CPF ยืนยันไม่ใช่ต้นตอการระบาด “ปลาหมอคางดำ”

CPF แจงนำเข้าปลาหมอคางดำ ตั้งแต่ปี 2553 แต่ทำลายซากปลาตามมาตรฐาน พร้อมส่งตัวอย่างให้กรมประมงตั้งแต่ปี 2554 ยืนยันไม่ใช่สาเหตุของการแพร่ระบาด

ประชุมวางแผนแก้ไขวิกฤติ “ปลาหมอคางดำ” เพิ่มเติมบ่ายนี้

อธิบดีกรมประมง เผยจะมีการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการระบาดของ “ปลาหมอคางดำ” ที่ รมช.เกษตรฯ เป็นประธานในช่วงบ่ายวันนี้ เพื่อยกระดับมาตรการ รวมถึงกำหนดแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขในจังหวัดที่พบการระบาด 14 จังหวัด ให้ชัดเจน จากนั้นกระทรวงเกษตรฯ จะเสนอ ครม. เห็นชอบต่อไป

กรมประมงเร่งวิจัยพันธุกรรมหมันในปลาหมอคางดำ

รมว. ธรรมนัส เผยกรมประมงกำลังเร่งแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอคางดำที่ต้นตอ ด้วยการวิจัยและพัฒนาด้านพันธุกรรมให้ประชากรปลาหมอคางดำเป็นหมัน

กรมประมงเดินหน้าทุกมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

กรุงเทพฯ 26 มิ.ย. – อธิบดีกรมประมง เผยปริมาณการนำเข้ากุ้ง 5 เดือนแรกปี 67 คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของผลผลิตกุ้งในประเทศช่วงเวลาเดียวกัน จึงไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ราคากุ้งลดต่ำลง โดยราคากุ้งในประเทศผันผวนตามตลาดโลก ยืนยันยกระดับมาตรการคุมเข้มตามแนวชายแดน ป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย ขณะเดียวกันเดินหน้าส่งเสริมการลดต้นทุนการผลิตให้ผู้เลี้ยงไทยมีศักยภาพการแข่งขันเทียบเท่าอินเดียและเอกวาดอร์ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ประธานกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ หรือ Shrimp Board) กล่าวว่า ราคากุ้งในประเทศมีความผันผวนตามภาวะตลาดโลก โดยราคาที่ลดต่ำลง ไม่ได้เป็นผลกระทบจากการนำเข้า ทั้งนี้ผลผลิตกุ้งทะเลของไทย ปี 2567 (ม.ค. – พ.ค .67) มีปริมาณรวมประมาณ 92,000 ตัน คาดว่า ทั้งปี 2567 จะมีผลผลิตกุ้งรวม 250,000 ตัน ส่วนการนำเข้าสินค้ากุ้งทะเลจากการเพาะเลี้ยง ปี 2567 (ม.ค. – พ.ค. 67) มีปริมาณ 426 ตัน คิดเป็นเพียงร้อยละ […]

ยกระดับการกำจัดปลาหมอสีคางดำเป็นวาระแห่งชาติ

สมุทรสงคราม 6 พ.ค.- รมว. ธรรมนัสสั่งตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอสีคางดำ ซึ่งเป็น Alien Species ต่างถิ่นซึ่งเรื้อรังมาถึง 18 ปี ประกาศยกระดับเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อเยียวยาเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบโดยเร็ว ย้ำไม่ส่งเสริมให้เลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจแน่นอน ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามแนวทางแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien Species) ที่จังหวัดสมุทรสงคราม ร้อยเอกธรรมนัสระบุว่า จะยกระดับการแก้ปัญหาการระบาดของปลาหมอสีคางดำเป็นวาระแห่งชาติเนื่องจากเป็นปัญหาเรื้อรังมา 18 ปี ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์น้ำต่างถิ่นอยู่ในสกุลปลานิลซึ่งกินเก่ง แพร่พันธุ์เร็ว และทำลายระบบนิเวศ การระบาดของที่พบในหลายจังหวัดส่งผลกระทบต่อเกษตรกรจึงสั่งการให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานในการแก้ปัญหา พร้อมกันนี้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตรสำรวจความเสียหายของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำทุกจังหวัดที่มีการระบาดของปลาหมอสีคางดำเพื่อวางแผนการช่วยเหลือเยียวยาต่อไป ตลอดจนจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาทั้งชุดใหญ่และชุดจังหวัด โดยจะมีคณะกรรมการจากหลายภาคส่วนร่วมกันแก้ไขปัญหาและกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเอาจริงเอาจังและเป็นรูปธรรมมากที่สุด นาบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า มาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำของกระทรวงเกษตรฯ ที่มอบหมายให้กรมประมงดำเนินการมีดังนี้ นายอรรถกรกล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ห่วงใยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบจึงจะดำเนินมาตรการกำจัดปลาหมอคางดำอย่างเด็ดขาด พร้อมย้ำว่า จะไม่มีการส่งเสริมให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจแน่นอน. 512 – สำนักข่าวไทย

กรมประมงแจงมาตรการคุมเข้มนำเข้า แก้ราคาสินค้าสัตว์น้ำตกต่ำ

กรุงเทพฯ 13 ก.พ.- อธิบดีกรมประมงเผยสั่งการหน่วยงานประมงทั่วประเทศยกระดับการควบคุมการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยยังต้องสอดคล้องกับข้อกำหนด WTO ย้ำเฝ้าระวังการนำเข้าสินค้า IUU อย่างเข้มงวด พร้อมเสนอกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมนำเข้าสัตว์น้ำ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาสินค้าประมงราคาตกต่ำ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมงกล่าวว่า ได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคาสัตว์น้ำตกต่ำ ประกอบด้วยผู้แทนจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยยกระดับการควบคุมการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำซึ่งยังสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ซึ่งนิยามสินค้าประมงให้จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่ใช่สินค้าเกษตร จึงทำให้ไม่สามารถใช้มาตรการป้องกันพิเศษ (Special Safeguards : SSG) ได้ ดังนั้น มาตรการในการหยุดนำเข้าสัตว์น้ำและกำหนดปริมาณสัตว์น้ำที่สามารถนำเข้ามาในประเทศ อาจขัดกับหลักการค้าระหว่างประเทศของ WTO แต่กรมประมงได้ดำเนินการในด้านอื่นๆ ที่สอดคล้องกับมาตรการของ WTO ซึ่งเป็นไปตามหลักสากล ทั้งในเรื่องของมาตรการด้านสุขอนามัย เพื่อกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยสัตว์น้ำที่จะนำเข้า มีการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าสัตว์น้ำ มีการสุ่มตรวจสินค้าสัตว์น้ำ เพื่อวิเคราะห์สารตกค้าง โลหะหนัก และสารปนเปื้อนต่างๆ ในสินค้าสัตว์น้ำ รวมถึงการสุ่มตรวจโรคที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยง เช่น การยกระดับการเปิดตรวจจากเดิม 30 % เป็น 100 % […]

“ธรรมนัส” เปิดปฏิบัติการล่า “ปลาหมอสีคางดำ” เอเลียนสปีชีส์

สมุทรสาคร 2 ก.พ. – รมว. เกษตรฯ สั่งกรมประมงเปิดปฏิบัติการล่า “ปลาหมอสีคางดำ” สัตว์รุกรานต่างถิ่นหรือเอเลียนสปีชีส์ นำร่อง Kick off 5 จังหวัด หวังกำจัดให้สิ้นซาก หลังระบาดต่อเนื่องราว 12 ปี​ ปลาหมอสีคางดำสามารถ​บริิโภคได้​ เตรียม​ประสานทำอาหาร​สัตว์​ด้วย​

