ทีมนักบินอวกาศ “เสินโจว-16” ของจีนกลับถึงพื้นโลกอย่างปลอดภัย
ทีมนักบินอวกาศประจำภารกิจเสินโจว-16 ทั้ง 3 คน เดินทางกลับถึงพื้นโลกอย่างปลอดภัยแล้วในวันนี้ หลังจากปฏิบัติภารกิจเป็นเวลายาวนาน 5 เดือน ในสถานีอวกาศของจีนที่โคจรรอบโลก
ทีมนักบินอวกาศประจำภารกิจเสินโจว-16 ทั้ง 3 คน เดินทางกลับถึงพื้นโลกอย่างปลอดภัยแล้วในวันนี้ หลังจากปฏิบัติภารกิจเป็นเวลายาวนาน 5 เดือน ในสถานีอวกาศของจีนที่โคจรรอบโลก
จีนส่งนักบินอวกาศชุดใหม่ 3 คน ไปยังสถานีอวกาศเทียนกงในวันนี้ ซึ่งเป็นภารกิจล่าสุดสำหรับโครงการอวกาศของจีนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีแผนการที่จะส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ภายในปี 2030
ปักกิ่ง 4 มิ.ย.- นักบินอวกาศจีน 3 คนที่ปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศเทียนกงของจีน เดินทางกลับถึงโลกอย่างปลอดภัยแล้วในวันนี้ หลังจากนักบินอวกาศชุดใหม่ขึ้นไปสานต่อภารกิจต่อเมื่อไม่กี่วันก่อน แคปซูลของยานอวกาศเสินโจว-15 (Shenzhou-15) ลงจอดที่ฐานจอดในเขตมองโกเลียใน ทางตอนเหนือของจีน สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า นักบินอวกาศทั้ง 3 คนประกอบด้วยเฟ่ย จวิ้นหลง, จาง ลู่ และเติ้ง ชิงหมิงออกจากแคปซูลในสภาพที่แข็งแรงดี ภารกิจครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ ภาพข่าวเห็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์สวมชุดป้องกันสีขาวและหน้ากากอนามัยห่มผ้าให้นักบินอวกาศที่อยู่บนเตียงนั่งก่อนพาออกไป นักบินอวกาศชุดนี้ปฏิบัติภารกิจเสินโจว-15 บนสถานีอวกาศเทียนกงเป็นเวลา 6 เดือน มีการเดินในอวกาศและทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในอวกาศหลายอย่าง พวกเขาเพิ่งส่งมอบภารกิจให้แก่นักบินอวกาศเสินโจว-16 ที่เดินทางไปถึงสถานีอวกาศเมื่อสัปดาห์ก่อน นักบินอวกาศชุดใหม่ 3 คนมีพลเรือนที่ขึ้นสู่อวกาศเป็นคนแรกรวมอยู่ด้วย อนึ่ง คำว่านักบินอวกาศของจีนภาษาอังกฤษใช้คำว่า taikonaut ต่างจากนักบินอวกาศของสหรัฐที่ใช้คำว่า astronaut และนักบินอวกาศของรัสเซียที่ใช้คำว่า cosmonaut.-สำนักข่าวไทย
ปักกิ่ง 31 พ.ค.- นักบินอวกาศชุดใหม่ของจีนพบกับนักบินอวกาศชุดเก่าบนสถานีอวกาศเทียนกงของจีน และรับมอบภารกิจ ไชน่ามีเดียกรุ๊ปหรือซีเอ็มจี (China Media Group: CMG) สื่อหลักของจีนรายงานว่า นักบินอวกาศชาวจีนชุดใหม่ทั้ง 3 คนของยานอวกาศเสินโจว-16 ได้เข้าไปในสถานีอวกาศเทียนกงเมื่อเวลา 18:22 น.วันที่ 30 พฤษภาคมตามเวลาจีน ตรงกับเวลา 17:22 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย และได้พบกับนักบินอวกาศ 3 คนของยานอวกาศเสินโจว-15 ที่ปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศมาแล้ว 6 เดือน นักบินอวกาศจีนทั้ง 6 คน จะอยู่ด้วยกันประมาณ 5 วันเพื่อดำเนินการส่งมอบภารกิจให้เสร็จสิ้น มีทั้งการส่งมอบเครื่องมือบำรุงรักษา สิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน และตัวอย่างการทดลองเพื่อให้นักบินอวกาศชุดใหม่ปฏิบัติภารกิจต่อไปอีก 5 เดือนข้างหน้า รวมถึงการเรียนรู้วิธีการล่าสุดในการบำรุงรักษาสถานีอวกาศด้วย.-สำนักข่าวไทย
