คณะมนตรีฯ ยูเอ็นปัดตกญัตติของรัสเซียเรื่องอิสราเอล-ฮามาส

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติปัดตกญัตติของรัสเซียที่ประณามเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง โดยสมาชิกคณะมนตรีฯ ไม่ปฎิเสธที่จะสนับสนุนญัตติของรัสเซียที่ไม่ไดด้ระบุชื่อกลุ่มฮามาสที่ก่อเหตุโตมตีอิสราเอลแบบไม่ทันตั้งตัวที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,400 ราย

ปฏิกิริยานานาชาติต่อเหตุฮามาสถล่มอิสราเอล

ฝรั่งเศส 8 ต.ค.- นานาชาติแสดงท่าทีที่แตกต่างกันต่อเหตุกลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลครั้งใหญ่เมื่อวันเสาร์ โดยมีทั้งฝ่ายประณามการโจมตี ฝ่ายสนับสนุนให้อิสราเอลปกป้องตนเอง ฝ่ายสนับสนุนการกระทำของฮามาส และฝ่ายที่เป็นห่วงผู้ถูกฮามาสจับเป็นตัวประกัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐแถลงที่ทำเนียบขาวโดยการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ว่า สหรัฐสนับสนุนอิสราเอลอย่างแข็งขันและแน่วแน่ เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเผยว่า รัฐบาลกำลังหารือกับอิสราเอลเรื่องส่งความช่วยเหลือทางทหาร ขณะที่ที่ปรึกษาของอยาตอลลาห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่านกล่าวว่า อิหร่านสนับสนุนปฏิบัติการที่น่าภาคภูมิใจครั้งนี้ และสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ จนกว่าจะสามารถปลดปล่อยปาเลสไตน์และเยรูซาเล็ม สมาชิกรัฐสภาอิหร่านตะโกนประณามอิสราเอลและสหรัฐอเมริกา และตะโกนสนับสนุนปาเลสไตน์ในการประชุมสภาเมื่อวันเสาร์ ด้านซาอุดีอาระเบียเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายยุติการทำให้สถานการณ์ทวีความรุนแรงโดยทันทีและปกป้องพลเรือน โดยย้ำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการยึดครองและพรากสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนชาวปาเลสไตน์ นายโฟลเคอร์ เติร์ก ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อรายงานข่าวมีพลเรือนในอิสราเอลถูกจับเป็นตัวประกัน เช่นเดียวกับนายโจเซฟ บอร์เรลล์ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรปหรืออียู ที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวประกันโดยทันทีเพราะขัดต่อกฎหมายสากล อียูยังได้ประณามการกระทำของกลุ่มฮามาสว่า เป็นการก่อการร้าย อิสราเอลจึงมีสิทธิปกป้องตนเอง อียูและชาติใหญ่ในยุโรปอย่างฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ แสดงความสนับสนุนอิสราเอล ขณะที่แอฟริกาใต้แสดงความกังวลที่ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ทวีความรุนแรง และเห็นว่าจำเป็นต้องมีกระบวนการสันติภาพที่ตั้งอยู่บนมติยูเอ็นว่าด้วยทางออก 2 รัฐ (two-state solution) เรื่องการสถาปนารัฐอิสราเอลคู่กับรัฐปาเลสไตน์.-สำนักข่าวไทย

นายกฯ โพสต์ประณามการโจมตีอิสราเอล ไร้มนุษยธรรม

นายกฯ โพสต์ประณามการโจมตีอิสราเอล ไร้มนุษยธรรม แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่ออิสราเอล พร้อมสั่งการ ทอ. เตรียมพร้อมเครื่อง Airbus A340 และ C-130 อพยพคนไทย ขณะเดียวกันรอยืนยันข่าวแรงงานไทยถูกจับไป 2 คน

ยูเอ็นประณามรัสเซียถล่มเมืองในยูเครนวานนี้

สหประชาชาติ หรือยูเอ็น ประณามการที่รัสเซียยิงขีปนาวุธถล่มเมืองเชอร์นีฮิว (Chernihiv) เมื่อวันเสาร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน บาดเจ็บ 144 คน

น้องสาวผู้นำเกาหลีเหนือประณามยูเอ็นเอสซี

คิม โย-จอง น้องสาวผู้นำเกาหลีเหนือ ประณามการประชุมของยูเอ็นเอสซี เกี่ยวกับการปล่อยดาวเทียมสอดแนมของเกาหลีเหนือ ยืนยันเดินหน้าปล่อยดาวเทียมสอดแนมต่อไป เพราะถือเป็นสิทธิทางอธิปไตยของเกาหลีเหนือ

