![](https://tna.mcot.net/wp-content/uploads/2022/10/11/1036343/1665477547_453073-tnamcot-685x360.jpg)
ประท้วงในเฮติ เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน
เกิดเหตุปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจ ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน
เกิดเหตุปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับตำรวจ ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน
เตหะราน 9 ต.ค.- รายการข่าวภาคค่ำของสถานีโทรทัศน์ทางการอิหร่านถูกเจาะระบบหรือแฮ็กเป็นเวลาสั้น ๆ ด้วยภาพผู้นำสูงสุดของประเทศที่ถูกตัดต่อ ขณะที่การประท้วงเหตุสตรีเสียชีวิตขณะถูกตำรวจควบคุมตัวได้ต่อเนื่องเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 แล้ว แฮ็กเกอร์ออกอากาศภาพอยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านอยู่ท่ามกลางเปลวไฟ เป็นเวลา 15 วินาที แทรกการออกอากาศรายการข่าวภาคค่ำ พร้อมกับคำบรรยายภาพว่า “เข้าร่วมกับเราและลุกขึ้นต่อสู้” และ “เลือดของคนหนุ่มสาวกำลังหยดออกจากกรงเล็บของเจ้า” โดยมีเสียงเพลงประกอบเป็นเพลงที่ผู้ประท้วงใช้ในการชุมนุม การชุมนุมทั่วอิหร่านดำเนินมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน หลังเสร็จสิ้นพิธีฝังศพมาห์ซา อามินี สตรีอิหร่านเชื้อสายเคิร์ดวัย 22 ปี ที่เสียชีวิตขณะถูกตำรวจศีลธรรมควบคุมตัวเพราะไม่สวมฮิญาบคลุมผม ทางการอิหร่านใช้กำลังปราบปรามการประท้วง คาดว่ามีคนเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง และมีคนถูกจับกุมไปเป็นจำนวนมาก.-สำนักข่าวไทย
นายคริสตอฟ เบชู รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของฝรั่งเศสกล่าววันนี้ว่า รัฐบาลฝรั่งเศสจะยังไม่ปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับผู้ใช้รถยนต์ หรือ จำกัดการใช้บริการที่สถานีบริการน้ำมัน เพื่อรับมือกับปัญหาปริมาณน้ำมันที่เกี่ยวข้องกับการผละงานประท้วงของพนักงานโรงกลั่นน้ำมัน
กรุงเทพฯ 6 ต.ค.- ผู้สร้างภาพยนตร์สารคดีชาวญี่ปุ่นที่ถูกควบคุมตัวในนครย่างกุ้งของเมียนมาเมื่อเดือนกรกฎาคมถูกตัดสินลงโทษจำคุกหลายปีเมื่อวันพุธโทษฐานปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครองและฝ่าฝืนกฎหมายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ สำนักข่าวเกียวโดนิวส์รายงานอ้างแหล่งข่าวว่า นายโทรุ คุโบตะ ผู้สร้างภาพยนตร์สารคดีถูกศาลตัดสินจำคุก 3 ปีในข้อหาปลุกปั่นให้ขัดขืนอำนาจปกครอง และจำคุก 7 ปีในข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเขาจะถูกจำคุกรวม 10 ปีหรือไม่ เขาถูกตัดสินโดยศาลที่ตั้งขึ้นในเรือนจำอินเส่ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ ส่วนการพิจารณาคดีข้อหาฝ่าฝืนกฎหมายเข้าเมืองยังคงดำเนินอยู่ นายคุโบตะถูกทางการเมียนมาควบคุมเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมขณะกำลังบันทึกภาพการประท้วงต่อต้านกองทัพ กองทัพเมียนมาระบุว่า เขาใช้วีซ่านักท่องเที่ยวเดินทางจากไทยเข้าเมียนมา และเข้าร่วมการประท้วงรวมทั้งสื่อสารกับผู้ประท้วงระหว่างที่บันทึกภาพเหตุการณ์ นอกจากนี้ยังเคยรายงานเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ.-สำนักข่าวไทย