จิ่วเฉวียน 30 พ.ค.- จีนส่งนักบินอวกาศ 3 คน ขึ้นสู่อวกาศเพื่อมุ่งหน้าไปยังสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) ของจีนแล้วในเช้าวันนี้ หนึ่งในนั้นเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้เดินทางไปยังอวกาศ อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ภายในสิ้นคริสต์ทศวรรษนี้ จวดลองมาร์ช ทูเอฟ (Long March 2F) นำยานอวกาศเสินโจว-16 (Shenzhou-16) ทะยานขึ้นจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเมื่อเวลา 09:31 น.วันนี้ตามเวลาจีน ตรงกับเวลา 08:31 น.วันนี้ตามเวลาไทย ผู้อำนวยการศูนย์ฯ แจ้งว่า การปล่อยจรวดประสบความสำเร็จด้วยดี นักบินอวกาศทั้งหมดปลอดภัยดี ประกอบด้วยนายจิ่ง ไห่เผิง ผู้บัญชาการภารกิจที่ปฏิบัติภารกิจเป็นครั้งที่ 4 นายจู หยางจู้ วิศวกรที่เป็นลูกเรือคนที่ 3 และนายกุ้ย ไห่เฉา อาจารย์มหาวิทยาลัยการบินและอวกาศปักกิ่ง ซึ่งเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้ขึ้นสู่อวกาศ ยานอวกาศเสินโจวจะเชื่อมต่อกับเทียนเหอ (Tianhe) ซึ่งเป็นโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนกง เพื่อนำนักบินอวกาศทั้ง 3 คนไปปฏิบัติภารกิจเสินโจว-16 ต่อจากนักบินอวกาศ 3 คนที่จะเดินทางกลับโลกในอีกไม่กี่วัน หลังจากปฏิบัติภารกิจเสินโจว-15 อยู่นาน 6 เดือน นักบินอวกาศชุดใหม่จะทำการทดลองขนาดใหญ่ในวงโคจร […]
ปักกิ่ง 29 พ.ค.- องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีนจะส่งนักบินอวกาศที่เป็นพลเรือนขึ้นสู่อวกาศเป็นคนแรก โดยร่วมไปกับคณะที่จะไปปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong) โฆษกสำนักงานอวกาศจีนเผยกับสื่อในวันนี้ว่า นายกุ้ย ไห่เฉา ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยการบินและอวกาศปักกิ่ง เขามีหน้าที่รับผิดชอบหลักเรื่องการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในอวกาศขณะอยู่ในวงโคจร ถือเป็นพลเรือนคนแรกที่จะได้ขึ้นสู่อวกาศ เพราะที่ผ่านมานักบินอวกาศจีนล้วนเป็นทหารของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ส่วนผู้บัญชาการภารกิจคือ นายจิ่ง ไห่เผิง และลูกเรือคนที่ 3 คือ นายจู หยางจู้ ทั้งหมดจะเดินทางขึ้นจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียน (Jiuquan Satellite Launch Centre) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนไปพร้อมกับยานเสินโจว-16 (Shenzhou-16) ในเวลา 09:31 น.วันที่ 30 พฤษภาคมตามเวลาจีน ตรงกับเวลา 08:31 น.วันเดียวกันตามเวลาไทย ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนเดินหน้าผลักดันโครงการด้านอวกาศอย่างจริงจัง โดยได้ทุ่มลงทุนให้แก่โครงการอวกาศที่กองทัพเป็นผู้ดำเนินการ และคาดหวังว่าจะสามารถส่งนักบินอวกาศไปยังดวงจันทร์ได้ในที่สุด ซึ่งจะทำให้จีนเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ต่อจากสหรัฐและรัสเซีย นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายจะสร้างฐานบนดวงจันทร์ และคาดว่าจะเริ่มส่งนักบินอวกาศไปปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับดวงจันทร์ได้ภายในปี 2572.-สำนักข่าวไทย
