติ แต่กำชับเร่งหาสาเหตุป้องกันเกิดซ้ำ ด้าน ปภ.จังหวัดคาดมาจากระบบอุปกรณ์ แต่ขอให้เชื่อมั่นมาตรการแจ้งเตือน ทดสอบระบบทุกวันพุธอยู่แล้ว หากมีเหตุไม่น่าวางใจหรือแผ่นดินไหว แจ้งประชาชนไปจุดปลอดภัยได้ทันที

ปภ.สตูลแจงเสียงเตือนภัยดังเป็นระบบทดสอบ

สตูล 2 ม.ค.- ผู้ว่าฯ สตูลพบข่าวลือสะพัดพายุ “ปาบึก” ทำประชาชนสับสน ย้ำให้ฟังข่าวสารจากทางราชการ และทุกหน่วยงานพร้อมเข้าพื้นที่ช่วยเหลือได้ทันที ด้าน ปภ.จังหวัดระบุหอเตือนภัยบ้านบากันเคยส่งสัญญาณดัง ยังไม่ใช่เตือนเหตุ เป็นการทดสอบระบบตามรอบ น.ส.สุนารี  บุญชุบ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสตูล เปิดเผยถึงการเตรียมรับมือฝนตกหนักหลายจังหวัดภาคใต้จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “ปาบึก” เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยวันที่ 3-5 ม.ค.นี้ ว่า   จังหวัดสตูลเร่งประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินสถานการณ์ และเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า ส่วนกรณีมีสัญญาณจากหอเตือนภัยดังขึ้น 1 ครั้งเมื่อเช้าวันนี้ (2 ม.ค.) ในพื้นที่บ้านบากันเคย ต.ตันหยงโป อ.เมือง เป็นระบบการทดสอบของการทำงานเครื่องเตือนภัยจะดังทุก ๆ วันพุธ เวลา 08.00 น. ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก และให้ติดตามข่าวสารจากส่วนราชการ อย่าเพิ่งหลงเชื่อข้อมูลที่แชร์กันในโซเชียล ด้านนายจารุวัฒน์   เกลี้ยงเกลา    ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล  กำชับทั้ง 7 อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานการทำงานให้เป็นระบบ เพื่อประสิทธิภาพในการช่วยเหลือหากมีเหตุฉับพลัน รวมถึงการทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะขณะนี้มีกระแสข่าวลือออกมาอาจทำให้ชาวบ้านสับสนได้ และขอให้ประชาชนมั่นใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้เตรียมแผนรับมือไว้แล้ว 100 […]

ภูเก็ตมั่นใจความพร้อมระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ซัดฝั่ง

ภูเก็ต 4 ต.ค.- ผู้ว่าฯ ภูเก็ตยืนยันทุกหน่วยงานและระบบเตือนภัยมีความพร้อมหากเกิดคลื่นยักษ์หรือสึนามิ แจ้งเตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยงได้เร็ว พร้อมทดสอบประสิทธิภาพหอเตือนภัยอยู่ตลอด มีเพียงบางจุดเสียงเบาสั่งแก้ไขแล้ว  ป้ายบอกทางอพยพยังใช้ได้ นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยถึงสึนามิถล่มชายฝั่งประเทศอินโดนีเซียและมีผู้เสียชีวิตจำนวนไม่น้อยว่า ในส่วนชายฝั่งอันดามันของประเทศไทยเคยเกิดคลื่นยักษ์ถล่มมาแล้วเช่นกันเมื่อปี 2547 ดังนั้น จังหวัดภูเก็ตจึงได้เตรียมพร้อมรับมือเช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ เพื่อความไม่ประมาท โดยจังหวัดภูเก็ตมีหอเตือนภัยครบทั้งหมดทั้ง 19 หอ ทั้ง 3 อำเภอ และการทดสอบระบบเตือนภัยทุกเช้าวันพุธพบว่าหอเตือนภัยยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ แม้มีบางจุดที่สัญญาณเสียงอาจเบาและขาดหายเป็นช่วง เช่น ที่หอเตือนภัยบ้านกมลา จ.ภูเก็ต แต่ก็มีการจัดระบบการทำงานเป็นอย่างดี คือ ช่วงการเฝ้าระวัง ได้ติดตั้งระบบตรวจจับแผ่นดินไหว 2 จุด จุดแรกอยู่ที่มหาสมุทรอินเดีย หากมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นจะสามารถแจ้งเตือนได้ภายใน 1.45 ชั่วโมง และจุดที่ 2 อยู่ห่างจากจังหวัดภูเก็ตประมาณ 29 กิโลเมตร หากเกิดคลื่นยักษ์สามารถแจ้งเตือนได้ภายใน 50 นาที  ส่วนช่วงการแจ้งเตือน หากเกิดคลื่นยักษ์จะแจ้งเตือนมายังภูเก็ต ซึ่งมีความพร้อมในการแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบตามระบบ ขณะเดียวกันหอเตือนภัยที่มีอยู่ได้ทดสอบการทำงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งป้ายหนีภัยที่อาจบางจุดชำรุด แต่เชื่อมั่นว่าป้ายหนีภัยที่มีมากกว่า 80 […]

...