สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ หนุนดูแลลูกค้าช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น
สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายกระทรวงการคลัง หนุน แบงก์รัฐ ดูแลลูกค้าช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายกระทรวงการคลัง หนุน แบงก์รัฐ ดูแลลูกค้าช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
โซล 7 ส.ค.- หน่วยงานวิชาการของรัฐในเกาหลีใต้เตือนว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังเผชิญความเสี่ยงขาลงมากยิ่งขึ้น อันเป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อสูงและสภาพเศรษฐกิจโลกที่ย่ำแย่ลง สถาบันพัฒนาเกาหลีหรือเคดีไอ (KDI) ออกรายงานประเมินเศรษฐกิจรายเดือนในวันนี้ว่า เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 4 ของเอเชียแห่งนี้อยู่ระหว่างฟื้นตัวเล็กน้อย แต่ความเสี่ยงขาลงกลับเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมภาคการผลิต สาเหตุหลักเกิดจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในสหรัฐและจีน ขณะที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็กระทบหนักต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม เดือนกรกฎาคมปีนี้เกาหลีใต้ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 ต่อปี เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 21 ติดต่อกัน แต่ขาดดุลการค้าเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันเนื่องจากราคาพลังงานโลกปรับตัวสูงขึ้น รัฐบาลเกาหลีใต้เตือนว่า ความไม่แน่นอนจากสภาพเศรษฐกิจภายนอกอาจกระทบต่อการเติบโตด้านการลงทุนและการส่งออก ขณะนี้มีกระแสวิตกมากขึ้นว่า เศรษฐกิจโลกอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย เพราะการที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมากอาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย นอกจากนี้เกาหลีใต้ยังเผชิญแรงกดดันเงินเฟ้อเพราะราคาอาหารและพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการบริโภคดีดตัวกลับมาอีกครั้ง ราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากเดือนเดียวกันปีก่อน สูงที่สุดในรอบ 24 ปี เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาธนาคารกลางเกาหลีของเกาหลีใต้ได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.5 มกาที่สุดเท่าที่เคยมีมา หวังควบคุมอัตราเงินเฟ้อ โดยเป็นการขึ้นครั้งที่ 6 นับจากเดือนสิงหาคม 2564 คาดว่าจะขึ้นอีกในเร็ว ๆ นี้ และได้ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2565 ไว้ที่ร้อยละ 2.6 และอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ร้อยละ 4.5.-สำนักข่าวไทย
ธนาคารกลางสหรัฐ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.75 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่กำลังกระทบการจับจ่ายของครัวเรือนชาวอเมริกัน
ลอนดอน 20 ก.ค.- ดัชนีราคาผู้บริโภคของอังกฤษทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปีครั้งใหม่ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากเดือนมิถุนายนปีก่อน และอาจทำให้ธนาคารกลางอังกฤษขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าปกติในเดือนสิงหาคม เดือนมิถุนายนปีนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคซึ่งเป็นตัวชี้วัดภาวะเงินเฟ้อของอังกฤษเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับจากต้นปี 2525 และลบสถิติเดือนพฤษภาคมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 นอกจากนี้ ยังเพิ่มขึ้นมากที่สุดในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือจี 7 (G7) ที่รายงานตัวเลขเงินเฟ้อประจำเดือนมิถุนายนแล้ว สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษระบุว่า ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42 ต่อปี และราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 10 ต่อปี เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนมิถุนายนสูงที่สุดในรอบ 40 ปีครั้งใหม่ ธนาคารกลางอังกฤษขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มาแล้ว 5 ครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 หวังควบคุมอัตราเงินเฟ้อ โดยขึ้นครั้งหลังสุดร้อยละ 0.25 ในเดือนมิถุนายน เป็นร้อยละ 1.25 คาดว่าธนาคารกลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในการประชุมนโยบายเดือนสิงหาคม.-สำนักข่าวไทย
ธอส. คาด กนง. เรียกประชุมนัดพิเศษ อาจขยับเพิ่มดอกเบี้ยร้อยละ 0.5 อาจต้องพิจารณาปรับเงินงวดผ่อนชำระบ้าน
