
เตือนอ้างชื่อ “กรมบัญชีกลาง”
เตือนมิจฉาชีพระบาดหนัก แอบอ้างชื่อ “กรมบัญชีกลาง” หลอกลวงผู้รับบำนาญและบุคคลในครอบครัว เตือนภัย!! อย่าหลงเชื่อ!!
เตือนมิจฉาชีพระบาดหนัก แอบอ้างชื่อ “กรมบัญชีกลาง” หลอกลวงผู้รับบำนาญและบุคคลในครอบครัว เตือนภัย!! อย่าหลงเชื่อ!!
กรมบัญชีกลางเตรียมเปิดระบบรองรับการจ่ายเงินเดือน 2 ครั้ง ตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ข้าราชการเลือกรับเงินเดือนตามความสมัครใจ เดือนละ 1 หรือ 2 รอบ เริ่มต้นปี 2567
14 กันยายน 2566 วิธีหลอก : แอบอ้างกรมบัญชีกลางอุบาย : โทรศัพท์หาประชาชนเพื่อหลอกให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัวผ่านระบบ Digital Pension ชักจูงให้แอดไลน์ปลอมและหลอกดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอมช่องทาง : แอปพลิเคชันไลน์, เว็บไซต์ปลอม, แอปพลิเคชันปลอม แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ภัยร้ายทางไซเบอร์ นับวันจะยิ่งมีกลโกงที่แนบเนียนและใช้หลายวิธีเพื่อลวงให้เราหลงเชื่อ หนึ่งในนั้น คือ การแอบอ้างชื่อหน่วยงานราชการ อย่าง “กรมบัญชีกลาง” โดยอ้างว่า ตอนนี้กรมบัญชีกลางมีระบบใหม่ ผู้รับเงินบำนาญต้องเข้าไปอัปเดตข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นปัจจุบัน หากไม่ดำเนินการ จะถูกตัดสิทธิ์ ซึ่งสร้างความตกใจจนทำให้หลายคนหลงเชื่อและเสียเงินจำนวนมาก วันนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨จึงได้รวบรวมกลโกงที่แอบอ้างกรมบัญชีกลาง มาเตือนภัยให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ สารพัดกลโกงแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง คนร้ายจะโทรศัพท์และอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมบัญชีกลาง พร้อมชี้แจงรายละเอียดว่า ขณะนี้กรมบัญชีกลางได้เปลี่ยนเป็นระบบแบบใหม่ ชื่อว่า Digital Pension และมีนโยบายให้ผู้รับเงินบำนาญทุกคนเข้ามาอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทั้ง ข้อมูลส่วนตัว บัญชีเงินเดือน เบี้ยหวัดบำนาญ หรือ ติดต่อเพื่อขอรับบำเหน็จตกทอด จากนั้นมิจฉาชีพจะหลอกให้แอดไลน์ปลอมและลวงให้กดลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม Digital Pension และให้สแกนใบหน้า 🚨หากได้รับโทรศัพท์ในลักษณะนี้ อย่าบอกข้อมูลส่วนตัว […]
กรมบัญชีกลาง ซักซ้อมหน่วยงานรัฐ จัดซื้อจัดจ้าง หลัง พ.ร.บ.งบรายจ่ายปี 67 บังคับใช้ไม่ทัน 1 ต.ค.นี้ เร่งหน่วยงานรัฐจัดส่งแผนใช้งบ 15 ก.ย.
