ตรวจสอบมูลนิธิอนุรักษ์ช้าง ผลประโยชน์ทับซ้อนธุรกิจปางช้างหรือไม่
ภูเก็ตสั่งตรวจสอบมูลนิธิอนุรักษ์ช้าง ของชาวสวิส เข้าข่ายทับซ้อนผลประโยชน์ธุรกิจปางช้างที่เขาเป็นเจ้าของด้วยหรือไม่ หากพบมีความผิดจะเสนอให้มีการเพิกถอนมูลนิธิดังกล่าว
ภูเก็ตสั่งตรวจสอบมูลนิธิอนุรักษ์ช้าง ของชาวสวิส เข้าข่ายทับซ้อนผลประโยชน์ธุรกิจปางช้างที่เขาเป็นเจ้าของด้วยหรือไม่ หากพบมีความผิดจะเสนอให้มีการเพิกถอนมูลนิธิดังกล่าว
ภูเก็ต 1 มี.ค. – ข่าวคุณหมอในภูเก็ตออกมาระบุว่าถูกชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและยังเป็นเจ้าของธุรกิจปางช้างในภูเก็ตทำร้ายโดยการใช้เท้าเตะเข้าที่หลัง พูดจาในลักษณะเหยียดคนพื้นถิ่น โดยอ้างตำรวจยศใหญ่ในพื้นที่ แม้ล่าสุดจะออกมายกมือไหว้ขอโทษและบอกว่าเป็นอุบัติเหตุสะดุดล้มไม่มีเจตนา แต่สังคมยังคงพากันตั้งคำถามต่อไปถึงเรื่องมูลนิธิอนุรักษ์ช้าง เอกสารแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิดูแลช้าง ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ปรากฏชื่อกรรมการของมูลนิธิ 5 คน โดยมี นายอูร์ส ชาวสวิสเซอร์แลนด์ เป็นประธาน และมีนางคนึงนิจ ภรรยาเป็นรองประธานกรรมการและเหรัญญิก โดยเริ่มต้น มูลนิธิมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง ก่อนจะแจ้งย้ายสถานที่มา ตำบลป่าคลอก เมื่อ 20 พ.ย 66 ระบุวัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อช่วยเหลือ ดูแล รักษา เยียวยาช้างที่ได้รับบาดเจ็บการใช้แรงงาน ให้ความรู้ด้านการเลี้ยงดูช้างอย่างถูกวิธีแก่ควาญช้าง โดยไม่แสวงหาผลกำไร มีทุนจดทะเบียนแรกตั้งจำนวน 5 แสนบาท โดยใช้รูปหัวช้าง เป็นเครื่องหมายของมูลนิธิ ตามข้อความที่ปรากฏในเอกสารการจดทะเบียนว่า รูปหัวช้างที่มีอาการเศร้าหมองเนื่องจากถูกบุคคล หรือผู้ใดบีบบังคับให้ใช้แรงงาน หรือไม่เหมาะกับชีวิตของช้าง อย่างไรก็ตาม เมื่อตรวจสอบ พบข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า รูปเครื่องหมายหัวช้างของมูลนิธิ […]
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบไปทุกสาขาอาชีพ รวมถึงธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต เช่น ธุรกิจปางช้าง ก่อนหน้านี้เคยเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าร่วมสัมผัสกับวิถีชีวิตของช้างไทยก็กำลังได้รับความเดือดร้อนทั้งคนและช้าง