โซล 5 ก.ค.- อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือนมิถุนายนปีนี้สูงที่สุดในรอบเกือบ 24 ปี เป็นผลจากราคาพลังงานสูงขึ้น และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมจะสูงขึ้นมากเช่นเดียวกัน สำนักงานสถิติเกาหลีรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนมิถุนายนปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากเดือนเดียวกันปีก่อน สูงที่สุดนับจากเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตการเงินเอเชีย ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพฤษภาคมปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อน สำนักงานสถิติระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคเกาหลีใต้สูงกว่าร้อยละ 2 ที่เป็นเป้าหมายระยะกลางของธนาคารกลางเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกันแล้ว คาดว่าจะทรงตัวที่ร้อยละ 6 ต่อปีไประยะหนึ่ง และอาจจะแตะร้อยละ 7 ต่อปีในอนาคต ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ในการประชุมนโยบายวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ ธนาคารกลางเกาหลีจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อนถึงร้อยละ 0.50 เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ หลังจากขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมาแล้ว 5 ครั้งตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 โดยขึ้นครั้งละร้อยละ 0.25 ทำให้ดอกเบี้ยขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.75 เกาหลีใต้ถูกกดดันเรื่องภาวะเงินเฟ้อ อันเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นเพราะสงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อ ห่วงโซ่อุปทานโลกสะดุดเพราะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 และความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวจากโควิด นอกจากนี้ยังอาจถูกกดดันเพิ่มขึ้นจากเงินวอนที่อ่อนค่าลงอย่างมาก โดยอ่อนค่าไปแล้วมากกว่าร้อยละ […]
โพลล์นักวิเคราะห์ คาดดอกเบี้ยขยับขึ้นครึ่งหลังปี 65 กังวลเศรษฐกิจถดถอย เชื่อมั่น GDP ไทยโต-เปิดเมืองหนุน SET
เซี่ยงไฮ้ 20 มิ.ย.- ธนาคารกลางจีนคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เป็นอัตราอ้างอิงตามที่ตลาดคาด เนื่องจากไม่สามารถลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ในยามที่เศรษฐกิจใหญ่อื่น ๆ พากันขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ธนาคารประชาชนจีนคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าชั้นดี หรือแอลพีอาร์ (LPR) ระยะ 1 ปีไว้ที่ร้อยละ 3.70 และระยะ 5 ปีไว้ที่ร้อยละ 4.45 แอลพีอาร์ระยะ 1 ปีเป็นอัตราอ้างอิงสำหรับสินเชื่อใหม่และสินเชื่อคงค้าง ส่วนแอลพีอาร์ระยะ 5 ปีเป็นอัตราอ้างอิงสำหรับสินเชื่อบ้าน นักวิเคราะห์ชี้ว่า ธนาคารกลางจีนคงลังเลที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะจะสวนทางกับนโยบายของธนาคารกลางประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด (Fed) และจะดำเนินนโยบายนี้ไปอีกระยะหนึ่งก่อนจะใช้มาตรการอัดฉีดสภาพคล่องและส่งเสริมการกู้ยืมอีกครั้ง แม้ธนาคารกลางจีนไม่วิตกเรื่องเงินหยวนอ่อนค่า เพราะขณะนี้ยังคงแข็งค่าค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ต้องการให้เกิดการเทขายเงินหยวนจนเกิดภาวะไร้เสถียรภาพ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นหากธนาคารกลางจีนลดอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ธนาคารกลางประเทศอื่น ๆ ขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ หลังจากเฟดขึ้นดอกเบี้ยคราวเดียวร้อยละ 0.75 ไปเมื่อสัปดาห์ก่อนเพื่อควบคุมเงินเฟ้อสูง.-สำนักข่าวไทย
ลอนดอน 15 มิ.ย.- บิตคอยน์ ซึ่งเป็นคริปโทเคอร์เรนซีใหญ่ที่สุดในโลก ราคาร่วงลงทำสถิติต่ำที่สุดในรอบ 18 เดือนครั้งใหม่ในวันนี้ และดึงราคาคริปโทฯ ที่เล็กกว่าร่วงตามไปด้วย ราคาบิตคอยน์ลดลงมากถึงร้อยละ 7.8 ลงไปทดสอบที่หน่วยละ 20,289 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 711,535 บาท) ในวันนี้ ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 โดยลดลงไปแล้วร้อยละ 28 นับตั้งแต่วันศุกร์ และลดลงกว่าครึ่งนับตั้งแต่ต้นปี แต่หากเทียบกับที่เคยทำสถิติสูงสุดที่หน่วยละ 69,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.42ล้านบาท) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ถือว่าลดลงไปแล้วถึงร้อยละ 70 ขณะที่คริปโทฯ ขนาดเล็กกว่าก็มีราคาลดลงตามบิตคอยน์เช่นเดียวกัน อีเธอร์ ซึ่งเป็นคริปโทฯ ใหญ่อันดับ 2 ราคาลดลงมากถึงร้อยละ 12 ลงไปทดสอบที่หน่วยละ 1,045 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 36,648 บาท) ต่ำที่สุดในรอบ 15 เดือนครั้งใหม่ ตลาดคริปโทฯ ถูกกระทบหนักในสัปดาห์นี้ หลังจากเซลเซียส ผู้ให้กู้ยืมคริปโทฯ […]
