ยานสำรวจอินเดียยืนยันพบ “ซัลเฟอร์” ที่ขั้วใต้ดวงจันทร์

นิวเดลี 30 ส.ค.- องค์การสำรวจอวกาศอินเดียหรืออิสโร (ISRO) แจ้งว่า ยานสำรวจของอินเดียยืนยันว่า พบซัลเฟอร์ที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ หลังจากลงจอดที่บริเวณดังกล่าวเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม อิสโรออกแถลงการณ์ลงวันที่ 28 สิงหาคมว่า อุปกรณ์เลเซอร์สเปกโทรสโกปี (Laser-Induced Breakdown Spectroscopy) บนยานสำรวจของจันทรายาน-3 ได้ทำการสำรวจในสถานการณ์จริงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนกับองค์ประกอบของพื้นผิวดวงจันทร์ใกล้ขั้วใต้ และได้ผลยืนยันชัดเจนว่ามีซัลเฟอร์อยู่ในบริเวณดังกล่าว สิ่งนี้ไม่สามารถทำได้ด้วยอุปกรณ์บนยานโคจรอื่น ๆ นอกจากนี้ยังได้ผลยืนยันว่า มีอะลูมิเนียม แคลเซียม เหล็ก โครเมียม และไทเทเนียมบนพื้นผิวดวงจันทร์ และเมื่อสำรวจเพิ่มเติมก็พบแมงกานีส ซิลิคอน และออกซิเจน ยานสำรวจปรัชญาณ (Pragyan) เป็นยาน 6 ล้อ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จะส่งภาพและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กลับมายังโลกตลอดอายุการใช้งานนาน 14 วันบนโลก เทียบเท่ากับ 1 วันบนดวงจันทร์ เนื่องจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของยานไม่ได้รับการออกแบบให้สามารถทนทานต่อกลางคืนที่หนาวเหน็บบนดวงจันทร์ได้ อินเดียส่งยานสำรวจปรัชญาณและยานลงจอดวิกรม (Vikram) ในภารกิจจันทรายาน-3 ขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม และลงจอดบนดวงจันทร์สำเร็จเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม นับเป็นประเทศที่ […]

“จันทรายาน-3” ของอินเดียเตรียมลงจอดบนดวงจันทร์

เบงกาลูรู 23 ส.ค.- ยานสำรวจของอินเดียมีกำหนดลงจอดใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์ในเย็นวันนี้ หากประสบความสำเร็จก็จะเป็นประเทศแรกของโลกที่สามารถลงจอดในจุดนี้   ยานสำรวจในภารกิจจันทรายาน-3 (Chandrayaan-3) มีกำหนดลงจอดหลังเวลา 18:00 น.วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น ตรงกับหลังเวลา 19:00 น.วันนี้ตามเวลาไทย เป็นความพยายามล่าสุดของอินเดีย หลังจากภารกิจจันทรายาน-2 ล้มเหลวไปในปี 2562 และหลังจากยานลูนา-25 (Luna-25) ของรัสเซียตกกระแทกพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมตามเวลาท้องถิ่น เป็นภารกิจสำรวจดวงจันทร์ครั้งแรกของรัสเซียนับจากปี 2519 หากไม่ตกกระแทกพื้นก็จะลงจอดใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์เป็นประเทศแรกของโลก นายเค สิวาน อดีตประธานองค์กรสำรวจอวกาศอินเดียหรืออิสโร (ISRO) เผยว่า ภาพถ่ายล่าสุดที่ยานลงจอดวิกรม (Vikram) ของจันทรายาน-3 ส่งกลับมายังโลกทำให้มั่นใจได้ว่า การลงจอดจะประสบความสำเร็จ และอิสโรได้แก้ไขข้อบกพร่องจากความล้มเหลวเมื่อ 4 ปีก่อนที่คณะนักวิทยาศาสตร์ขาดการติดต่อกับยานของจันทรายาน-2 ในช่วงที่ยังไม่ลงจอด อินเดียปล่อยจรวดในภารกิจจันทรายาน-3 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ใช้เวลาในการเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์นานกว่ายานอวกาศของประเทศอื่น รวมถึงยานอะพอลโลของสหรัฐช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 ที่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน เนื่องจากอินเดียใช้จรวดที่มีกำลังน้อยกว่า จึงต้องโคจรรอบโลกหลายรอบเพื่อเพิ่มความเร็วก่อนเข้าสู่เส้นทางมุ่งหน้าไปยังดวงจันทร์ และเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม […]

...