แคปซูลของสเปซเอ็กซ์ พร้อมด้วยนักบินอวกาศ 2 คนแรกของซาอุดีอาระเบียเข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ไอเอสเอสแล้วในวันจันทร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจเอกชนที่ดำเนินการโดยบริษัทแอกเซียมสเปซ ของสหรัฐ
แอกเซียมสเปซ บริษัทของสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้เตรียมภารกิจส่งนักบินอวกาศเอกชนชุดแรกไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ไอเอสเอส มีกำหนดจะส่งจรวดจากรัฐฟลอริดาของสหรัฐไปยังไอเอสเอสในวันนี้ พร้อมด้วยนักบินอวกาศ 2 คนแรกของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมี 1 คน ที่เป็นนักบินอากาศหญิงคนแรกของประเทศ
วอชิงตัน 12 มี.ค.- โคอิจิ วากาตะ นักบินอวกาศที่มีอายุมากที่สุดของญี่ปุ่น เดินทางกลับถึงโลกแล้ว พร้อมกับนักบินอวกาศอีก 3 คน ด้วยยานอวกาศของสเปซเอ็กซ์ หลังจากใช้เวลาอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือไอเอสเอส (ISS) นาน 5 เดือน วากาตะ วัย 59 ปี เป็นนักบินอวกาศอายุมากที่สุดของญี่ปุ่นและปฏิบัติภารกิจในอวกาศมากที่สุดของประเทศ โดยใช้เวลาในอวกาศรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 500 วัน ในภารกิจทั้งหมด 5 ครั้ง ยานแคปซูลเอ็นดูรานซ์ (Endurance) ของสเปซเอ็กซ์ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน นำวากาตะพร้อมนักบินอวกาศ 2 คนขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซา ของสหรัฐ และนักบินอวกาศของรัสเซีย 1 คน เดินทางออกจากไอเอสเอสเมื่อวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ และลงจอดนอกชายฝั่งรัฐฟลอริดาของสหรัฐในค่ำวันเดียวกัน พวกเขาทะยานขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2565 เพื่อทำการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ เช่น การเคลื่อนที่ของของเหลว อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับภารกิจไปดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต.-สำนักข่าวไทย
ปักกิ่ง 30 พ.ย. – นักบินอวกาศ 3 คนประจำภารกิจเสินโจว-15 ได้เดินทางถึงโครงการก่อสร้างสถานีอวกาศของจีนแล้ว ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่จีนประสบความสำเร็จในการส่งนักบินขึ้นไปปฏิบัติภารกิจในอวกาศได้อย่างครบถ้วน และเป็นภารกิจสุดท้ายของการก่อสร้างสถานีอวกาศจีน สถานีโทรทัศน์ของทางการจีนรายงานว่า จีนได้ปล่อยจรวดลองมาร์ช –2เอฟ ที่บรรทุกยานเสินโจว-15 และนักบินอวกาศ 3 คนออกจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉวียนในทะเลทรายโกบี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อเวลา 23.08 น. ของวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเวลา 22.08 น. ของวันเดียวกันตามเวลาประเทศไทย