CITES รับรองฟาร์มเพาะจระเข้น้ำจืดไทยเพิ่มเป็นแห่งที่ 29

กรุงเทพฯ 9 ม.ค.- อธิบดีกรมประมงเผย CITES ขึ้นทะเบียนฟาร์มเพาะจระเข้น้ำจืดไทยเพิ่มเป็นแห่งที่ 29 โดยผลิตภัณฑ์จากจระเข้สร้างรายได้จากการส่งออกกว่า 7,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังอนุญาตขึ้นทะเบียนฟาร์มเพาะพันธุ์-ส่งออกปลายี่สกไทย – ปลาบึกให้แก่ไทยเป็นประเทศแรกของโลก นับเป็นการขยายโอกาสทางการค้าในตลาดต่างประเทศ นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง รักษาราชการแทนอธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า สำนักเลขาธิการภาคีสมาชิกของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)  พิจารณาอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะพันธุ์เพื่อการค้าระหว่างประเทศ ชนิดพันธุ์ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis)  ให้แก่ ฟาร์ม Fluke and Fern Crocodile ของนางจรีพร โชติรัตน์ จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงที่เป็นไปตามข้อกำหนดของอนุสัญญา และเป็นฟาร์มที่มีการดำเนินการแบบครบวงจร อีกทั้งยังก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพในพื้นที่ ก่อให้เกิดรายได้เศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน โดยเป็นฟาร์มลำดับที่ 29 ที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียน จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis) เป็นสัตว์น้ำที่อยู่ท้ายอนุสัญญา CITES ในบัญชีที่ 1 ซึ่งถือว่า เป็นสัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์และห้ามทำการค้าในเชิงพาณิชย์ แต่อนุสัญญาได้มีข้อกำหนดว่า หากสัตว์น้ำนั้นสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง และได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักเลขาธิการ CITES จะสามารถทำการค้าระหว่างประเทศได้ […]

“ธรรมนัส” นำชุดพญานาค​ราชตรวจสกัดสินค้า​เกษตร​เถื่อน​ท่าเรือกรุงเทพ​ฯ

กรุงเทพ​ฯ​ 30 พ.ย. – รมว.เกษตรฯ นำชุดเฉพาะกิจ “พญานาค​ราช” เปิดปฏิบัติการพิเศษ “พญานาคราช” ป้องก​ันและ​ปราบปรามสินค้าเกษตรผิด​ ลุยตรวจตู้คอนเทนเนอร์สินค้านำเข้า​ที่​สำแดง​เป็น​สินค้า​ประมงที่ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากร ท่าเรือกรุงเทพฯ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดปฏิบัติการพิเศษของชุดเฉพาะกิจ​“พญานาคราช” โดย​มี​นายไชยา​ พรหม​า​ รัฐมนตรี​ช่วยว่าการ​กระทรวงการคลัง​เกษตร​และ​สหกรณ์​ร่วม​ในพิธี​ โดยจากนี้ไปพร้อมปฏิบัติการ​ทั่วประเทศ​ สำหรับ​ที่ศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากร ท่าเรือกรุงเทพฯ​ วันนี้​ชุดเฉพาะกิจ​พญานาค​ราชร่วมกับ​สารวัตรประมง​ สารวัตรปศุสัตว์​ และ​สารวัตรเกษตร​เปิดตรวจ​ตู้คอนเทนเนอร์​สินค้า​นำเข้า​ที่สำแดง​เป็น​สินค้า​ประมง​ จาก​ที่ก่อนหน้านี้​ขบวนการ​ลักลอบ​นำเข้า​หมู​เถื่อน​ใช้​วิธี​สำแดง​เป็น​สินค้า​ประมงเนื่องจาก​เนื้อ​หมู​เป็น​สินค้า​ที่ไม่อนุญาต​ให้​นำเข้า​ ร้อยเอก​ธรร​มนัส​กล่าว​ว่า​ กรมประมง​ยกระดับกระบวนการตรวจสอบสินค้าประมงนำเข้าในทุกขั้นตอน โดยเมื่อตู้สินค้า​ที่สำแดง​เป็น​สินค้า​ประมงผ่าน​การเอกซเรย์​แล้ว​ ด่านตรวจประมงเพิ่มประสิทธิภาพมาตรการตรวจสอบนำเข้าสินค้าอย่างเข้มงวด เปิดตรวจสินค้าสัตว์น้ำแช่แข็งนำเข้า​ 100 % จากเดิมจะสุ่มเปิดตรวจ 30 % โดยกำหนดไว้ 2 ขั้นตอน​คือ (1) การเปิดตรวจ ณ ด่าน หรือ ท่าเทียบเรือ(2) การตรวจสอบ ณ สถานประกอบการ (โรงงานหรือห้องเย็น) ด้วยการซีล (Seal) ตู้คอนเทนเนอร์ไปยังสถานประกอบการ เพื่อควบคุมและตรวจสอบคัดแยกชนิดและปริมาณที่นำเข้าจริงตรงตามที่สำแดงในเอกสารจนมั่นใจว่า​ […]