“สี จิ้นผิง” ประณามการหยุดยั้งจีนที่นำโดยสหรัฐ

ปักกิ่ง 7 มี.ค.- ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนใช้การกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมประจำปีของสภาประชาชนแห่งชาติ ประณามการหยุดยั้งจีนที่นำโดยสหรัฐ สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานเมื่อเย็นวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า ประธานาธิบดีสี วัย 69 ปี กล่าวต่อที่ประชุมสภาที่ปรึกษาทางการเมืองของจีนหรือซีพีพีซีซี (CPPCC) ว่า ชาติตะวันตกที่นำโดยสหรัฐได้ดำเนินการจำกัดรอบด้าน ล้อมกรอบ และหยุดยั้งจีน นำมาซึ่งความท้าทายร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนกับการพัฒนาของจีน ประธานาธิบดีสีกล่าวว่า ระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาเต็มไปด้วยอุปสรรคชุดใหม่ที่เสี่ยงทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนชะลอตัว จีนจึงต้องมีความกล้าหาญที่จะต่อสู้ ในช่วงที่ประเทศต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งและซับซ้อนทั้งในและต่างประเทศ ช่วงหลายปีมานี้จีนและสหรัฐมีข้อพิพาทกันในหลายเรื่อง เช่น การค้า สิทธิมนุษยชน ความสัมพันธ์ทวิภาคีย่ำแย่ลงอีกเมื่อสหรัฐยิงบอลลูนของจีนที่ลอยเหนือน่านฟ้าสหรัฐตกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ สหรัฐกล่าวหาว่าเป็นบอลลูนสอดแนม แต่จีนอ้างว่า เป็นบอลลูนตรวจสภาพอากาศ เหตุการณ์นี้ทำให้นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเลื่อนการเดินทางไปจีนที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันหลังจากนั้น.-สำนักข่าวไทย

เบลารุสจำคุกนักเคลื่อนไหวเจ้าของรางวัลโนเบล

มินสก์ 4 มี.ค.- เบลารุสตัดสินจำคุก 10 ปี นายอาเลส เบียเลียตสกี นักเคลื่อนไหวเจ้าของรางวัลโนเบลสันติภาพร่วมปี 2565 ทำให้นานาชาติพากันประณาม นายเบียเลียตสกี วัย 60 ปี เป็นนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยและสมาชิกผู้ก่อตั้งศูนย์สิทธิมนุษยชนเวียสนา (Viasna) ในเบลารุส เขาและพรรคพวก 2 คน ถูกคุมขัง หลังจากชาวเบลารุสออกมาประท้วงครั้งประวัติศาสตร์ ต่อต้านการที่ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก วัย 68 ปี ได้รับเลือกตั้งอีกสมัยในปี 2563 ผูกขาดการเป็นประธานาธิบดีคนแรกและคนเดียวของเบลารุสนับตั้งแต่เบลารุสประกาศตัวเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตที่ล่มสลายในปี 2534 นายเบียเลียตสกีและพรรคพวกถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาลักลอบและให้เงินสนับสนุนการเคลื่อนไหวที่ฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยของประชาชนอย่างร้ายแรง ศาลมีคำตัดสินเมื่อวานนี้ให้เขาถูกจำคุก 10 ปี จำเลยร่วมอีก 2 คนถูกตัดสินจำคุก 9 ปี และ 7 ปี ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีจำเลยอีก 1 คนที่ถูกพิจารณาคดีลับหลัง ถูกตัดสินจำคุก 8 ปี สหประชาชาติประณามว่า การจับกุมและคุมขังตามอำเภอใจกับผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วยข้อหาที่มีแรงจูงใจทางการเมืองเป็นเรื่องที่น่าตกใจ ขณะที่คณะกรรมการโนเบลระบุว่า เป็นคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง […]