ชาวอังกฤษไม่ทนค่าไฟและข้าวของแพง รวมตัวชุมนุมในหลายสิบเมืองทั่วสหราชอาณาจักร เพื่อประท้วงการปรับขึ้นค่าก๊าซและค่าไฟฟ้า ด้วยสโลแกน “ไม่จ่าย”
เตหะราน 3 ต.ค.- สื่อหลายแห่งรายงานว่า เกิดเหตุตำรวจอิหร่านปะทะกับนักศึกษามหาวิทยาลัยชื่อดังในกรุงเตหะรานเมื่อวันอาทิตย์ และมีนักศึกษาจำนวนมากติดอยู่ภายในลานจอดรถของมหาวิทยาลัย คลิปที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์เห็นกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชารีฟวิ่งหนีเจ้าหน้าที่ความมั่นคง และได้ยินเสียงปืนดังไกล ๆ ขณะที่อีกคลิปหนึ่งเห็นเจ้าหน้าที่ความมั่นคงบนรถจักรยานยนต์ตั้งท่ายิงไปที่รถยนต์คันหนึ่งที่มีผู้โดยสารในรถกำลังถ่ายคลิปอยู่ สถานีโทรทัศน์อิหร่านอินเตอร์เนชันนัลที่ตั้งอยู่ในอังกฤษอ้างรายงานหลายกระแสว่า เจ้าหน้าที่ความมั่นคงบุกหอพักนักศึกษาและยิงปืนใส่หอพัก บางรายงานระบุว่า มีการยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมประท้วง และมีฝูงชนไปรวมตัวกันที่หน้าประตูใหญ่ของมหาวิทยาลัยในช่วงเย็นหลังจากทราบข่าวการปะทะกันระหว่างตำรวจกับนักศึกษา เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันเปิดภาคการศึกษา การประท้วงต่อต้านรัฐบาลอิหร่านเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายน จากกรณีที่มาห์ชา อามีนี สตรีอิหร่านวัย 22 ปี มีอาการโคม่าภายในไม่กี่ชั่วโมง หลังจากถูกตำรวจศีลธรรมควบคุมตัวเพราะไม่สวมฮิญาบคลุมผม มีรายงานว่าตำรวจใช้กระบองตีศีรษะเธอและจับศีรษะกระแทกกับรถ ตำรวจแย้งว่า ไม่มีหลักฐานเรื่องการปฏิบัติไม่ดีและอ้างว่าเธอเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวฉับพลัน การประท้วงทวีความรุนแรงในช่วง 2 คืนที่ผ่านมาในกรุงเตหะรานและหลายเมืองทั่วอิหร่านแม้ว่ามีผู้ประท้วงเสียชีวิตเพิ่มขึ้น องค์การสิทธิมนุษยชนอิหร่านที่ตั้งอยู่ในนอร์เวย์อ้างว่า มีผู้ประท้วงถูกสังหารแล้ว 133 คน ขณะที่ทางการอิหร่านประกาศว่า จะกวาดล้างผู้ประท้วงเพราะเป็นกลุ่มจัดตั้งโดยศัตรูภายนอกของอิหร่าน.-สำนักข่าวไทย
ชาวอังกฤษหลายพันคน ชุมนุมประท้วงภาวะพลังงานและค่าครองชีพแพง แม้ นายกฯ ลิซ ทรัสส์ เพิ่งผลักดันแผนช่วยเหลือประชาชน
ฮาวานา 30 ก.ย.- ชาวคิวบาออกไปเคาะหม้อตามท้องถนนและจัดการชุมนุมประท้วงในหลายย่านทั่วกรุงฮาวานา เมื่อคืนวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น เนื่องจากทั้งประเทศไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้มา 3 วันแล้ว นับตั้งแต่เฮอริเคนเอียน (Ian) ถล่มเมื่อวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น เฮอริเคนเอียนขึ้นฝั่งตะวันตกของคิวบาด้วยความรุนแรงระดับ 3 ทำให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าใช้การไม่ได้ทั้งประเทศ ประชาชน 11 ล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ บ้านเรือนพังเหลือแต่ซาก พื้นที่การเกษตรเสียหายหนัก กลายเป็นฟางเส้นสุดท้ายสำหรับชาวคิวบาที่เผชิญภาวะขาดแคลนอาหาร ยา และเชื้อเพลิงอยู่แล้ว รอยเตอร์รายงานว่า มีคนออกมาเคาะหม้อตามท้องถนนและมีการชุมนุมขนาดเล็กอย่างสงบในหลายพื้นที่ของกรุงฮาวานา ขณะที่สื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ภาพการประท้วงขนาดเล็กทั่วเมืองหลวงและบางจังหวัดตั้งแต่บ่ายวันพฤหัสบดีจนถึงเช้าวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น