คนไม่ได้สิทธิ 5,000 ยังทยอยรับบัตรคิวโต๊ะร้องเรียน”เราไม่ทิ้งกัน”หน้า ก.คลัง
ประชาชนกว่า 600 ราย ยังทยอยยื่นร้องทุกข์ที่หน้ากระทรวงคลัง ต่างได้รับผลกระทบจากภัยโควิด-19 ระดมเจ้าหน้าที่ทุกกรมช่วยรับเรื่องผู้ลงทะเบียน
ประชาชนกว่า 600 ราย ยังทยอยยื่นร้องทุกข์ที่หน้ากระทรวงคลัง ต่างได้รับผลกระทบจากภัยโควิด-19 ระดมเจ้าหน้าที่ทุกกรมช่วยรับเรื่องผู้ลงทะเบียน
ก.คลัง หารือความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 โดยเน้นรักษาสภาพการจ้างงานกว่า 20,000 ตำแหน่ง
ก.คลัง ป่วนอีกรอบ วันนี้ผู้ที่ไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท รวมตัวหน้าประตู 4 เรียกร้องขอให้รัฐบาลช่วยเหลือ ส่วนใหญ่บอกว่ามีปัญหาทางเทคนิคในการลงทะเบียน บางคนไม่ได้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ต้องจ้างคนอื่นลงทะเบียนให้ แต่สุดท้ายไม่ผ่านสิทธิ์
กรุงเทพฯ 25 เม.ย.-“ธนกร” แจง กระทรวงคลัง ส่งผู้พิทักษ์สิทธิ ลงพื้นที่ทบทวนสิทธิเยียวยา5,000 บาท ให้ราบรื่น คาดเสร็จเรียบร้อยประมาณต้นพฤษภาคม เผย “อุตตม” สั่งผู้บริหารแบงค์รัฐลงพื้นที่ติดตามใกล้ชิด นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงมาตรการจ่ายเงินเยียวยา 5000 บาทว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้ส่งผู้พิทักษ์สิทธิลงพื้นที่ตรวจสอบประชาชนที่ยื่นทบทวนสิทธิทั่วประเทศ ซึ่งได้รับรายงานจากผู้ปฏิบัติงานว่า การลงพื้นที่ตรวจสอบการทบทวนสิทธิแต่ละจังหวัดเรียบร้อยดี พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ที่ยื่นทบทวนสิทธิได้เตรียมเอกสารหลักฐานไว้พร้อมทำให้การตรวจสอบรวดเร็ว เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยล่าสุดมีประชาชนยื่นขอทบทวนสิทธิ์มาแล้วจำนวนเกือบ 3 ล้านคนจากผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คัดกรองจำนวน 10.6 ล้านคน นายธนกร กล่าวอีกว่า ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานที่มาทำหน้าที่ผู้พิทักษ์สิทธิช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในภาวะวิกฤติโควิด-19 ซึ่งจากรายงาน เจ้าหน้าที่พิทักษ์สิทธิกับผู้ขอทบทวนสิทธิต่างปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เว้นระยะห่างทางสังคม ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันว่า จะเร่งเยียวยาประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน โดยทุกอย่างจะเสร็จเรียบร้อยประมาณต้นเดือนพฤษภาคมนี้ นอกจากนั้น นายอุตตมยังสั่งการให้ผู้บริหารธนาคารของรัฐลงพื้นที่ติดตามการทบทวนสิทธิอีกด้วย.-สำนักข่าวไทย
วันนี้ ก.คลัง จะจ่ายเงินเยียวยาผู้ลงทะเบียนโครงการเราไม่ทิ้งกัน 5,000 บาท เพิ่มอีก 700,000 ราย โดยในส่วนของการทบทวนสิทธิผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์และไม่เห็นด้วยกับระบบคัดกรอง สามารถยื่นทบทวนสิทธิได้ต่อเนื่อง
ศาลปกครอง 16 เม.ย. – นายอนุรักษ์ เจนตวนิชย์ หรือ ฟอร์ด เส้นทางสีแดง ผู้ก่อตั้งพรรคเส้นทางสีแดง นำสมาชิกพรรค และ ประชาชน จำนวน 20 คน ซึ่งอ้างว่าไม่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท จากโครงการเราไม่ทิ้งกันของรัฐบาล และผู้ที่ถูกระบบลงทะเบียนโครงการดังกล่าวปฏิเสธ ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรีและกระทรวงการคลัง ต่อศาลปกครอง ขอให้มีคำสั่งให้รัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบทุกคน นายอนุรักษ์ กล่าวว่า การจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาทของรัฐบาล มีประชาชนเพียง 2 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ของประชาชนทั้งประเทศเท่านั้น ที่ได้รับเงินเยียวยา ขณะเดียวกัน ผู้ที่เข้าเกณฑ์เมื่อลงทะเบียนแล้ว กลับถูกระบบ ปฏิเสธ โดยระบุว่าเป็นเกษตรกร หรือนักศึกษา ทำให้เกิดความเดือดร้อน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเห็นว่า ผู้ที่เดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 คือ คนทั้งประเทศ รัฐบาลจึงควรจ่ายเงินเยียวยาให้กับคนทุกกลุ่มอาชีพ ซึ่งก็มาเป็นผู้ร่วมฟ้องในวันนี้ด้วย เพื่อให้เกิดความเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติอย่างที่รัฐบาลทำอยู่ โดยได้มีการขอให้ศาลกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา สั่งรัฐบาลจ่ายเงินเยียวยาให้กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบโดยเร็ว .- สำนักข่าวไทย
วันนี้ ผู้ที่ถูกตัดสิทธิ์เงินช่วยเหลือ 5 พันบาท จากโครงการเราไม่ทิ้งกัน เดินทางไปที่กระทรวงการคลัง เพื่อไปสอบถามว่า ทำไมพวกเขาจึงถูกตัดสิทธิ์ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ทั้งที่เป็นผู้เดือดร้อนจากโควิด19 เหมือนกัน ติดตามจากรายงาน
โฆษก ก.คลัง เผยเมื่อปิดรับลงทะเบียน 5 พันบาทและคัดกรองผู้ลงทะเบียนครบทั้งหมดแล้ว จะเปิดให้มีช่องทางการอุทธรณ์ผลการพิจารณาสำหรับผู้ไม่ผ่านเกณฑ์
กระทรวงการคลัง ย้ำ 4 ขั้นตอนตรวจสอบสถานะการได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท คาดวันนี้โอนเงินได้อีกกว่า 7 แสนคน
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยกระทรวงการคลังสั่งสอบคนโพสต์ได้รับเงินเยียวยา 5 พันบาท ขาดคุณสมบัติ แต่กลับได้รับเงิน แล้ว ระบุหากให้ข้อมูลเท็จ เรียกเงินคืนทันที เผยตั้งทีมกฎหมายตรวจสอบขาป่วนในโลกออนไลน์
มาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3 เดือน) มีผู้ลงทะเบียนแล้ว 23.4 ล้านราย เปลี่ยนเวลาเปิดรับลงทะเบียนและเปิดโอกาสให้ยกเลิกได้ เริ่มวันที่ 4 เมษายน 2563
“ถาวร” บุกบินไทยฯ ถกร่วม “ปธ.บอร์ด-ดีดี” หาแนวทางแก้ไขปัญหาช่วงวิกกฤติ “โควิด-19”