บราซิลพบ “หินเกิดจากพลาสติก” บนเกาะห่างไกล

บราซิเลีย 21 มี.ค.- นักธรณีวิทยาชาวบราซิลพบหินก่อตัวขึ้นจากขยะพลาสติกที่สะสมอยู่ในมหาสมุทร บนเกาะแห่งหนึ่งที่แทบไม่มีใครไปถึงเพราะต้องนั่งเรือออกจากชายฝั่งบราซิลนาน 3-4 วัน เฟอร์นันดา อเวลาร์ ซันโตส นักธรณีวิทยาชาวบราซิลพบหินเกิดจากพลาสติกบนเกาะตรินดาด (Trindade) เป็นครั้งแรกในปี 2562 ขณะไปศึกษาวิจัยนาน 2 เดือนใกล้แหล่งอนุรักษ์ธรรมชาติที่รู้จักในชื่อ หาดเต่า (Turtle Beach) ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เต่าตนุใกล้สูญพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เธอไปวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์เรื่องดินถล่ม การกัดเซาะ และความเสี่ยงทางธรณีวิทยาอื่น ๆ แต่กลับพบแผ่นหินโผล่พ้นน้ำขนาดใหญ่ มีสีเขียวอมน้ำเงินและดูแปลกประหลาด จึงนำตัวอย่างกลับไป เธอและคณะนักวิจัยพบว่า เป็นการก่อตัวทางธรณีวิทยาแบบใหม่ที่ผสมผสานวัสดุและกระบวนการที่โลกใช้สร้างชั้นหินมาเป็นเวลาหลายพันล้านปีเข้ากับส่วนประกอบใหม่ นั่นคือ ขยะพลาสติก เธอและคณะนักวิจัยได้ข้อสรุปว่า มนุษย์กำลังทำตัวเป็นสาเหตุทางธรณีวิทยา ด้วยการมีอิทธิพลต่อกระบวนการที่เดิมคิดกันว่าเป็นฝีมือของธรรมชาติล้วน ๆ เช่น การก่อตัวของชั้นหิน หินเกิดจากพลาสติกที่พบนี้ตรงกับแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์เรื่อง “ยุคมนุษย์ครองโลก (Anthropocene)” หมายถึงยุคทางธรณีวิทยาที่มนุษย์มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางธรรมชาติของโลก และเมื่อวิจัยเพิ่มเติมพบว่า เคยมีรายงานพบหินเกิดจากพลาสติกลักษณะเดียวกันแต่มีขนาดเล็กกว่าในหลายพื้นที่นับตั้งแต่ปี 2557 เช่น ฮาวาย อังกฤษ อิตาลี ญี่ปุ่น แต่เกาะตรินดาดของบราซิลถือเป็นดินแดนห่างไกลผู้คนมากที่สุดที่พบหินแบบนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หากหินถูกกระแสน้ำกัดเซาะไปเรื่อย ๆ จะปล่อยไมโครพลาสติกเข้าสู่สิ่งแวดล้อมและปนเปื้อนในห่วงโซ่อาหาร.-สำนักข่าวไทย

จี 20 จะใช้พลาสติกเพิ่มเกือบ 2 เท่าถ้าไม่มีมาตรการจำกัด

โตเกียว 27 ก.พ.- ผลการศึกษาใหม่ชี้ว่า กลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) จะใช้พลาสติกเพิ่มขึ้น 1.7 เท่าจากปี 2562 หากไม่มีมาตรการจำกัดการใช้ ซึ่งจะทำให้ปัญหาพลาสติกปนเปื้อนในทะเลรุนแรงยิ่งขึ้น ดิอิโคโนมิสต์ อิมแพกต์ (Economist Impact) ของนิตยสารดิอิโคโนมิสต์ ร่วมกับมูลนิธินิปปอนของญี่ปุ่นประเมินในการวิจัยร่วมกันว่า หากไม่มีการดำเนินมาตรการใด ๆ การใช้พลาสติกของกลุ่มจี 20 อาจจะมีปริมาณมากถึง 451 ล้านตันในปี 2593 เพิ่มขึ้นจาก 261 ล้านตันในปี 2562 แต่หากมีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหา เช่น ห้ามใช้พลาสติกบางประเภท หรือใช้มาตรการภาษี การใช้พลาสติกในกลุ่มจี 20 ก็ยังอาจสูงถึง 325 ล้านตันในปี 2593 สมาชิกสหประชาชาติหรือยูเอ็น 175 ประเทศลงนามในญัตติเลิกใช้พลาสติกในการประชุมสมัชชาใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อมยูเอ็นตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องมาตรการที่มีความเจาะจง คณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลตั้งเป้าหมายร่างข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางกฎหมายให้เสร็จสมบูรณ์ภายในสิ้นปี 2567 ยูเอ็นเผยว่า แต่ละปีมีขยะพลาสติกเข้าไปปนเปื้อนในมหาสมุทรจำนวน 11 ล้านตัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายในปี […]

ศรีลังกาแบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเพื่อรักษาชีวิตช้าง

รัฐบาลศรีลังกาประกาศวันนี้ว่า จะออกคำสั่งห้ามใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง หลังจากพบว่า ช้างป่าและกวางเป็นจำนวนมากต้องเสียชีวิตเนื่องจากได้รับสารพิษจากพลาสติกที่กินเข้าไป

อังกฤษจะห้ามใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง

ลอนดอน 14 ม.ค.- อังกฤษจะห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้ เพื่อจำกัดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงสิ่งแวดล้อมอังกฤษประกาศวันนี้ว่า กฎหมายใหม่จะห้ามการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ครอบคลุมพลาสติกหลากหลายประเภท รวมถึงของใช้บนโต๊ะอาหาร เช่น จาน ช้อน ส้อม ถาด ถ้วย และกล่องใส่อาหาร ปัจจุบันอังกฤษใช้ของใช้บนโต๊ะอาหารแบบครั้งเดียวทิ้งมากถึง 2,700 ล้านชิ้นต่อปี ส่วนใหญ่เป็นพลาสติก และมีเพียง 1 ใน 10 ชิ้นที่สามารถรีไซเคิลได้ ผู้ฝ่าฝืนหลายครั้งจะถือว่ากระทำความผิดอาญา และเสี่ยงถูกปรับ อย่างไรก็ดี กฎหมายใหม่จะไม่ครอบคลุมถึงอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานที่วางจำหน่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ต ด้านรัฐบาลสกอตแลนด์และเวลส์ที่อยู่ในสหราชอาณาจักรเช่นเดียวกับอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือได้ออกกฎหมายลักษณะเดียวกันนี้ไปแล้ว ผู้จัดการเครือซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งเผยว่า ได้ลดการใช้พลาสติกแบบไม่จำเป็นอยู่แล้ว เช่น ใช้ช้อมส้อมไม้แทนพลาสติก การที่รัฐบาลออกกฎหมายห้ามจึงเป็นเรื่องน่าสนับสนุน ด้านนักรณรงค์ทางการเมืองของกลุ่มกรีนพีซฟอร์ยูเคมองว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลตัดสินใจห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง แต่เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ รัฐบาลจะต้องหยุดเอาใจอุตสาหกรรมพลาสติก หยุดส่งเสริมทางออกที่ผิด ๆ และหยุดขนขยะไปทิ้งในประเทศที่มีส่วนน้อยที่สุดในการทำให้เกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ.-สำนักข่าวไทย

ทำความรู้จัก 7 ประเภทพลาสติก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน

รัฐบาลเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ทำความรู้จัก 7 ประเภทพลาสติก ย้ำ “แยกก่อนทิ้ง” ใช้รีไซเคิลได้ ส่งเสริมความสมดุลและยั่งยืน

ออสเตรเลียพบเต่าทะเลถ่ายเป็นพลาสติก 6 วันติด

ซิดนีย์ 1 ส.ค. – สวนสัตว์ทารองกา ซู (Taronga Zoo) ในนครซิดนีย์ของออสเตรเลีย ระบุว่า ได้ช่วยชีวิตเต่าทะเลตัวเล็กที่หาดใกล้สวนสัตว์ แต่กลับพบว่ามันถ่ายอุจจาระออกมาเป็นพลาสติกติดต่อกันเป็นเวลาถึง 6 วัน ซาราห์ เมล พยาบาลสัตว์ของสวนสัตว์ทารองกา ซู เผยผ่านคลิปวิดีโอที่โพสต์ผ่านทวิตเตอร์ของสวนสัตว์ว่า เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ช่วยชีวิตเต่าเพศผู้ ซึ่งเสียครีบหลังไปข้างหนึ่ง ได้ที่หาดใกล้สวนสัตว์ แต่พบว่ามันถ่ายอุจจาระออกมาเป็นพลาสติกล้วน ๆ ติดต่อกันนานถึง 6 วัน โชคดีที่เต่าตัวนี้สามารถถ่ายพลาสติกทั้งหมดออกมาจากระบบย่อยอาหารได้ทั้งหมด ทั้งยังระบุว่า เต่าส่วนใหญ่มักมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการย่อยพลาสติกและสายเบ็ด เว็บไซต์ของสวนสัตว์ทารองกา ซู ระบุว่า ปกติโรงพยาบาลสัตว์ป่าทารองกาได้รับเต่าทะเลที่บาดเจ็บมาดูแลรักษาและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติปีละ 80 ตัว อีกทั้งยังดูแลรักษาสัตว์ท้องถิ่นและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติรวมกว่า 50,000 ตัวนับตั้งแต่ก่อตั้งโรงพยาบาลในช่วงคริสตทศวรรษหลังปี 1970 ขณะที่องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) เผยว่า มนุษย์ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลปีละ 8 ล้านตัน ซึ่งคาดว่าจะทำให้ปริมาณขยะพลาสติกในทะเลมีจำนวนมากกว่าปลาในปี 2593 ทั้งยังระบุว่า นกทะเลร้อยละ 90 มีพลาสติกอยู่ในระบบย่อยอาหาร และเต่าทะเลร้อยละ 50 กินพลาสติกเป็นอาหาร. […]

