“มาเรียม” ไม่เกยตื้น-ไม่หนีเที่ยว น้ำหนักเพิ่ม
พะยูนน้อย “มาเรียม” เรียนรู้ที่จะไม่เกยตื้นและไม่หนีเที่ยวแล้ว ล่าสุดน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 29 กก.
พะยูนน้อย “มาเรียม” เรียนรู้ที่จะไม่เกยตื้นและไม่หนีเที่ยวแล้ว ล่าสุดน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 29 กก.
เจ้าหน้าที่เตรียมปรับแผนให้นมมาเรียมเพิ่มขึ้นในเวลากลางคืน หลังพบมาเรียมหิวนมจัดขณะเกยตื้นจนต้องเอาครีบทั้ง 2 ข้างของตัวเองเข้าปากแล้วดูดส่งเสียงดัง
กรมอุทยานฯ เตรียมส่งทีมสัตวแพทย์เสริม เพื่อเพิ่มเวลาให้นมพะยูนมาเรียมในช่วงเวลากลางคืน หลังเอาครีมเข้าปากดูดเหมือนหิวนม
เจ้าหน้าที่และชาวบ้าน ทำตาข่ายป้องกันแมงกะพรุน ซึ่งจะเข้าไปรบกวนเจ้าหน้าที่ขณะป้อนนมให้ ‘มาเรียม’ ในทะเลเกาะลิบง จ.ตรัง เจ้าหน้าที่เชื่อไม่กระทบการใช้ชีวิตของมาเรียม
สัตวแพทย์เพิ่มความถี่ในการป้อนนมให้ลูกพะยูนน้อย “มาเรียม” จากเดิมทุก 1 ชั่วโมง เป็นทุก 30-40 นาที เพื่อให้มาเรียมมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ทีมสัตวแพทย์ดูแลพะยูนน้อย “มาเรียม” อย่างใกล้ชิด หลังเจอปัญหาน้ำทะเลขุ่นข้น เนื่องจากเข้าสู่ฤดูมรสุม
ในขณะที่การช่วยชีวิต “มาเรียม” ลูกพะยูนที่พลัดหลงกับแม่ ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ชาวบ้านเกาะลิบงได้เสนอให้ทุกภาคส่วนเร่งช่วยกันฟื้นฟูหญ้าทะเล เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์พะยูนอย่างยั่งยืน
ตามหาเพื่อนๆ พะยูน ของมาเรียม กันที่จุดชมวิวพะยูนบนเกาะลิบง จ.ตรัง
“มาเรียม” พะยูนตัวแรก ที่มีคนเป็นแม่นม มีเรือพายัค สีส้ม เป็นแม่ ที่คอยพยุงกาย พาว่ายน้ำเป็นเพื่อน ที่สำคัญกว่านั้น มาเรียม เป็นพะยูนที่มีคนรัก และเป็น FCน้องมากมาย
ร้านขายขนมหวานในเมืองตรัง ผุดไอเดียนำรูปพะยูน มาทำที่กรองน้ำชาสร้างจุดขายดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว และลูกค้ายอดขายกระฉูด
ตรัง 28 มี.ค.- ทช.บินสำรวจทะเลตรังพบประชากรพะยูนเพิ่มขึ้นในรอบ 10 ปี เป็นผลจากความร่วมมือหลายฝ่ายวางแผนอนุรักษ์ หลังเกิดวิกฤติการอยู่รอดเมื่อ 4-5 ปีก่อนพบซากพะยูนถึง 11 ตัว ระบุสาเหตุการตายส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์ นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ นักวิชาการประมงชำนาญการหัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ และนักบินชาวต่างชาติ ร่วมบินสำรวจสถานการณ์พะยูนรอบเกาะลิบง เกาะมุกด์ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยสำคัญที่สุดในทะเลตรัง เพื่อติดตามประชากรพะยูนในแต่ละปี รวมทั้งความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและหญ้าทะเล เนื่องจากพะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ จึงต้องวางแผนคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลให้เกิดความยั่งยืน และการบินสำรวจครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน อาทิ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. ) นำหุ่นยนต์สำรวจทางอากาศ (โดรน) เพื่อถ่ายภาพเก็บข้อมูลทางวิชาการ ด้านอาจารย์กฤษนัยน์ เจริญจิตะ อาจารย์ประจำคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) กล่าวว่า การทำงานครั้งนี้เป็นไปตามโครงการ “การสำรวจพะยูน โดยประยุกต์หุ่นยนต์อากาศยานขนาดเล็ก (Drone)” โดยเครื่องบินเล็กของ ทช. จะบินนำร่องปูพรมหาพะยูนในทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาศัยหากินที่ระดับความสูงประมาณ 100 เมตร เมื่อพบพะยูนบริเวณใดจะส่งข้อมูลพิกัดแหล่งที่พบ […]