creek raged from atmospheric river in Santa Rosa

แม่น้ำในชั้นบรรยากาศทำน้ำท่วมในสหรัฐ

แคลิฟอร์เนีย 23 พ.ย.- ปรากฏการณ์แม่น้ำในชั้นบรรยากาศทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมทั่วเมืองซานตาโรซา รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ ปรากฏการณ์แม่น้ำในชั้นบรรยากาศ (Atmospheric River) หมายถึงแนวกระแสไอน้ำในชั้นบรรยากาศที่มีความกว้างประมาณ 400-600 กิโลเมตร ไหลเวียนเป็นแนวยาวเหมือนแม่น้ำบนท้องฟ้า ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ ลมแรงพัดต้นไม้และเสาไฟหักโค่นจนไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ของเมืองซานตาโรซา นอกจากนี้ยังทำให้ลำธารซานตาโรซาครีกเริ่มไหลเชี่ยวแรงและมีระดับน้ำสูงขึ้น ชาวบ้านวิตกว่า จะก่อความเสียหายให้กับบ้านเรือนหรือทรัพย์สินที่อยู่ริมน้ำ ด้านเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเตือนว่า เมืองซานตาโรซาจะเกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดช่วงสุดสัปดาห์นี้ โดยอาจจะมีฝนตกหนักถึง 25.4 มิลลิเมตร.-820(814).-สำนักข่าวไทย

ปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนครั้งแรกของปีนี้

ซิดนีย์ 20 ส.ค.- เกิดปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนครั้งแรกของปีนี้ ดวงจันทร์ส่องสว่างเหนือท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ผ่านมาในหลายพื้นที่สำคัญทั่วโลก ที่นครซิดนีย์ของออสเตรเลีย ปรากฎการณ์พระจันทร์เต็มดวงใกล้โลก หรือซูเปอร์มูนที่เกิดขึ้นครั้งแรกของปีนี้ เห็นพระจันทร์เต็มดวงขนาดยักษ์ลอยเด่นอยู่บนท้องฟ้าเหนือโอเปร่าเฮาส์เมื่อช่วงค่ำคืนที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น แม้ว่าจะมีเมฆหนามาบดบังดวงจันทร์ แต่ความสว่างของดวงจันทร์ก็ทำให้มองเห็นได้ เช่นเดียวกับที่วิหารแห่งเทพโพไซดอน เทพแห่งมหาสมุทรหรือท้องทะเล วิหารโบราณเลื่องชื่อที่สุดแห่งหนึ่งของกรีซ ดูมีขนาดเล็กจิ๋วเมื่อเทียบกับปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนช่วงค่ำวานนี้ พระจันทร์เต็มดวงกลมโตลอยเด่นเหนือวิหารแห่งเทพโพไซดอนในแหลมเคปซูเนียน เกิดเงาสะท้อนที่งดงามบนพื้นผิวทะเลอีเจียน ปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนที่หาดูได้ยาก ยังมองเห็นเด่นชัดเหนือเมืองท่าขนส่งสินค้า ทางตอนเหนือของกรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซีย แม้ท้องฟ้าเต็มไปด้วยมลภาวะและความขมุกขมัว แต่ซูเปอร์มูนก็สามารถส่องแสงสวยงามเหนือท่าเรือดังกล่าว ปรากฎการณ์ซูเปอร์มูนเมื่อช่วงค่ำคืนวานนี้สามารถมองเห็นได้ในเอเชียและออสเตรเลีย ก่อนย้ายไปยุโรปและตะวันออกกลาง ถือเป็นซูเปอร์มูนที่เกิดขึ้นครั้งแรกของปีนี้ ซูเปอร์มูน คือ ปรากฎการณ์ที่ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกในขณะที่เป็นพระจันทร์เต็มดวงมากที่สุด จนทำให้ดวงจันทร์ดูสว่างและมีขนาดใหญ่กว่าปกติที่เราเห็นประมาณร้อยละ 7 ปรากฎการณ์นี้จะเกิดขึ้นในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลกประมาณ 350,000 กิโลเมตร จากเดิมที่จะอยู่ห่างเฉลี่ยประมาณ 400,000 กิโลเมตร ส่วนที่เรียกว่าซูเปอร์มูนสีน้ำเงิน หรือซูเปอร์บลูมูนไม่ได้หมายความว่าดวงจันทร์มีสีน้ำเงิน แต่หมายถึงปรากฎการณ์ที่มีพระจันทร์เต็มดวงเกิดขึ้นสองครั้งในหนึ่งเดือน.-815(814).-สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นคาดลานีญาจะเกิดตั้งแต่ ก.ค.หรือ ส.ค.