ก่อนหน้านี้ ทางการคิวบาประกาศในวันพฤหัสบดีว่า หลายพื้นที่ในเมืองหลวงมีไฟฟ้าใช้แล้ว แต่ชาวกรุงฮาวานาบางคนแย้งว่า ยังไม่มีไฟฟ้าใช้และยังไม่ได้รับคำชี้แจงใด ๆ ขณะเดียวกันมีรายงานว่า การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในกรุงฮาวานาทั้งแบบใช้สายและแบบไร้สายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ดูเหมือนจะล่มตั้งแต่ก่อนเวลา 21:00 น. วันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น และยังคงใช้งานไม่ได้จนถึงเวลา 03:00 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับเวลา 14:00 น. วันนี้ตามเวลาไทย.-สำนักข่าวไทย
เตหะราน 28 ก.ย. – อิหร่าน ฮิวแมน ไรต์ส หรือไอเอชอาร์ องค์กรสิทธิมนุษยชนอิหร่านที่มีสำนักงานในนอร์เวย์ ระบุว่า กองกำลังความมั่นคงของอิหร่านได้สังหารผู้ชุมนุมอย่างน้อย 76 คนจากเหตุชุมนุมประท้วงที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 11 วันนับตั้งแต่เกิดเหตุหญิงไม่สวมฮิญาบเสียชีวิตขณะถูกตำรวจอิหร่านควบคุมตัว ไอเอชอาร์ระบุว่า กองกำลังความมั่นคงของอิหร่านได้สังหารผู้ประท้วงอย่างน้อย 76 คน พร้อมกล่าวหาเจ้าหน้าที่อิหร่านว่าใช้กำลังเกินกว่าเหตุและใช้กระสุนจริงปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม รวมถึงจับกุมประชาชนหลายร้อยคน ในจำนวนนี้ มีนักข่าว 20 คนรวมอยู่ด้วย ขณะที่สื่อของทางการอิหร่านรายงานว่า เหตุประท้วงทำให้มีผู้เสียชีวิต 41 คน ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่กองกำลังความมั่นคงอิหร่านหลายนาย พร้อมทั้งกล่าวโทษผู้ชุมนุมว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ผู้อำนวยการของไอเอชอาร์ระบุว่า กลุ่มผู้ชุมนุมเสี่ยงต่อการถูกทรมานและควบคุมตัวอย่างโหดร้ายทารุณ การยิงกระสุนจริงใส่กลุ่มผู้ชุมนุมถือเป็นการก่ออาชญากรรมระหว่างประเทศ และขอเรียกร้องให้ทั่วโลกช่วยกันปกป้องสิทธิของประชาชนอิหร่าน ขณะที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสประชาชาติ (UNHRC) ระบุว่า รู้สึกวิตกกังวลอย่างมากจากการที่อิหร่านใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุม และเรียกร้องให้อิหร่านเคารพสิทธิของประชาชนในการชุมนุมโดยสันติ บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ หรือบีบีซี รายงานว่า ขณะนี้ เหตุประท้วงต่อต้านรัฐบาลอิหร่านได้ขยายวงกว้างไปกว่า 80 เมืองและชุมชนทั่วประเทศนับตั้งแต่มีการจัดงานศพของมาห์ซา อามินี เมื่อวันที่ 17 กันยายน ก่อนหน้านี้ มาห์ซา อามินี หญิงชาวอิหร่าน […]
ปักกิ่ง 27 ก.ย. – ชาวจีนหลายสิบคนได้ออกมาชุมนุมประท้วงมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งเป็นการประท้วงที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในจีน ในขณะที่ทางการท้องถิ่นประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์สั้น ๆ หลังพบผู้ป่วยโควิดรายใหม่จำนวนหนึ่งในชุมชน เขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีของจีนและมีประชากรกว่า 18 ล้านคน รายงานวันนี้ว่า พบผู้ป่วยโควิดรายใหม่เพียง 10 คน แต่ยังคงสั่งให้ประชาชนใน 3 เขตของเซินเจิ้นอยู่แต่ในบ้าน เนื่องจากต้องปฏิบัติตามนโยบายทำให้ยอดผู้ป่วยโควิดเป็นศูนย์ ทั้งนี้ มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ของจีนกำลังเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักในการยุติการระบาดของโรคโควิดให้ได้ก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในเดือนหน้า ในขณะเดียวกัน คลิปวิดีโอที่เผยแพร่ผ่านเวย์ปั๋ว แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดังของจีนแบบเดียวกันกับทวิตเตอร์ และอินสตราแกรมตั้งแต่เมื่อวันจันทร์แสดงให้เห็นภาพชาวจีนหลายสิบคนในย่านหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้เขตฝูเถียน ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการของเขตปกครองพิเศษเซินเจิ้น ออกมาชุมนุมบนท้องถนนพร้อมพูดขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘ยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์’ ในขณะที่มีตำรวจสวมชุดป้องกันเชื้อโรคยืนคุมสถานการณ์อยู่หลายนาย และยังมีอีกคลิปหนึ่งที่แสดงให้เห็นภาพผู้หญิงจีนคนหนึ่งตะโกนว่า ‘ตำรวจทำร้ายประชาชน’ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของทางการท้องถิ่นระบุว่า ขณะนี้ เขตปกครองพิเศษเซินเจิ้นมีชุมชนอย่างน้อย 14 แห่งใน 3 เขต ได้แก่ เขตฝูเถียน เขตหลัวหู และเขตหลงกัง ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อโควิดสูง และประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ในวันนี้ โดยสั่งให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้าน แต่ไม่เปิดเผยตัวเลขประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีชุมชนอีก 15 แห่งที่เป็นพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อโควิดปานกลาง […]
การประท้วงทั่วประเทศอิหร่านเริ่มบานปลาย เหตุปะทะระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงกับเจ้าหน้าที่ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 41 คน
ปารีส 25 ก.ย.- ชุมชนชาวอิหร่านในยุโรปชุมนุมตามเมืองต่าง ๆ เมื่อวันเสาร์ ประณามอิหร่านที่ปราบปรามการประท้วงเหตุสตรีคนหนึ่งเสียชีวิตขณะถูกตำรวจศีลธรรมควบคุมตัว ผู้ชุมนุมรวมตัวกันที่จัตุรัสปลาซดูชัตเลต์ในกรุงปารีสของฝรั่งเศส ตะโกนถ้อยคำเป็นภาษาเปอร์เซียของชาวอิหร่านและภาษาฝรั่งเศสต่อต้านอยาตอลลาห์ อาลี คาเมนีอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน และขอให้ประธานาธิบดีเอมานูแอล มาครงของฝรั่งเศสยุติการเจรจากับอิหร่านเรื่องฟื้นข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2558 ผู้ชุมนุมยังได้ร้องเพลงเบลลาเชา (Bella Ciao) ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านของอิตาลีที่กลายเป็นเพลงสัญลักษณ์ที่ใช้ทั่วโลกเรื่องเสรีภาพและการต่อต้าน โดยร้องเป็นภาษาเปอร์เซีย รวมทั้งตะโกนคำขวัญที่ผู้ชุมนุมในอิหร่านใช้ โดยมีทั้งภาษาเปอร์เซียและภาษาเคิร์ด เนื่องจากมาห์ซา อามินี สตรีชาวอิหร่านวัย 22 ปีที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 กันยายน ขณะถูกตำรวจศีลธรรมอิหร่านควบคุมตัวเพราะไม่สวมฮิญาบคลุมผมเป็นชาวเคิร์ด ส่วนที่กรุงเอเธนส์ของกรีซ และกรุงสตอกโฮล์มของสวีเดน สตรีอิหร่านกลุ่มหนึ่งพากันตัดผมเพื่อแสดงความเป็นพวกเดียวกันกับอามินี ทางการอิหร่านแจ้งว่า มีผู้เสียชีวิต 35 คนจากการประท้วงในประเทศ แต่นักเคลื่อนไหวแย้งว่า มีผู้เสียชีวิตเกิน 50 คนแล้ว.-สำนักข่าวไทย