กรมประมงเข้มตรวจสอบสินค้าสัตว์น้ำนำเข้า เปิดตรวจทุกรายจากประเทศเสี่ยงสูง

กรุงเทพฯ 20 พ.ย. – กรมประมงยกระดับมาตรการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำแช่แข็ง โดยเปิดตรวจตู้สินค้าซึ่งมีต้นทางจากประเทศที่ความเสี่ยงทุกลอตทุกราย คุมเข้มทั้งที่ด่านตรวจสัตว์น้ำและห้องเย็นทั่วประเทศ ขานรับนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ในการปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรเถื่อน นายถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า ได้ยกระดับการควบคุมตรวจสอบการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำแช่แข็งให้เข้มงวดและรัดกุมยิ่งขึ้น ตามนโยบายการปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายของร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยการเพิ่มระดับความเสี่ยงในการเปิดตรวจสินค้าสัตว์น้ำแช่แข็งจากประเทศที่ความเสี่ยง จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 100 โดยจะเปิดตรวจทุกลอตทุกราย พร้อมจัดชุดเฉพาะกิจพิเศษขึ้นชื่อ “ฉลามขาว” ทำหน้าที่เฝ้าระวังการลักลอบนำเข้า – ส่งออกสินค้าประมงที่ผิดกฎหมาย โดยร่วมกับศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมง 10 ศูนย์และด่านตรวจประมง 24 ด่าน ทั้งด่านทางบก ทางเรือ และทางอากาศทั่วประเทศ นอกจากนี้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พร้อมกันนี้ได้สั่งการกำชับให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมาย มาตรฐานการปฏิบัติงาน คู่มือการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด หากพบว่า มีเจ้าหน้าที่รายใดเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลักลอบนำสินค้าทุกชนิดเข้าสู่ประเทศอย่างผิดกฎหมาย กรมประมงจะดำเนินการลงโทษทางวินัยอย่างถึงที่สุด ที่ผ่านมากรมประมงมีกระบวนการในการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าประมงอย่างเป็นระบบ โดยขั้นตอนในการอนุญาตก่อนการนำเข้า ผู้ประกอบการนำเข้าต้องยื่นคำขออนุญาตต่อด่านตรวจประมงในพื้นที่รับผิดชอบ ผ่านระบบเชื่อมโยงคําขอกลางและระบบสนับสนุนใบอนุญาต และใบรับรองผ่านอินเตอร์เน็ตกรมประมง (Fisheries Single Window :FSW) ตามพระราชกำหนดการประมง […]

กรมประมงเร่งปรับปรุงแก้ไขกฎหมายรองด้านประมง 11 ฉบับ

กรุงเทพฯ 8 พ.ย.- กรมประมงขานรับนโยบายรัฐมนตรีเกษตรฯ เร่งสางปมปัญหาประมง เดินหน้าผลักดันการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรอง 11 ฉบับเพื่อลดอุปสรรคการประกอบอาชีพ โดยได้หารือชาวประมงจนได้ข้อยุติ พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นออนไลน์ 15 วัน ก่อนออกประกาศบังคับใช้ นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า กำลังเร่งรัดปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรองเกี่ยวกับการประมง โดยเป็นผลจากการประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาประมงทะเล ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 โดยมีร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลำดับรองที่ได้ผ่านการหารือชาวประมงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งประมงพื้นบ้าน ประมงพาณิชย์ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงตามที่ได้เคยเรียกร้องมาจนได้ข้อยุติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 11 เรื่อง ประกอบด้วย 1. เรื่องการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงสำหรับเรือประมงพาณิชย์ในน่านน้ำไทย โดยปรับปรุงระยะเวลาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมง หรือก่อนออกไปทำการประมง           2. เรื่องการกำหนดเครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล จะมีการกระจายอำนาจให้คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด เป็นผู้กำหนดความเหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยผ่านการอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์           3. เรื่องวิธีการบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกการทำประมง (Logbook) […]

1 2 3 4 11
...