เจนีวา 3 มิ.ย.- องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งเป็นหน่วยงานของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) คาดว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญที่ทำให้เกิดไฟป่าและพายุหมุนเขตร้อน จะเปลี่ยนไปเป็นปรากฏการณ์ลานีญาที่ทำให้เกิดน้ำท่วมและภัยแล้งในครึ่งหลังของปีนี้ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแถลงว่า มีโอกาสร้อยละ 60 ที่จะเกิดลานีญาระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน และมีโอกาสร้อยละ 70 ที่จะเกิดลานีญาระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน อย่างไรก็ดี การที่เอลนีโญสิ้นสุดไม่ได้หมายความว่า จะเป็นการหยุดพักการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว เนื่องจากโลกยังคงมีอุณหภูมิสูงขึ้นต่อไป จากก๊าซเรือนกระจกที่ห่อหุ้มโลกอยู่ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงมากเป็นพิเศษจะยังคงมีบทบาทสำคัญต่อไปในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ข้อมูลขององค์การอุตุนิยมวิทยาระบุว่า ช่วง 9 ปีที่ผ่านมาโลกมีอุณหภูมิสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ แม้ว่าลานีญาที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2563 ถึงต้นปี 2566 ได้ทำให้อากาศเย็นก็ตาม.-814.-สำนักข่าวไทย

ออสเตรเลียเตือนปีนี้น่าจะเกิดเอลนีโญ

ซิดนีย์ 6 มิ.ย.- ออสเตรเลียเตือนว่า ปี 2566 นี้ออสเตรเลียน่าจะเกิดรูปแบบสภาพอากาศเอลนีโญที่ทำให้อากาศร้อนและแล้งขึ้นเป็นเวลาหลายวัน สำนักอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลียแถลงวันนี้ว่า โอกาสที่จะเกิดรูปแบบสภาพอากาศเอลนีโญเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกในปีนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70 ถึงเกณฑ์ที่ทำให้ทางสำนักงานต้องประกาศเตือนภัยเอลนีโญ แต่หากรูปแบบสภาพอากาศดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้นและยาวนานมากขึ้น จึงจะประกาศว่าเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ สำนักงานเตือนว่า เอลนีโญทำให้ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียมีโอกาสแล้งเพิ่มขึ้น พื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศที่อยู่ทางตอนใต้มีโอกาสร้อนขึ้น และฝั่งตะวันออกเฉียงใต้มีอันตรายจากไฟป่าเพิ่มขึ้น เอลนีโญเป็นรูปแบบสภาพอากาศที่มักเกิดขึ้นพร้อมกับการที่ทั่วโลกร้อนขึ้น ในขณะที่บางส่วนแห้งแล้งและบางส่วนน้ำท่วม โดยเกิดขึ้นครั้งหลังสุดเมื่อปี 2561-2562 นักวิเคราะห์ของเอออน บริษัทประกันภัยรายใหญ่ชี้ว่า บทเรียนในอดีตสอนว่า ช่วงเอลนีโญมักเกิดไฟป่ามากขึ้น ส่วนน้ำท่วมและไซโคลนมีโอกาสน้อยแต่ก็เกิดขึ้นได้ สิ่งที่น่ากังวลในขณะนี้คือ การที่เอลนีโญทิ้งช่วงไปนาน และเกิดลานีญาที่เป็นปรากฏการณ์ตรงกันข้ามติดต่อกันหลายปี ส่งผลให้ภูมิประเทศอยู่ในสภาพที่พร้อมจะเกิดไฟป่า เพราะพืชพรรณที่เติบโตหนาแน่นในช่วงลานีญาจะแห้งเหี่ยวและกลายเป็นเชื้อไฟป่าอย่างดีในช่วงเอลนีโญ.-สำนักข่าวไทย

ปรากฏการณ์ “ฟ้าแบ่งสี” สวยแปลกตาเหนือฟ้า กทม.