โซล 13 มิ.ย.- ตลาดหลักทรัพย์ในเกาหลีใต้ร่วงลงแตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 19 เดือนในวันนี้ เช่นเดียวกับเงินวอนที่อ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เพราะตลาดกังวลว่าสหรัฐจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมากเพื่อชะลอเงินเฟ้อสูง และเศรษฐกิจโลกจะชะลอการเติบโต ดัชนีคอสปิ (KOSPI) ปิดที่ 2,504.51 จุด ลดลง 91.36 จุด หรือร้อยละ 3.52 เป็นการลดลง 5 วันติดต่อกัน และต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ที่ปิดที่ 2,493.97 จุด นักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งชี้ว่า นักลงทุนกังวลเรื่องดัชนีราคาผู้บริโภคหรือเงินเฟ้อของสหรัฐเมื่อเดือนพฤษภาคมแย่กว่าที่คาด จุดกระแสวิตกเรื่องเศรษฐกิจโลกถดถอย ส่วนค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ปิดที่ 1,284 วอนต่อดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 15.10 วอนจากราคาปิดเมื่อวันศุกร์ นักวิเคราะห์คาดว่า ความผันผวนนี้จะต่อเนื่องต่อไปในช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด (Fed) จะเริ่มการประชุมกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันอังคารนี้ตามเวลาสหรัฐ บางความเห็นคาดว่า เฟดอาจจะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 0.50 ตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้และเอเชียพากันร่วงหนักในวันนี้ หลังจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐร่วงลงอย่างมากเมื่อวันศุกร์ เมื่อมีการเปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 จากเดือนพฤษภาคมปีก่อน ถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2524.-สำนักข่าวไทย
โตเกียว 13 มิ.ย.- เงินเยนญี่ปุ่นอ่อนค่าลงแตะ 135 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายที่ตลาดโตเกียวเช้าวันนี้ เป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 20 ปีครั้งใหม่ เพราะตลาดคาดการณ์ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่นและสหรัฐจะยิ่งห่างกันมากยิ่งขึ้น เว็บไซต์เกียวโดนิวส์รายงานว่า เงินเยนลงไปทดสอบระดับอ่อนค่าที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 ในเช้าวันนี้ ก่อนขึ้นมาเคลื่อนไหวที่ 134.82-134.83 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงเที่ยง เทียบกับ 133.59-133.62 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐเมื่อเวลา 17:00 น. วันศุกร์ ตามเวลาญี่ปุ่น เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด (Fed) จะเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกมาก หลังจากเผยแพร่ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 ต่อปี สูงกว่าที่ตลาดคาดหมายไว้ที่ร้อยละ 8.3 และสูงที่สุดในรอบ 40 ปี ขณะที่ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจ (BOJ) ย้ำเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า จะคงนโยบายทำให้เงินเฟ้อแตะร้อยละ 2 ตามเป้าหมายอย่างยั่งยืน นักยุทธศาสตร์ด้านการปริวรรตเงินตราของบริษัทหลักทรัพย์ไดวาเผยว่า นักลงทุนอาจมองอัตราแลกเปลี่ยนว่าจะอ่อนค่าลงไปถึง 140 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะดูเหมือนว่าไม่มีสิ่งใดสามารถชะลอการอ่อนค่าของเงินเยนได้แล้วในขณะนี้ เงินเยนที่อ่อนค่าเป็นผลดีต่อผู้ส่งออกเมื่อแลกดอลลาร์สหรัฐกลับมาเป็นเยน แต่อาจชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจในประเทศเพราะทำให้ราคาอาหารและน้ำมันนำเข้าแพงขึ้น.-สำนักข่าวไทย
โตเกียว 7 มิ.ย.- เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยลงไปทดสอบระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปีครั้งใหม่ที่ 132.70 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะตลาดคาดว่าช่องว่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของญี่ปุ่นและสหรัฐจะห่างกันมากยิ่งขึ้นไปอีก เงินเยนญี่ปุ่นซื้อขายที่ตลาดโตเกียวเช้าวันนี้อ่อนค่ามากที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2545 เพราะตลาดคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด (Fed) จะเดินหน้าเข้มงวดนโยบายการเงินอย่างแข็งกร้าวต่อไป สวนทางกับธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือบีโอเจ (BOJ) ที่นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการฯ กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า จะยึดนโยบายผ่อนคลายทางการเงินต่อไป เพื่อให้อัตราเงินเฟ้อถึงร้อยละ 2 ตามเป้าหมายอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังย้ำเรื่องนี้ระหว่างการแถลงต่อรัฐสภาในเช้าวันนี้ด้วย เว็บไซต์เกียวโดนิวส์รายงานว่า เงินเยนซื้อขายที่ 132.59-132.60 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐช่วงเที่ยงวันนี้ในตลาดโตเกียว อ่อนค่าลงจาก 130.76-130.78 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐเมื่อเวลา 17:00 น.ของวันจันทร์ตามเวลาญี่ปุ่น นายชูนิจิ ซูซึกิ รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นกล่าวกับสื่อในวันนี้ว่า กำลังติดตามสถานการณ์ในตลาดปริวรรตเงินตราอย่างใกล้ชิด และผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น เกียวโดนิวส์ระบุว่า เงินเยนที่อ่อนค่าได้ทำให้ราคาสินค้านำเข้าแพงขึ้น ทั้งราคาน้ำมันและสินค้าต่าง ๆ.-605