อินเดียห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง

นิวเดลี 1 ก.ค.- อินเดียห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งตั้งแต่วันนี้ หวังแก้ปัญหาขยะพลาสติกอุดตันลำน้ำและเป็นพิษต่อสัตว์ในธรรมชาติ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า จะเผชิญอุปสรรคจากผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ยังไม่พร้อมเปลี่ยนแปลง คำสั่งดังกล่าวครอบคลุมการห้ามการผลิต นำเข้าและจำหน่ายพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น หลอดดูดน้ำ ภาชนะใส่อาหาร พลาสติกห่อซองบุหรี่ เจ้าหน้าที่จะออกตรวจตราในวันนี้ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งมีผลบังคับใช้ หลังจากนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ประกาศตั้งแต่ปี 2561 และเพิ่งมาผลบังคับใช้ ผู้ละเมิดจะมีโทษปรับสูงสุด 100,000 รูปี (ราว 44,935 บาท) หรือจำคุก 5 ปี ด้านอุตสาหกรรมพลาสติกที่จ้างงานคนหลายล้านคนเผยว่า การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และพยายามวิ่งเต้นให้รัฐบาลชะลอการบังคับใช้คำสั่ง พร้อมกับเตือนว่า คำสั่งนี้อาจทำให้อุตสาหกรรมพลาสติกเลิกจ้างพนักงานบางส่วนเป็นการชั่วคราว และโรงงานจะขาดทุนเพราะลงทุนซื้อเครื่องจักรไปแล้ว อินเดียผลิตขยะพลาสติกปีละ 4 ล้านตัน ครึ่งหนึ่งเป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และ 1 ใน 3 ไม่ได้ถูกนำไปรีไซเคิล โดยไปตกค้างตามแม่น้ำและที่ทิ้งขยะที่มักมีปัญหาไฟไหม้และก่อมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ยังเป็นอาหารของวัวตาม 2 ข้างทาง และพบร่องรอยพลาสติกตกค้างในมูลช้างป่าทางเหนือของประเทศ.-สำนักข่าวไทย

ชวนคนไทยยึดหลัก ‘3 ใช้’ ลดเพิ่มปริมาณพลาสติก

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะคนไทยยึดหลัก 3 ใช้ คือ ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และใช้ใหม่ (Recycle) ลดการเพิ่มปริมาณพลาสติก ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

กรมอนามัย ชวนพุทธศาสนิกชนทำบุญ ตักบาตร ลดใช้พลาสติก

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยวันวิสาขบูชาปีนี้ ชวนพุทธศาสนิกชนทำบุญ ตักบาตร ลดใช้พลาสติก และปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ลดเสี่ยงโควิด-19

GC ขยายผล YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม

กรุงเทพฯ 10 ม.ค.-GC ขยายผล YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม สู่โครงการที่มีการดำเนินงานสอดคล้องกับมาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน (BS 8001:2017) สำเร็จเป็นโครงการที่สอง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC แจ้งว่า โครงการYOUเทิร์น แพลตฟอร์ม ระบบบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างครบวงจร โดยมีจุดรับขยะ (Drop Point) ที่ให้ทุกคนได้ร่วมกันคัดแยกขยะพลาสติกทั้งแบบยืดและแบบแข็ง และมีการนำ Digital Application มาใช้ ได้ดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบมากว่า 1 ปี โครงการนี้เน้นด้านการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่าในการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างเป็นระบบ ร่วมมือกับสถาบัน องค์กร หน่วยงานต่างๆ กว่า 50 ราย บริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วได้กว่า 300 ตัน มีการนำขวดพลาสติกใสชนิด PET ไปแปรรูปเป็นชุด PPE เพื่อมอบให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ได้กว่า 5,000 ชุด ทั้งนี้ โครงการYOUเทิร์น แพลตฟอร์ม เป็นผลทำให้ […]

1 2 3 4 8
...