จีนประณาม “ไบเดน” พูดถึง “สี” อย่างไร้ความรับผิดชอบ

ปักกิ่ง 9 ก.พ.- จีนประณามประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐว่า ไร้ความรับผิดชอบอย่างยิ่ง กรณีที่กล่าวถึงประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนว่าเผชิญกับปัญหามากมายมหาศาล โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนกล่าวระหว่างการแถลงข่าวตามปกติในวันนี้ว่า จีนไม่พอใจอย่างยิ่ง ถ้อยคำประเภทนี้ของสหรัฐถือว่าไร้ความรับผิดชอบอย่างยิ่ง และขัดต่อพิธีการทูตพื้นฐาน จีนขอคัดค้านอย่างจริงจัง โฆษกจีนกล่าวเรื่องนี้ เนื่องจากประธานาธิบดีไบเดนให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์พีบีเอส นิวส์อาวเออร์ (PBS NewsHour) เมื่อวันพุธตามเวลาสหรัฐว่า จีนถูกจำกัดความสามารถในการเผชิญหน้ากับสหรัฐ เพราะต้องปกป้องการค้าระหว่างประเทศ และกล่าวถึงประธานาธิบดีสีว่า มีปัญหามากมายมหาศาล รวมถึงเศรษฐกิจที่ไม่สามารถเดินหน้าได้ดีเท่าใดนัก เขาไม่คิดว่าจะมีผู้นำโลกคนใดอยากแลกตำแหน่งกับประธานาธิบดีสี ไบเดนพูดเรื่องนี้หลังจากเล่าเรื่องการประชุมสุดยอดกับผู้นำจีน นอกรอบการประชุมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) ที่อินโดนีเซียเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 และความสัมพันธ์สหรัฐ-จีนที่เย็นชาลง หลังจากสหรัฐพบบอลลูนจีนลอยที่ระดับสูงก่อนตัดสินใจยิงตกเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาตามเวลาสหรัฐ อย่างไรก็ดี ผู้นำสหรัฐยืนยันว่า สหรัฐไม่ต้องการสร้างความขัดแย้งกับจีน.-สำนักข่าวไทย

สหรัฐประณามเมียนมาขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

วอชิงตัน 2 ก.พ.- สหรัฐประณามรัฐบาลทหารเมียนมาที่ขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินว่า ทำให้ความทุกข์ยากตลอด 2 ปีที่ผ่านมายืดเยื้อต่อไปอีก นับตั้งแต่กองทัพรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐแถลงว่า สหรัฐคัดค้านอย่างยิ่งต่อการที่รัฐบาลทหารพม่า (เป็นชื่อที่สหรัฐใช้เรียกเมียนมา) ตัดสินใจขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้การปกครองไม่ชอบธรรมและความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับประเทศยืดเยื้อต่อไปอีก สหรัฐมุ่งมั่นที่จะร่วมกับประเทศอื่นไม่ยอมรับความน่าเชื่อในระดับสากลของรัฐบาลนี้ โฆษกสหรัฐยังได้ประณามสิ่งที่รัฐบาลทหารเรียกว่าการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งแบบนั้นจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงและความไร้เสถียรภาพ และจะไม่ใช่การเลือกตัวแทนของประชาชนในประเทศ สหรัฐแสดงท่าทีดังกล่าวหลังจากรัฐบาลทหารเมียนมาแถลงในวันครบ 2 ปีของการรัฐประหารว่า จะขยายประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปอีก 6 เดือน เท่ากับทำให้กำหนดการเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไปอีกภายใต้ระเบียบรัฐธรรมนูญ ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกันสหรัฐได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัฐมนตรีพลังงานและผู้บริหารบริษัทน้ำมันของเมียนมาเพื่อเพิ่มการกดดัน.-สำนักข่าวไทย

ผู้นำโลกประณามเหตุบุกรัฐสภาในบราซิล

วอชิงตัน 9 ม.ค.- ผู้นำทั่วโลกประณามเหตุกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลโซนารูของบราซิลบุกอาคารรัฐสภา ทำเนียบประธานาธิบดี และศาลฎีกาเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาบราซิล เพื่อประท้วงรัฐบาลชุดใหม่ที่ชนะเลือกตั้งเมื่อเดือนตุลาคมปีก่อน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐกล่าวกับสื่อว่า เป็นการกระทำที่อุกอาจ จากนั้นทวีตผ่านทวิตเตอร์ว่า ขอประณามการทำร้ายประชาธิปไตยและการทำร้ายการเปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างสันติในบราซิล สถาบันประชาธิปไตยของบราซิลได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐ เจตนารมณ์ของชาวบราซิลจะต้องไม่ถูกสั่นคลอน เขาพร้อมเดินหน้าทำงานร่วมกับประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ที่เป็นผู้นำคนใหม่ของบราซิล ประธานาธิบดีในอเมริกาใต้หลายคน เช่น อาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย เวเนซุเอลา พากันประณามการกระทำของกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีบราซิล และให้กำลังใจประธานาธิบดีลูลา เช่นเดียวกับผู้นำฝรั่งเศสและคิวบา ขณะที่นายโจเซฟ บอร์เรลล์ หัวหน้านโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรปหรืออียูทวีตว่า ตกใจกับการที่กลุ่มสุดโต่งใช้ความรุนแรงและเข้ายึดที่ทำการรัฐบาลบราซิลอย่างผิดกฎหมาย แม้แต่นายกรัฐมนตรีจอร์เจีย เมโลนี ของอิตาลีที่มีแนวคิดขวาจัดก็ประณามกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตผู้นำบราซิลฝ่ายขวาว่า การก่อเหตุกับที่ทำการรัฐบาลเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้และไม่ใช่การแสดงความเห็นต่างแบบประชาธิปไตย ทวิตเตอร์ของสมาชิกวุฒิสภาพรรคเดโมแครตสหรัฐหลายคนระบุว่า เหตุการณ์ที่บราซิลเกิดขึ้นในวันที่ 8 มกราคม สองปีเต็มหลังจากกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์บุกรัฐสภาสหรัฐเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2564 หวังล้มล้างการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2563 และมีผู้เสียชีวิต 5 คน สะท้อนว่า สิ่งที่สืบทอดมาจากทรัมป์ยังคงเป็นพิษต่อทวีปอเมริกาอยู่ […]