กรุงเทพฯ 4 ก.ย. -กรมบัญชีกลางจ่ายเงินสงเคราะห์ ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อยฯ ในปีงบประมาณ 2566 ในอัตรา100 บาทต่อเดือน กลุ่มตกหล่น เร่งยืนยันตัวตน
กรุงเทพฯ 20 ก.ค.-เตือนภัยข้าราชการ ผู้รับบำนาญ อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพแอบอ้างชื่อกรมบัญชีกลาง หลอกให้แอดไลน์อัปเดตบัญชีเงินเดือน
“กรมบัญชีกลาง” ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ.2558 กำหนดเฉพาะด้านการกำกับ ติดตามการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน กรมบัญชีกลางยังมีบทบาทอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานทุนหมุนเวียน
“เป็นหลักประกันหนึ่งของความมั่นคงแห่งชาติด้านยา” คือวิสัยทัศน์ของ “เงินทุนหมุนเวียนโรงงานเภสัชกรรมทหาร” ซึ่งเป็นหนึ่งใน “ทุนหมุนเวียน” ภายใต้การกำกับดูแลของระบบการบริหารทุนหมุนเวียน ประเภทเพื่อการจำหน่ายและผลิต
“เด็กไทยสุขภาพดี สมวัย ก้าวไกลด้วยนวัตกรรมการจัดการอาหาร” กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา
“เงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด” หนึ่งใน “ทุนหมุนเวียน” ภายใต้การกำกับดูแลของระบบการบริหารทุนหมุนเวียน กับภารกิจ “ซื้อ ขายยาเสพติดให้โทษ”
หนึ่งใน “ทุนหมุนเวียน” ภายใต้การกำกับดูแลของระบบการบริหารทุนหมุนเวียนกลุ่มประเภทเพื่อการบริการ มีภารกิจ “พัฒนาโครงข่าย เชื่อมโยงระบบขนส่งสู่ภูมิภาค สร้างความประทับใจ สะดวก ปลอดภัย ด้วยนวัตกรรม” คือ “เงินทุนหมุนเวียนค่าธรรมเนียมผ่านทาง”
24 มิ.ย. – ตอนที่แล้วได้เล่าถึงที่มาและความสำคัญของ “ทุนหมุนเวียน” ซึ่งเป็นการดำเนินงานในรูปแบบของเงินนอกงบประมาณ ไม่ต้องนำส่งรายได้จากการดำเนินงานเป็นรายได้แผ่นดินนั้น แม้ว่าทุนหมุนเวียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นกลไกสนับสนุนการดำเนินงานของภาครัฐ ในการดำเนินนโยบายด้านการคลัง เพื่อการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมสวัสดิการสังคม การกระจายรายได้ และเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในด้านอื่นๆ อย่างไรก็ดี การอนุญาตให้ส่วนราชการสามารถเก็บเงินนอกงบประมาณประเภททุนหมุนเวียนไว้ใช้จ่ายหมุนเวียนได้โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการเงิน ของทุนหมุนเวียนที่ขาดประสิทธิภาพ หรือผิดวัตถุประสงค์อันจะส่งผลให้การบริหารเงินแผ่นดินในภาพรวมขาดความต่อเนื่อง ขาดประสิทธิภาพในการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล และเพื่อให้การดำเนินงานของทุนหมุนเวียนเหล่านี้ มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ.2558 จึงให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนที่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล และทุนหมุนเวียนที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งกฎหมายไม่ได้บัญญัติเรื่องการประเมินผลไว้เป็นการเฉพาะเป็นประจำทุกปี โดยต้องประเมินในด้านต่างๆ ต่อไปนี้1.ด้านการเงิน2.ด้านการปฏิบัติการ3.ด้านการสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย4.ด้านการบริหารจัดการทุนหมุนเวียน5.ด้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหาร ผู้บริหารทุนหมุนเวียน พนักงาน และลูกจ้าง6.ด้านอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางกำหนดให้กองกำกับและพัฒนาระบบเงินนอกงบประมาณ เป็นหน่วยงานหลัก โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้1.ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และพัฒนาระบบเงินนอกงบประมาณ2.กำกับดูแลและบริหารเงินนอกงบประมาณ ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์ เป้าหมาย และแนวทางการพิจารณาการเรียกนำส่งเงินนอกงบประมาณเป็นรายได้แผ่นดิน รวมทั้งการกำกับติดตามการนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน3.ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับเงินนอกงบประมาณ4.จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลเงินนอกงบประมาณของประเทศ ประมวลข้อมูลสารสนเทศและวิเคราะห์รายงานผลการบริหารเงินนอกงบประมาณ5.ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ และการพิจารณาอนุมัติประมาณการรายจ่ายประจำปี หรือประมาณการรายจ่ายเพิ่มเติมของทุนหมุนเวียน และการขอทำความตกลงในการเบิกจ่ายเงินนอกงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ6.ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย การแต่งตั้ง และการกำกับดูแลกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังและกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้องกับเงินนอกงบประมาณ7.ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารทุนหมุนเวียน การจัดตั้ง […]