ฮือฮา ท้องฟ้ากรุงเทพฯ เมฆก่อตัวเป็นแนวกำแพงยาว ท้องฟ้าแบ่งเป็น 2 สี ชัดเจน สวยแปลกตา พบเห็นไม่บ่อยนัก ผู้เชี่ยวชาญชี้เกิดจากอากาศเย็นปะทะอากาศอุ่น

ออสเตรเลียจะมีฝนตกหนักผิดปกติเพราะลานีญา

ซิดนีย์ 13 ก.ย.- สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียเตือนวันนี้ว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลียจะเผชิญกับฝนตกหนักผิดปกติในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า หลังจากมีการยืนยันว่าปรากฏการณ์ลานีญากำลังเกิดขึ้นเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน และน่าจะต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียยืนยันตามที่เคยออกคำแนะนำเรื่องสภาพอากาศของออสเตรเลียประจำปี 2565 ว่า ฤดูร้อนปีนี้จะมีฝนตกหนักและลมแรง หลังจากก่อนหน้านี้พยากรณ์ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดสภาพอากาศดังกล่าว สำนักอุตุนิยมวิทยาฯ จัดให้พื้นที่ริมฝั่งตะวันออกที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง พื้นที่นี้เพิ่งเกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อต้นนี้ โดยระบุว่า ลานีญาเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้สภาพอากาศของออสเตรเลียมีฝนตกมากขึ้น และมีโอกาสมากกว่าร้อยละ 80 ที่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียจะมีฝนตกมากกว่าปริมาณเฉลี่ย ออสเตรเลียเกิดไฟป่ารุนแรงที่สุดในหนึ่งชั่วอายุคนเมื่อปลายปี 2562 จนถึงต้นปี 2563 จากนั้นเกิดลานีญา 2 ครั้ง ทำให้ฝนตกหนักและแม่น้ำล้นตลิ่งท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นวงกว้าง ลานีญาเป็นปรากฏการณ์ที่ผิวน้ำทะเลทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ขณะที่ผิวน้ำทะเลทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เป็นเหตุให้เกิดฝนตกหนักทางตอนกลางและตะวันออกของออสเตรเลีย.-สำนักข่าวไทย

ตะวันออกของออสเตรเลียเสี่ยงน้ำท่วมช่วง 3 เดือนนี้

เมลเบิร์น 16 ส.ค.- สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียเตือนวันนี้ว่า มีโอกาสร้อยละ 70 ที่ออสเตรเลียจะเกิดปรากฏการณ์ลานีญาอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิที่จะถึงนี้ ทำให้ฝั่งตะวันออกมีแนวโน้มสูงที่จะมีฝนตกน้ำท่วมในช่วง 3 เดือนนี้ หลังจากที่เพิ่งเกิดน้ำท่วมใหญ่ไปเมื่อต้นปี สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียแจ้งรายงานล่าสุดว่า สภาพอากาศช่วง 3 เดือนข้างหน้าตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงพฤศจิกายนมีโอกาสสูงมากว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ของฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกมากกว่าปริมาณเฉลี่ย และมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดน้ำท่วม เนื่องจากดินชื้น ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้น และเขื่อนเก็บกักน้ำไว้เต็ม ปรากฏการณ์ลานีญาเกิดขึ้นเมื่อผิวน้ำทางฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ขณะที่ผิวน้ำทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ปรากฏการณ์นี้ทำให้อากาศมีความชื้นสะสมจนทำให้ฝนตกหนักทางตะวันออกและตอนกลางของออสเตรเลีย.-สำนักข่าวไทย

นอกจาก “เหมายัน” มีวันอะไรอีกบ้าง?

21 ธันวาคม นี้ เป็นวัน “เหมายัน” ที่มีช่วงเวลากลางคืนยาวที่สุดในรอบปี! สำหรับประเทศไทย ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์ขึ้น 06:36 น. และตกเวลาประมาณ 17:55 น. แต่รู้ไหมว่านอกจากปรากฏการณ์แบบนี้ ยังมีปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวกับการขึ้น – ตก ของดวงอาทิตย์อะไรอีกบ้าง ไปดูกันค่ะ

ปรากฏการณ์ถ้ำหลวง ปรากฏการณ์แห่งชีวิตและความทรงจำ

วันนี้เมื่อ 1 ปีที่แล้ว เป็นวันที่โค้ชและน้องๆ ทีมหมูป่าหายเข้าไปในถ้ำหลวงและเป็นจุดเริ่มต้นปฏิบัติการระดับโลกนาน 17 วัน ผ่านมา 1 ปี พวกเขามีชีวิตอย่างไร ติดตามรายงาน ปรากฏการณ์ถ้ำหลวง ปรากฏการณ์แห่งชีวิตและความทรงจำ

1 2
...