เอเปคระบุสมาชิกส่วนใหญ่ประณามสงครามในยูเครน

กรุงเทพฯ 19 พ.ย.- ผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปค (APEC) ออกแถลงการณ์ระบุว่า สมาชิกส่วนใหญ่ประณามสงครามในยูเครน ในการประชุมสุดยอดเอเปคครั้งที่ 29 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งปิดฉากลงในวันนี้ สมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจออกแถลงการณ์ร่วมว่า สมาชิกส่วนใหญ่ขอประณามสงครามในยูเครน และขอย้ำว่าสงครามนี้ทำให้ผู้คนทุกข์ยากและยิ่งทำให้เศรษฐกิจโลกเปราะบางมากยิ่งขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดี ที่ประชุมมีทัศนะและการประเมินที่แตกต่างกันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและการใช้มาตรการคว่ำบาตร เอเอฟพีตั้งข้อสังเกตว่า แถลงการณ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากทั้งหมด 21 เขตเศรษฐกิจรวมทั้งรัสเซียและจีน ไม่มีถ้อยคำวิจารณ์รัสเซียที่รุกรานยูเครน และมีถ้อยคำเหมือนปฏิญญาที่ประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) ที่บาหลีของอินโดนีเซียเมื่อวันพุธแบบคำต่อคำ ยกเว้นเพียงชื่อการประชุมเท่านั้นที่เปลี่ยนไป.-สำนักข่าวไทย

ผู้นำจี 20 ประณามสงครามยูเครน-รับปากลดโลกร้อน

นูซา ดัว 16 พ.ย.- ผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่หรือจี 20 (G20) ประณามการทำสงครามในยูเครน และรับปากจะจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ปฏิญญาหลังสิ้นการประชุมสุดยอดจี 20 ที่ดำเนินมา 2 วันตั้งแต่วันอังคารระบุว่า สมาชิกส่วนใหญ่ขอประณามสงครามในยูเครน แม้ว่าที่ประชุมมีทัศนะและการประเมินที่แตกต่างกันต่อสถานการณ์ในยูเครนและมาตรการคว่ำบาตร ที่ประชุมเห็นว่าการใช้หรือขู่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ ทุกฝ่ายจะต้องยึดมั่นในกฎหมายสากลและระบบพหุภาคีที่ปกป้องสันติภาพและเสถียรภาพ รวมถึงการปกป้องวัตถุประสงค์และหลักการทั้งหมดในกฏบัตรสหประชาชาติ และการยึดมั่นในกฎหมายมนุษยธรรมสากล นักการทูต 3 คนเผยว่า ปฏิญญานี้ผ่านความเห็นชอบด้วยเสียงเอกฉันท์ รอยเตอร์ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ปฏิญญาใช้คำว่า สมาชิกส่วนใหญ่ สะท้อนว่ารัสเซียซึ่งเป็นสมาชิกจี 20 ได้คัดค้านถ้อยคำบางอย่าง ส่วนจีนและอินเดียซึ่งเป็นสมาชิกเช่นเดียวกันยังไม่ชัดเจนว่าแสดงท่าทีอย่างไร หลังจากที่ 2 ประเทศนี้เคยงดออกเสียงในการลงมติต่อญัตติสหประชาชาติว่าด้วยสงครามยูเครนเมื่อเดือนมีนาคม ปฏิญญายังระบุเรื่องผู้นำจี 20 เห็นพ้องกันว่าจะเดินหน้าจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และเร่งทยอยเลิกใช้พลังงานจากถ่านหิน พร้อมกับขอให้การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 27 หรือคอป 27 (COP27) ที่กำลังดำเนินอยู่ในอียิปต์ให้เพิ่มความพยายามอย่างเร่งด่วนในประเด็นการบรรเทาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.-สำนักข่าวไทย

1 2 3 4 14
...