ใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ ทารกเสี่ยงเป็นออทิสติกแค่ไหน ?

18 เมษายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์กับการป่วยเป็นโรคออทิสติกในทารก สร้างข้อถกเถียงในวงการแพทย์มานาน แม้หลายปีที่ผ่านมาจะมีงานวิจัยที่พบความเสี่ยงการใช้ยาพาราเซตามอลกับออทิสติก แต่งานวิจัยส่วนใหญ่กลับเต็มไปด้วยข้อจำกัดจนไม่อาจยืนยันผลได้อย่างชัดเจน การใช้พาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ แม้จะมีความจำเป็น แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพื่อเลี่ยงผลเสียจากการใช้ยา การศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ปี 2018 วารสารการแพทย์ American Journal of Epidemiology ได้ตีพิมพ์ผลวิจัยที่พบว่า แม่ที่ใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงคลอดบุตรป่วยเป็นโรคออทิสติกมากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 19% และเสี่ยงคลอดบุตรที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD) มากกว่าแม่ที่ไม่ใช้ยา 34% ส่วนปี 2021 วารสารการแพทย์ Nature Reviews Endocrinology ได้ตีพิมพ์ข้อเสนอแนะตามมติที่ประชุมโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และแพทย์ระดับนานาชาติ ที่ร่วมกันศึกษางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ จนได้ข้อสรุปที่เชื่อว่า ยาพาราเซตามอลมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยผลกระทบจะแปรผันตามปริมาณยาที่ได้รับ จึงต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์เตือนถึงการใช้ยาพาราเซตามอลระหว่างตั้งครรภ์อย่างไม่ระมัดระวัง ทั้งการใช้ยาพาราเซตามอลโดยตรงหรือการใช้ยาที่มีส่วนประกอบของพาราเซตามอล อย่างไรก็ดี งานวิจัยทั้งสองชิ้นสร้างเสียงโต้แย้งในแวดวงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายประการ ส่งผลให้บทสรุปของงานวิจัยขาดความน่าเชื่อถือเพียงพอ ประเด็นแรกคืองานวิจัยทั้งสองอยู่ในรูปแบบการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ ซึ่งเป็นการศึกษาจากงานวิจัยในอดีต ไม่ใช่การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม ที่ผู้วิจัยต้องลงมือทดลองด้วยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อให้ผลวิจัยชัดเจนและปราศจากความลำเอียงจากผู้วิจัย ข้อจำกัดยังรวมถึงข้อมูลปริมาณการใช้ยา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนระวังยาพาราเซตามอลผสมไวรัสร้าย จริงหรือ?

ไม่จริง ไม่ควรแชร์

หน่วยงานทางการทั่วโลกต่างออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว และยืนยันไม่มีรายงานว่ายาพาราเซตามอลใดที่จะปนเปื้อนเชื้อไวรัสใด ๆ

สำหรับ “แมคชูโป” หรือ “มาชูโบ” Machupo virus นั้น เป็นชื่อของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกโบลิเวีย หรือ ไทฟัสดำ โรคนี้ติดต่อจากการหายใจเอาละอองที่มีการปนเปื้อนอุจจาระ ปัสสาวะ และน้ำลายของหนูที่ติดเชื้อเข้าไป

อินเดียผ่อนคลายระเบียบส่งออกยาต้านมาลาเรีย-พาราเซตามอล

อินเดียผ่อนคลายระเบียบจำกัดการส่งออกยาต้านมาลาเรียและพาราเซตามอลแล้ว เพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่มีอยู่และความต้องการใช้ในประเทศเพื่อนบ้าน

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ป่วยโควิด-19 ห้ามกินยาไอบูโพรเฟน จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนว่าผู้ป่วยโควิด-19 ห้ามกินยาไอบูโพรเฟน เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อการรักษาได้ แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : “พาราเซตามอล” ยาพิษสามัญประจำบ้าน ?

สังคมออนไลน์แชร์เตือน “พาราเซตามอล” เป็นยาพิษสามัญประจำบ้าน กินไม่กี่เม็ดก็เป็นพิษอันตรายกับตับ – ไต รุนแรงได้ หากจำเป็น ต้องกินร่วมกับยาละลายเสมหะเพื่อต้านพิษ จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม่ดื่มเหล้าก็เป็น “โรคตับแข็ง” ได้จริงหรือ ?

สังคมออนไลน์แชร์ว่า “โรคตับแข็ง” แม้จะไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็มีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เป็นโรคนี้ได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 ประโยชน์ของยาแอสไพริน จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์การประยุกต์ใช้ยาแอสไพรินได้สารพัดประโยชน์ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ห่วงคนไทยตับพัง เหตุกินยาพาราเกินขนาด

นักวิชาการ ห่วงคนไทยกินยาพาราเซตามอล แก้ปวด และ คีโตโคนาโซน รักษาเชื้อรา เกินขนาด ส่งผลให้ตับพัง ชี้ อย. ปรับสูตรให้ง่ายแก่การควบคุม

...