ทั้งนี้ ภารกิจเสินโจว-15 เป็นภารกิจสุดท้ายของการสร้างสถานีอวกาศจากทั้งหมด 11 ภารกิจ โดยก่อนหน้านี้จีนเคยส่งนักบินอวกาศประจำภารกิจขึ้นสู่สู่อวกาศมาแล้ว 3 ครั้ง และได้เริ่มปฏิบัติภารกิจแรกในเดือนเมษายน 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ยานเสินโจว-15 ได้เดินทางถึงโครงการสถานีอวกาศจีนหลังปล่อยจรวดขึ้นสู่ท้องฟ้าได้กว่า 6 ชั่วโมง โดยที่นักบินชุดใหม่ทั้ง 3 คนได้สวมกอดทักทายกับนักบินที่ขึ้นไปประจำการในภารกิจเสินโจว-14 โดยที่นักบินชุดก่อนมีกำหนดเดินทางกลับสู่พื้นโลกหลังนักบินชุดใหม่ขึ้นมาปฏิบัติการครบ 1 สัปดาห์ และทำให้ในช่วงเวลานี้โครงการสร้างสถานีอวกาศของจีนมีนักบินประจำการรวมทั้งหมด 6 คน ซึ่งถือเป็นการทำสถิติครั้งใหม่ของจีนอีกด้วย ทั้งนี้ ข่าวการประสบความสำเร็จของภารกิจเสินโจว-15 ทำให้ชาวจีนได้หวนคืนสู่ช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองอีกครั้ง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก […]
วันจันทร์ (28 พ.ย.) องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน เปิดเผยทีมนักบินอวกาศประจำภารกิจเสินโจว-15 (Shenzhou-15) ได้แก่ เฟ่ยจวิ้นหลง เติ้งชิงหมิง และจางลู่ โดยเฟ่ยจะรับหน้าที่ผู้บัญชาการ
มอสโก 15 ส.ค. – รัสเซียเปิดตัวโมเดลสถานีอวกาศที่วางแผนสร้างขึ้นเองเป็นครั้งแรกในงานจัดแสดงอุตสาหกรรมทางทหารที่จัดขึ้นนอกกรุงมอสโกเมื่อวันจันทร์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการถอนตัวจากสถานีอวกาศนานาชาติ หรือไอเอสเอส องค์การอวกาศสหพันธ์รัสเซีย หรือรอสคอสมอส เปิดตัวโมเดลสถานีอวกาศที่รัสเซียวางแผนสร้างขึ้นเอง หรือที่สื่อของทางการรัสเซียมักเรียกกันว่า ‘รอสส์’ (ROSS) ในงานจัดแสดงอุตสาหกรรมทางทหาร ‘อาร์มี-2022’ (Army-2022) ที่จัดขึ้นนอกกรุงมอสโกเมื่อวันจันทร์ รอสคอสมอสระบุในแถลงการณ์ว่า ภารกิจสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่ของรัสเซียจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ แต่ไม่ได้เปิดเผยวันที่แน่นอน ระยะแรกจะเป็นการส่งโมดูล 4 โมดูลขึ้นไปเริ่มปฏิบัติการ ส่วนระยะที่สองจะส่งโมดูลที่เหลืออีก 2 โมดูลและชิ้นส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะทำให้เพียงพอต่อการทำงานของนักบินอวกาศสูงสุด 4 คน นอกจากนี้ สถานีอวกาศแห่งใหม่ของรัสเซียจะช่วยให้นักบินอวกาศมองเห็นโลกในมุมที่กว้างขึ้นกว่าเดิมเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการติดตามและเฝ้าระวัง ในขณะเดียวกัน สื่อของทางการรัสเซียคาดการณ์ว่า รัสเซียจะเริ่มเข้าสู่แผนสร้างสถานีอวกาศระยะแรกในช่วงปี 2568-2569 และจะเสร็จสิ้นกระบวนการสร้างระยะแรกภายในปี 2573 จากนั้น จะเริ่มแผนระยะสองและระยะสุดท้ายในปี 2573-2578 ก่อนหน้านี้ นายยูริ บอริซอฟ ผู้อำนวยการรอสคอสมอส ซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ในเดือนกรกฎาคม เผยว่า รัสเซียจะถอนตัวจากสถานีอวกาศนานาชาติหลังปี 2567 แต่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ […]