protesters call for rich countries to pay up for poor countries

ประเทศกำลังพัฒนาไม่พอใจข้อตกลง COP29

บากู 24 พ.ย.- ที่ประชุมโลกร้อนบรรลุข้อตกลงให้เงินช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาปีละ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10.34 ล้านล้านบาท) ในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ประเทศผู้รับความช่วยเหลือระบุว่าไม่เพียงพอ การประชุมสมัชชาภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 หรือคอป 29 (COP29) เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายนที่กรุงบากูของอาเซอร์ไบจาน มีกำหนดเสร็จสิ้นในวันที่ 22 พฤศจิกายน แต่ยืดเยื้อมาจนถึงวันนี้ เนื่องจากตัวแทนจากเกือบ 200 ประเทศถกเถียงกันอย่างหนัก โดยเมื่อวานนี้ตัวแทนจากประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเกาะบางแห่งเดินออกจากที่ประชุมด้วยความไม่พอใจ และหลังจากที่ประชุมสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในวันนี้ ผู้ร่วมประชุมบางคนลุกขึ้นยืนปรบมือ ขณะที่บางคนตำหนิประเทศร่ำรวยว่า ยังพยายามไม่มากพอและวิจารณ์ประเทศเจ้าภาพว่ารีบเร่งตัดบทปิดการประชุม ทั้งที่ยังมีการถกเถียงเนื้อหาของข้อตกลงอยู่ ตัวแทนจากอินเดียกล่าวในการปิดสมัยประชุมว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่สามารถแก้ไขความรุนแรงของปัญหาที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่ ดังนั้นอินเดียจึงขอคัดค้านการยอมรับข้อตกลงนี้ ด้านนายไซมอน สตีลล์ เลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือยูเอ็นเอฟซีซีซี (UNFCCC) ยอมรับว่า เป็นการเจรจาที่ยากเย็น แต่ก็ได้ข้อตกลงที่เปรียบเสมือนกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่มนุษยชาติในการรับมือกับภาวะโลกร้อน อย่างไรก็ดี กรมธรรม์นี้จะมีผลบังคับใช้ต่อเมื่อมีการจ่ายเบี้ยประกันอย่างครบถ้วนและตรงต่อเวลาเท่านั้น ภายใต้ข้อตกลงนี้ประเทศร่ำรวยรับปากจะจัดสรรเงินช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือกับภาวะโลกร้อนปีละ 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 10.34 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2578 เพิ่มขึ้นจากข้อตกลงเดิมที่รับปากจะจัดสรรปีละ 100,000 […]

...